fbpx

7 วิธี พิชิตการทานยากของเด็ก

Writer : OttChan
: 3 มกราคม 2563

ปัญหาที่ไม่ว่าบ้านไหนก็ต้องพบเจอคือการทานยากของเด็กวัยกำลังโต ยิ่งพึ่งหย่านมแม่ใหม่ๆ ช่วงวัย 1 – 3 ขวบ จะมีอาการเรียกร้องหานมอยู่ตลอดเวลาไม่ยอมทานอาหารชนิดอื่นซึ่งจริงๆ อาการดังกล่าวมีที่มาที่ไปเสมอ ไม่ใช่ว่าจู่ๆเด็กจะไม่อยากทานนะคะ

ดังนั้น เราจะมาทราบสาเหตุไปพร้อมๆกับวิธีการแก้ไขไปด้วยกันค่ะ!

สาเหตุที่เด็กทานยาก, ทานน้อย

  • ไม่รู้สึกหิวเพราะทานนมหรือขนมมาก่อนแล้วซึ่งหลายๆ บ้านอาจจะเป็น เมื่อเห็นลูกร้องอยากกินขนมหรือนมก็จะรีบหามาให้ทานเพราะกลัวหิว ทำให้อาหารมื้อหลักในแต่ละวันไม่ได้รับความสนใจ
  • มีสิ่งเร้ารอบตัวมากเกินไป เช่นการเปิดการ์ตูนหรืออยู่ในบรรยากาศที่มีของล่อตาล่อใจเยอะ อาทิของเล่นรึเพื่อนฝูง ทำให้ลูกไม่มีสมาธิที่จะจดจ่ออยู่กับมื้ออาหาร
  • อาหารมีรสชาติไม่ถูกปากจนทำให้เกิดความทรงจำในมื้อแรกไม่ค่อยดีนัก มื้อถัดๆ ไปจึงเริ่มต่อต้านการทานมากขึ้น
  • ถูกบังคับให้ทานมากเกินไปจนรู้สึกการทานข้าวไม่ใช่เรื่องสนุก พอถึงเวลาที่จะต้องรับประทานอาหารจึงทำให้รู้สึกเป็นช่วงเวลาแสนน่าเบื่อ ไม่อยากให้ความร่วมมือ
  • รู้สึกได้รับความสนใจเวลาที่มีผู้ใหญ่คอยตาม คอยให้ความเอาใส่ใจ พยายามป้อนอยู่ตลอดเวลาจึงได้ใจ ไม่ยอมกินเพื่อให้เอาใจอยู่เรื่อยๆ

 

วิธีที่ 1 จัดระเบียบขนม, นมให้เป็นเวลา

แน่นอนว่าปัญหาแรกของการให้ลูกทานข้าว เขาจะต้องรู้สึกหิวก่อนจึงเริ่มทาน ดังนั้นการให้ขนมหรือนมตลอดเวลาที่ลูกร้องขอจึงเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่ทำให้เด็กไม่มีความสนใจในอาหารมื้อหลักและเฝ้ารอแต่เวลาที่จะได้นใหรือขนมหรือเพื่อดื่ม, เคี้ยวตลอดทั้งวัน คุณพ่อคุณแม่ขึงจะต้องกำหนดเวลาที่ชัดเจนเช่น

  • ไม่ดื่มนมหรือให้ทานขนมในช่วงใกล้มื้ออาหาร
  • ควรมีเวลาที่แน่นอนในการให้นมหรือขนมเพื่อให้ลูกรู้ว่าแต่ละวันเขาจะได้ทานเพียงช่วงเวลานี้เท่านั้น เป้นการฝึกระเบียบไปในตัว
  • ใจแข็งต่อการร้องขอแม้ว่าจะงอแงเพียงไรก็ต้องอดทน ไม่เช่นนั้นก็จะไม่สามารถฝึกให้ลูกทานอาหารในมื้อได้

 

