fbpx

ยิ่งตีลูก ยิ่งก้าวราวจริงหรือ?

Writer : Jicko
: 17 กุมภาพันธ์ 2564

เชื่อเลยว่าในสังคมถ้าเป็นสมัยก่อน การตีลูกหรือทำโทษลูกถือเป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่จะทำเมื่อลูกดื้อหรือไม่เชื่อฟัง เหมือนดังสุภาษิตคำพังเพยที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” บางคนก็ถือว่าการทำโทษลูกด้วยวิธีการตีหรือใช้การกระทำที่รุนแรงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของเราซึ่งมันช่วยให้เด็กๆ ไม่ดื้อได้และนั้นก็เป็นความเชื่อที่ผิดค่ะ

แต่ไม่ใช่ว่าคนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างเราจะไม่สามารถทำโทษเด็กๆ ได้นะคะ แต่วิธีการทำโทษอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนสักหน่อย มาดูกันเลยดีกว่าว่าการตีลูกมันมีผลเสียมากกว่าผลดียังไง และมันทำให้ลูกก้าวร้าวจริงหรือไม่ไปดูกันเลยค่ะ

ผลเสียของการตีลูก

  • สร้างแผลทางจิตใจ
  • เด็กก้าวร้าวขึ้น
  • ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก
  • พ่อแม่จะเพิ่มความรุนแรงของการลงโทษมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ลดคุณค่าเด็ก
  • เด็กขาดความมั่นใจในตนเอง

ทำยังไงไม่ให้เราโมโหลูกจนต้องใช้ความรุนแรง

  • ตั้งสติให้มั่น บอกกับตัวเองว่าเรากำลังโมโห
  • หากรู้สึกโมโหให้บอกกับลูกว่าเราโกรธอยู่ เช่น แม่บอกลูกหลายรอบแล้วนะ ทำไมไม่เชื่อฟังแม่บ้าง
  • ถ้าโมโหให้ออกไปทำอย่างอื่นให้ใจเย็นก่อน
  • นับ 1-100 หรือสูดลมหายใจช้าๆ ลึกๆ
  • พยายามคุยกับลูกด้วยเหตุผล และหาวิธีแก้ไขไปด้วยกัน

ตัวอย่างประเทศที่มีกฎหมายห้ามตีเด็ก

1. ประเทศสวีเดน : จะเน้นเรื่องการห้ามลงโทษร่างกายเด็กบริเวณโรงเรียน

2. ประเทศฝรั่งเศส : จะเน้นเรื่องการห้ามตีเด็กโดยเฉพาะผู้ปกครอง จะไม่มีสิทธิใช้ความรุนแรงทั้งร่างกายและจิตใจกับเด็กๆ เลย

3. ประเทศสกอตแลนด์ : เป็นประเทศแรกในสหราชอาณาจักรที่กำหนดให้การตีเด็กเป็นความผิดทางอาญา

4. ชาติอื่นๆ ในสหราชอาณาจักรในอังกฤษและเวลส์  : อาจโดนตั้งข้อหาทางอาญาได้หากตีลูกแรงจนเกิดรอยช้ำ บวม หรือเป็นแผล ซึ่งตอนนี้เวลส์ก็กำลังอยู่ในกระบวนการที่จะออกกฎหมายห้ามตีเด็กโดยสิ้นเชิง ห้ามแม้แต่การลงโทษอย่างสมเหตุสมผล

5. ประเทศญี่ปุ่น : ได้ออกกฎหมายห้ามตีเด็กขึ้น โดยห้ามพ่อแม่ ผู้ปกครอง และคุณครู ลงโทษเด็กทางร่างกายไม่ว่าจะเป็นการทำโทษเพื่ออบรมสั่งสอนหรือไม่ก็ตาม

หากตีไม่ได้จะทำโทษแบบไหน

1. Time out ให้ลูกอยู่ตามลำพัง

เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกทำผิดหรือดื้อ พ่อแม่อย่างเราหากใช้วิธีนี้ อันดับแรกเลยก็ต้องจับเขาให้ไปนั่งอยู่มุมใดมุมหนึ่งคนเดียวหรือนั่งเฉยๆ อยู่กับที่ โดยที่พ่อแม่อย่างเราต้องเพิกเฉยกับพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจนั้น ให้เขาได้สงบสติอารมณ์ของตัวเอง แต่ไม่ใช่การลงโทษหรือปล่อยให้เขาอยู่อย่างโดดเดี่ยวจากสังคมนะคะ

