fbpx

เด็กวัยเข้าโรงเรียน

เลือกหมวดหมู่


การศึกษา การศึกษา

ทำไมช่วงนี้ เราถึงได้ยินคำว่า PDPA กันบ่อยขึ้นใช่ไหมล่ะคะคุณพ่อคุณแม่ ทั้งในโซเชียลมีเดีย หรือจะในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ทุกคนก็ต่างให้ความสำคัญเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้ ซึ่งจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 PDPA คืออะไรกันแน่ แล้วทำไมถึงเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน เราไปหาคำตอบกันเลยค่ะ? (more…)

กิจกรรมของครอบครัว กิจกรรมของครอบครัว
หนังสือภาพนั้น เปรียบได้กับอีกหนึ่งคู่มือเลยสำหรับการเสริมสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ของลูก ไม่ว่าเด็กคนไหนก็ต้องชื่นชอบการได้ดูรูปภาพสวยๆ และมีเนื้อหาที่สุดแสนสนุก และตื่นตาตื่นใจใช่ไหมคะ เพราะงั้นคงเป็นเรื่องดีอย่างมากที่ทุกบ้านจะมีหนังสือภาพประกอบดีๆ เก็บไว้กับตัวซักเล่มนึง หรือถ้าให้ดี และมีหลากหลาย การทำเองเพื่อใช้อ่านก็คงจะเป็นกิจกรรมที่ทั้งสนุก และก็เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์อย่างแน่นอน ซึ่งส่วนประกอบสำคัญในการทำหนังสือภาพประกอบนั้นควรมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยค่า อุปกรณ์สำหรับทำหนังสือภาพประกอบเด็ก สมุด, กระดาษเย็บมุม ดินสอ , สี สติ๊กเกอร์ลายที่ต้องการ หลักของการทำหนังสือภาพประกอบเด็ก เน้นภาพมากกว่าตัวหนังสือ ให้สร้างเรื่องราวจากการวาด, แปะสติ๊กเกอร์ เพราะวัยเด็กนั้นมักสนใจกับภาพมากกว่าการอ่านตัวหนังสือ หากลูกได้อ่านจากภาพมากกว่าตัวอักษรจะช่วยให้เขามีจินตนาการในการสร้างเรื่องราวได้มากขึ้น ในหนึ่งภาพสามารถใส่สิ่งที่คิดลงไปได้มากกว่าเพียงหนึ่งความคิด เพราะการฝึกความจำของเด็กสามารถทำได้ด้วยการแอบใส่รายละเอียดเล็กๆ น้อยให้ได้จดจำระหว่างทางเช่น มดหนึ่งตัวกำลังเดินทาง เราอาจแต่งเป็น คุณมดใส่หมวกแดง ถือดาบ กำลังเดินทางด้วยสีหน้ามีความสุข ภาพใช้สีสันสดใส, จำนวนหน้าไม่มากจนเกินไป เพราะช่วงอายุของเขายังไม่สามารถจดจ่ออะไรได้นานเป็นชั่วโม ควรมีปริมาณของกระดาษที่พอเหมาะซัก 8-12 หน้า เนื้อเรื่องไม่จำเป็นจะต้องจบหรือดำเนินแบบเดียวเพื่อเปิดกว้างจินตนากาารให้กับเด็ก เพราะเนื้อเรื่องไม่จำเป็นต้องจบแค่แบบเดียว เราสามารถเปิดความคิดให้เขากำหนดทิศทางต่างๆ ได้ตามใจตนเอง ประโยชน์ของการอ่านหนังสือภาพประกอบ เสริมสร้างให้เด็กมีจินตนาการ, การคิดต่อยอด ทำให้เกิดสมาธิ, รู้จักการจดจ่อ ฝึกให้มีทักษะด้านการเล่าเรื่อง, การอ่าน และความช่างสังเกต และหลักสำคัญของการสร้างหนังสือที่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้ามที่สุด คือการย่อยอดให้ลูกอย่างไม่สิ้นสุดนะคะ ไม่จำเป็นที่เราจะต้องชี้ว่า นี่คือต้นไม้พันธุ์นี้ นี่คือสัตว์ชนิดนี้ แต่ให้ลูกได้มีจินตนาการที่จะคิดเอง เว้นเสียแต่ว่าเขาจะถามให้เราตอบ เราก็สามารถตอบได้แต่จะตอบในมุมมองที่เปิดกว้าง อาทิ ลูกชี้เสือในภาพ เราอาจจะไม่บอกว่า นี่คือกระต่ายนะ กระต่ายต้องกินแครอท และต้องเลี้ยงในกรง เพราะบางครั้งในความคิดของลูก กระต่ายตัวนั้น อาจจะชอบกินชอคโกแลตร้อน และอาศัยอยู่ในป่าแห่งความสุขสีรุ้งก็เป็นได้
5 เมษายน 2565

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save