วิธีที่ 2 ให้ลูกมีสมาธิกับการทาน

บ่อยครั้งที่เรามักจะแก้ปัญหาให้ลูกนั่งทานข้าวโดยการเปิดการ์ตุนหรือใช้ของเล่นหลอกล่อเพื่อให้เขาได้ทานให้มากหรือได้สัก 2-3 คำก็ยังดี การแก้ไขเช่นนี้จะช่วยให้ได้ผลเพียงระยะสั้นๆ แต่ลูกจะเริ่มเรียนรู้และสุดท้ายก็มีแต่ฟังคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องสรรหาวิธีใหม่ๆ เข้ามาจัดการหรือสิ่งน่าสนใจใหม่ๆ มาล่อให้มองอยู่เรื่อยๆ ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือนำของเล่นและหน้าจอออกไปให้หมดระหว่างทางรวมถึงบรรยากาศนั้นควรเป็นห้องที่ไร้สิ่งรบกวน, ล่อตาล่อใจ ให้ลูกได้ใช้เวลาอยู่กับจานข้าวที่เขาต้องรับผิดชอบ

เพราะถ้าลูกได้มีสมาธิแล้วกับสิ่งที่ต้องปฏิบัติแล้ว ระเบียบวินัยในวัยเด็กก็จะเริ่มต้นขึ้น

วิธีที่ 3 หยุดป้อนและให้ลูกทานเอง

อาจจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรเพราะหากไม่ป้อนแล้วจะยอมทานได้อย่างไร แต่ในทางกลับกันเด็กวัยเริ่มโต จะเป็นช่วงที่เขาอยากแสดงความสามารถที่สุด หากคุณพ่อคุณแม่หรือญาติยังตามป้อนจะทำให้เกิดการต่อต้านได้ง่ายรวมไปถึงการฝึกความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองทำได้ก็จะน้อยตามลงไปด้วย ดังนั้นจึงควรเริ่มฝึกทั้งตัวผู้ปกครองและเด็กดังนี้

  • บอกปากเปล่าเพียงครั้งสองครั้งในการทาน ไม่บังคับหรือพยายามจ่อปากป้อน
  • เมื่อเห็นว่าไม่ยอมทานและถึงเวลาต้องเก็บโต๊ะแล้วเก็บทันทีแม้ว่าจะไม่หมดจานเพื่อให้ลูกรู้ว่าเขาต้องทานอาหารในเวลาที่กำหนด
  • มีข้อตกลงร่วมกันกับทั้งภายในครอบครัวและญาติพี่น้องว่าจะใช้มาตรการนี้ อย่าป้อนหรือหาอะไรให้ทานหากเด็กร้องว่าหิวในเวลาที่ไม่ใช่เวลาทานข้าว ไม่เช่นนั้นปัญหาก็จะยังคงมีต่อไป
  • ทานเองแล้วเลอะเทอะไม่ตำหนิติเตียน แต่อาศัยค่อยๆ สอนวิธีทานที่ถูกต้องเพราะหากเด็กได้รับการสอนหรือการเรียนรู้วิธีการทานที่ถูกต้อง เด็กจะรู้สึกสนุกไปกับการทานมากขึ้น

วิธีที่ 4 จับเวลาในการทาน

มีบ้างที่เห็นว่าลูกทานได้น้อยก็มักจะปล่อยเวลาให้เขาได้อยู่กับการทานจนเวลาผ่านมาเป็นชั่วโมง ข้าวก็ยังไม่หมดจานก็จะยังไม่ยอมให้ลุก ซึ่งการทำแบบนี้นอกจากเสียเวลาทั้งตัวผู้ปกครองแล้ว ยิ่งทำให้ลูกรู้สึกการทานข้าวช่างน่าเบื่อหน่ายและไม่ใช่ช่วงเวลาที่ต้องการเสียเวลาด้วยแม้แต่น้อย

