แน่นอนว่าชีวิตคู่อาจจะไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเหมือนอย่างในนิยาย และความตึงเครียดที่เกิดขึ้นจากชีวิตคู่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด แต่อย่างไรก็ดีความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีซะทีเดียว แต่ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการความขัดแย้งมากกว่า
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเนวาด้า และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิชิแกน ของสหรัฐอเมริกาได้พพบคำตอบว่า ความสัมพันธ์ที่มีความขัดแย้ง เช่น ในเรื่องการเลี้ยงลูก เรื่องเงินทอง เรื่องญาติพี่น้อง รวมทั้งเรื่องการใช้เวลาทำกิจกรรมต่างๆ นั้น สร้างความเครียดต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในฝ่ายชาย
ซึ่งความเครียดนั้นส่งผลต่อสุขภาพในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นสร้างภาวะอักเสบของร่างกาย เปลี่ยนแปลงสภาพความอยากอาหาร เพิ่มระดับฮอร์โมนความเครียด และมีผลต่อการทำงานของหัวใจ รวมทั้งระบบภูมิต้านทานของร่างกายด้วย
นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่า สถานภาพการสมรสนั้นไม่ได้ทำให้คนเรามีความสุขเสมอไป แต่คุณภาพของความสัมพันธ์ การสนับสนุนซึ่งกันและกัน และความเข้าใจระหว่างคู่สมรสต่างหาก คือตัวแปรสำคัญที่ส่งผลในทางบวกหรือทางลบต่อสุขภาพได้
โดยการสมรสที่ดีนั้นไม่ได้หมายถึงการไม่มีความขัดแย้งหรือเห็นต่างกัน แต่ขึ้นอยู่กับวิธีในการจัดการความขัดแย้งนั้นมากกว่า สิ่งที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของคู่สมรสคือ ท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์ หรือพยายามแก้ตัว หรือกลับไปรื้อฟื้นเรื่องเก่าๆ โดยไม่มีข้อยุติของปัญหา
นักวิจัยให้คำแนะนำเรื่องการจัดการความสัมพันธ์ในชีวิตสมรสว่า อย่าพยายามนับคะแนนว่าใครแพ้ชนะกี่ครั้ง เพราะความสัมพันธ์ที่ดีนั้นเป็นเรื่องของ win-win
หัวใจสำคัญของการมีชีวิตสมรสที่ดีคือ คือความสนับสนุนที่ต่างฝ่ายมีให้กัน ทั้งในเรื่องการเงินการทำงาน ความคิด ร่างกาย และจิตใจ รวมทั้งการสื่อสารแบบเปิดกว้าง การไม่มุ่งเอาชนะ และไม่กลับไปรื้อฟื้นซ้ำๆ ย้ำเรื่องเดิมๆ
อ้างอิงจาก