2. งดกิจกรรมที่ลูกต้องการ

หากลูกงอแงเอาแต่ใจ ว่าเท่าไหร่ก็ยังไม่ยอมหยุดดื้อล่ะก็ วิธีนี้ถือเป็นวิธีปราบเซียนเลย เพราะสิ่งที่ลูกต้องการเอาจะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป เช่น อดเล่นของเล่นที่ชอบ อดกินขนม 1 วัน อดเที่ยวเล่นกับเพื่อน ซึ่งวิธีนี้สามารถใช้กับเด็ก 6 ขวบขึ้นไปได้นะคะ

3. ตักเตือนก่อน

วิธีนี้เหมาะสมสำหรับเด็กเล็ก เมื่อใดที่ลูกทำผิด ไม่ยอมเชื่อฟังอันดับแรกพ่อแม่อาจจะตักเตือนเขาด้วยสายตาก่อน มีการใช้น้ำเสียงเพื่อให้เขารู้ว่านี่คือสิ่งที่แม่ไม่ปลื้มเลยนะ จากนั้นก็ทำการตักเตือนสัก 1-3 ครั้ง หากทำผิดจะต้องโดนทำโทษ การตักเตือนก่อนจะทำให้ลูกรู้ว่าพวกเขาทำผิดแล้วนะ แล้วแม่ก็จะดุแล้วนะ หรือเพื่อให้เห็นภาพอาจจะใช้การเปรียบเทียบให้ลูกเห็นชัดได้ เช่น “ถ้าลูกตีเพื่อน แล้วแม่ตีลูกบ้างล่ะจะเจ็บไหม” เป็นต้น

4. ให้ลูกทำประโยชน์ทดแทนความผิด

เมื่อไหร่ที่ลูกทำผิดการทำโทษอย่างหนึ่งที่เป็นประโยชน์ นั้นก็คือการให้ลูกทำประโยชน์ทดแทนความผิด เช่น ช่วยแม่ถูกบ้าน ช่วยแม่กรอกน้ำ ช่วยเก็บใบไม้รอบๆ บ้าน เป็นต้น เพื่อให้เขาจะได้ไม่ทำอีก หรือหากเขาทำผิดก็ยังได้ประโยชน์อีกต่างหากนะคะ

5. บังคับให้ลูกทำในสิ่งที่ไม่ชอบ

หากลูกทำผิดถ้าเราหนักแน่นพอในการบังคับลูกว่าเช่น “ถ้าหนูดื้อ แม่จะให้หนูกินแต่ผักและลดค่าขนมเลยนะ” ลูกก็จะรู้สึกกลัวและไม่ทำในสิ่งที่ผิด และอาจจะเชื่อฟังเรามากขึ้นได้ แต่หากลูกแก้ไขพฤติกรรมแล้วก็อย่าลืมชื่นชมเขาที่ทำได้ด้วยนะคะ เพื่อให้เขาได้เห็นว่าหากเป็นเด็กดีแม่ก็จะทำแบบนี้ให้เห็นความแตกต่างของการเป็นเด็กดื้อและเด็กดีนั่นเองค่ะ

6. เพิกเฉยลูก เพื่อให้เขารู้ว่าถ้าเป็นเด็กดื้อจะไม่มีใครสนใจ

เมื่อใดที่ลูกเริ่มดื้อ งอแง ไม่เชื่อฟัง วิธีสามารถหยุดความร้ายกาจของลูกได้ค่ะ เช่น ลูกร้องไห้จะเอาของเล่น แทนที่เราจะบอกแม่จะดีนะ ให้เราทำเป็นไม่สนใจ เพื่อทำให้เขารู้ว่าหากเขาดื้อแบบนี้แม่ก็จะไม่สนใจด้วยเช่นกัน เด็กๆ ก็จะหยุดร้องเอง และเราก็จะสามารถเข้าไปพูดคุยและบอกสิ่งที่ถูกต้องให้กับลูกเพื่อให้เขาเข้าใจถึงพฤติกรรมที่เขาทำว่ามันไม่น่ารักแค่ไหน

เพราะฉะนั้นการทำโทษเด็กจริงๆ พ่อแม่สามารถทำได้นะคะ แต่การทำโทษที่ดีต้องไม่ควรใช้กำลังหรือทำให้ร่างกายและจิตใจของเด็กๆ ต้องบอบช้ำค่ะ ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ต้องคิดเสมอว่า การที่เราทำโทษแบบนี้เราได้อะไร และลูกรู้สึกผิดจริงๆ หรือเปล่า จริงอยู่ที่การตีลูกจะทำให้ลูกหยุดดื้อ หยุดร้องไห้ แต่ข้อเสียมันมากมายและมีผลเสียระยะยาวกว่าที่คิดนะคะคุณพ่อคุณแม่

 

 

 

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



นาฬิกาชีวิตของแม่
ชีวิตครอบครัว
ขอเพียงแค่ฉัน…ได้กอดลูก
ชีวิตครอบครัว
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save