ดังนั้น เวลาที่ดีที่สุดในการทานคือไม่เกิน 30 นาที เมื่อถึงเวลาแล้วให้ทำการเก็บจานข้าวและให้ลูกรอทานอาหารในมื้อถัดไปแทน ไม่มีนมหรือขนมเผื่อไว้ให้เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกว่าไม่ทานมื้อนี้ก็ไม่เป็นไร มีขนมมีนมเนยรอไว้ เช่นนั้นแล้ว จำกัดเวลาในการทานรวมไปภถึงควบคุมการทานของว่างของจุกจิกไปควบคู่กัน จะทำให้เห็นผลยิ่งขึ้น

 

วิธีที่ 5 ให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการประกอบอาหาร

เด็กวัยเล็กเป็นวัยเลียนแบบและชอบการเรียนรู้ในสิ่งที่เขาไม่เคยทำ การพาเข้าครัวให้เห็นขั้นตอนในการทำอาหารหรือได้มีส่วนช่วยอาทิ การล้างผัก, เตรียมของหรือจัดจาน จะช่วยให้เขารู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำอาหารกับครอบครัวและยอมทานอาหารที่ได้ลงมือช่วยมากขึ้น ดีไม่ดี ลูกอาจจะได้ค้นพบความชอบตัวเองเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำอาหารด้วยก็เป็นได้

 

วิธีที่ 6 ชมเชยและสร้างบรรยากาศดีๆ ในการทาน

สิ่งที่มาควบคู่กับการเลี้ยงลูกเชิงบวกคือสอนแต่ทัศนคติดีๆ ให้แก่เขา หากสิ่งที่ถูกทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี พ่อแม่ก็ควรจะชมให้มากเพื่อให้ลูกได้มีกำลังใจต่อไปในการทำสิ่งต่างๆ และเรื่องการทานเองก็เป็นหนึ่งในความสามารถเริ่มต้นที่เด็กทุกคนต้องฝึกฝน หากลูกทานผักได้แล้วหรือสามารถทานข้าวได้หมดจานก็ควรออกปากชมให้มากเพื่อให้เขาได้มีกำลังใจที่จะทานและรู้สึกดีทุกครั้งที่ถึงเวลาทานข้าว บรรยากาศดีๆบนโต๊ะอาหารสร้างได้ง่ายมาก หากเราพูดคุยถึงแต่สิ่งดีๆ และสร้างสรรค์

วิธีที่ 7 เป็นแบบอย่างที่ดีในการทาน

อย่าลืมว่ากระจกสะท้อนตัวตนของลูกก็คือการกระทำของตัวคุณพ่อคุณแม่เอง เมื่อทุกคนอยู่บนโต๊ะอาหาร ก็ควรทานอาหารและใช้เวลาอยู่กับการทาน ไม่ควรหยิบมือถือหรือเปิดโทรทัศน์ดูควบคู่ไประหว่างทางในช่วงที่ลูกกำลังอยู่ในวัยเลียนแบบเรา เพราะเด็กนั้นยังแยกแยะไม่ได้ว่าแบบไหนเป็นสิ่งที่ทำได้หรือไม่ได้ เขาจดจำเพียงพ่อและแม่ของเขาทำ เขาจึงทำตามบ้าง ดังนั้นทุกครั้งที่มีการทานอาหาร ต้องทานเป็นแบบอย่างก่อนจะช่วยควบคุมการทานของลูกได้มาก อาทิ

  • การลองรับประทานอาหารชนิดใหม่ตามเพราะเห็นว่าทานได้
  • การใช้ช้อน, ส้อมที่ถูกต้องตามพ่อแม่
  • ฝึกการเคี้ยวและกลืน
  • เกิดความสัมพันธ์ดีๆ ขึ้นระหว่างพ่อแม่และลูกบนโต๊ะอาหาร

 

ที่มา : SpoiledPediatrician , sikarins-momclub

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เพราะแม่จะเป็นใครก็ได้
ชีวิตครอบครัว
Update
Banner Banner
Live Action เรื่องล่าสุดจาก Disney ที่หลายๆคนรอคอยไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เคยรับชมการ์ตูนในวัยหวานหรือแม้แต่คุณน้องคุณหนูที่หลงรักโลกใต้ท้องทะเลก็ตาม ใช่แล้วล่ะค่ะ เรากำลังพูดถึง “The Little Mermaid” หรือ “เงือกน้อยผจญภัย” ที่หยิบยกกลับมาทำใหม่ในเวอร์ชันคนแสดงในปีนี้ โดยมีนักร้องสาว “ฮัลลี เบลลีย์” รับบทนางเงือกน้อย “แอเรียล” พร้อมเป็นตัวแทนส่งเสียงบอกกับเด็กหญิงชายทั่วโลกว่า “ใครก็เป็นเจ้าหญิงได้”  หยิบกลับมาทำใหม่ ตีความใหม่ในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนแบบนี้ ใครๆ ก็ต้องตื่นเต้นอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อย ข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสำหรับเด็กๆ หรือไม่ ลองไปดูกันเลย! เรื่องราวของนางเงือกน้อยแสนซน “แอเรียล” ธิดาคนสุดท้องของราชาไตรตันเจ้าแห่งโลกใต้สมุทรเธอมีความหลงใหลในโลกมนุษย์และใฝ่ฝันว่าอยากจะเดินเหินอย่างผู้คนบนดินแม้พ่อจะพยายามกีดกันเธอเท่าไรก็ตาม วันหนึ่งเธอบังเอิญได้พบกับ “เจ้าชายอีริค” และตกหลุมรักเขาเข้าอย่างจัง เธอจึงได้ทำข้อตกลงกับแม่มดทะเล “เออซูลาร์” เพื่อแลกเสียงอันไพเราะกับขาอย่างมนุษย์โดยมีข้อแม้ว่าเธอจะต้องได้รับจุมพิตจากเจ้าชายไม่เช่นนั้นเธอจะกลับมาเป็นเงือกและกลายเป็นทาสของเออซูลาร์ตลอดไปการออกเดินทางทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจเพื่อใช้ชีวิตอย่างที่ฝันจึงได้เริ่มต้นขึ้น เติมเต็มหัวใจที่ยังเปี่ยมไปด้วยความทรงจำของวัยเยาว์ ส่งต่อความกล้าหาญให้หนูน้อยเชื่อมั่นในตัวเอง และสิ่งที่ฝัน จูงมือลูกรักไปดู “The Little Mermaid” ได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์! ชมตัวอย่าง : https://www.youtube.com/watch?v=AS0vop2rgFo การ์ตูนเรื่องนี้เหมาะกับเด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป แม้จะมีเค้าโครงเรื่องหลักๆ มาจากการ์ตูนเงือกน้อยแอเรียลแบบต้นฉบับทั้งหมด แต่พอมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ทวีคูณความจริงจังให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมพื้นเพตัวละคร เสริมเนื้อเรื่องเพิ่มประเด็นให้มีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม จึงบอกได้ว่าเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยเหมาะกับเด็กเล็กๆ เท่าไร ถึงอย่างนั้นเด็กๆก็ยังสามารถสนุกสนานกับกลิ่นอายของเทพนิยายชวนฝันเพลิดเพลินกับภาพบรรยากาศโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงามสุดแสนจะแฟนตาซี รับประกันว่ากระตุ้นจินตนาการเรียกความตื่นตาตื่นใจจากเจ้าตัวน้อยแน่นอน เรื่องที่ต้องระวัง มีความรุนแรงและฉากน่ากลัว อย่างที่บอกไปว่า Live Action เวอร์ชันนี้ มีความดาร์ก ความสมจริงเพิ่มเข้ามา เรื่องความรุนแรงต่างๆ ฉากต่อสู้ ฉากปะทะ หรือหน้าตาของเหล่าสัตว์ร้ายใต้ทะเล อาจทำให้เด็กๆ ไม่สบายใจ หรือตื่นกลัวได้ แถมยังมีจังหวะตกใจ (Jump…
25 พฤษภาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save