fbpx

ถ่ายรูปลูก แต่ระวังติดหน้าคนอื่น!! PDPA พ.ร.บ. คุ้มครองส่วนบุคคลที่ใครๆ ก็ต้องรู้

Writer : Mneeose
: 2 มิถุนายน 2565

ทำไมช่วงนี้ เราถึงได้ยินคำว่า PDPA กันบ่อยขึ้นใช่ไหมล่ะคะคุณพ่อคุณแม่ ทั้งในโซเชียลมีเดีย หรือจะในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ทุกคนก็ต่างให้ความสำคัญเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้ ซึ่งจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565

PDPA คืออะไรกันแน่ แล้วทำไมถึงเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน เราไปหาคำตอบกันเลยค่ะ?

ทำความรู้จัก “PDPA” คืออะไร?

PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อป้องกันการถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล รวมทั้งการต้องขอ “ความยินยอม” จากเจ้าของข้อมูล ก่อนการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยในที่สาธารณะ หรือนำไปใช้ในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งด้านร่างกายและจิตใจแก่บุคคลที่ถูกอ้างอิง

ทั้งข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ คลิปวิดีโอ หรือแม้กระทั่งชื่อ – นามสกุล หากเจ้าของข้อมูลส่วนตัวไม่ยินยอม ผู้ที่เป็นคนเปิดเผยข้อมูลเหล่านั้น ก็สามารถมีความผิดตาม พ.ร.บ. ได้ทั้งสิ้น

และแน่นอนว่า พ.ร.บ. นี้มีผลกับทุกองค์กรทั่วโลกที่เก็บข้อมูลของคนไทย จึงไม่มีองค์กรไหนสามารถทำเพิกเฉยกับพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือที่เรียกกันว่า PDPA นี้ได้

 

ข้อมูลแบบไหน ถือเป็น “ข้อมูลส่วนบุคคล” ที่ต้องระวังไม่ให้คนอื่นรู้!

ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลที่ห้ามเปิดเผยให้ใครรับรู้ได้ง่ายๆ เนื่องจากข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลที่สำคัญ และจำเป็นมากๆ ในชีวิตเรา รวบรวมทุกอย่างในชีวิต และสามารถใช้ยืนยันตัวตนที่แท้จริงของเราได้ ดังนี้

  • เลขบัตรประชาชน
  • ชื่อ – นามสกุล
  • ที่อยู่
  • เบอร์โทรศัพท์
  • เชื้อชาติ
  • อีเมล
  • ข้อมูลทางการเงิน
  • ศาสนาหรือปรัชญา
  • เพศ
  • ข้อมูลสุขภาพ หรือข้อมูลพันธุกรรม
  • ประวัติอาชญากรรม

เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรบอกให้ลูกน้อยรับรู้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นความลับมากๆ จึงไม่ควรบอกให้ใครรู้ และสอนลูกน้อยให้ลูกน้อยอย่าหลงเชื่อกลโกงง่ายๆ ในโลกออนไลน์นั่นเอง

 

Q&A เคสแบบไหนที่พ่อแม่ควรระวัง เมื่อมี PDPA

คุณพ่อคุณแม่อาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ! แล้ว PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เกี่ยวข้องอะไรกับชีวิตแม่ลูก 2 อย่างเราล่ะ Parents One เลยขอยกตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ว่าแท้จริงแล้ว PDPA นั้น เกี่ยวข้องอย่างไรกับชีวิตของเราบ้างนั่นเองค่ะ

 

Q1 : ถ่ายรูปลูก แต่ดันติดใบหน้าของเด็กคนอื่น ในลักษณะที่ไม่เหมาะสม แล้วโพสต์ลง Facebook ส่วนตัว

A : ในลักษณะเคสนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ผิด PDPA ค่ะ แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม และไม่ควรโพสต์ลงไปอย่างยิ่งนะคะคุณพ่อคุณแม่ แม้ว่าจะโพสต์ใน Facebook ส่วนตัวก็ตาม

ซึ่งวิธีแก้ที่ดีที่สุด คือการไม่ถ่ายภาพติดใบหน้าของเด็กคนอื่น แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ให้เบลอภาพใบหน้าของเด็กคนอื่นที่ถูกถ่ายติดนั่นเองค่ะ และอีกวิธีที่แสนง่าย นั่นก็คือ เอารูปภาพนั้นไปขออนุญาตความยินยอมจากอีกฝ่ายนั่นเอง

แต่ถ้าคุณแม่ของเด็กคนนั้นเผลอมาเห็น แล้วไม่พอใจ อยากให้ลบภาพนั้นทิ้ง เราก็ต้องลบภาพนั้นนะคะคุณพ่อคุณแม่ เพราะถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลของลูกเขานั่นเองค่ะ

 

Q2 : กล้องวงจรปิดในโรงเรียนที่คอยถ่ายลูกเรา ผิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่?

A : ติ๊กต๊อกๆ ถึงเวลาเฉลยยยย

กล้องวงจรปิดที่ถ่ายลูกของเราในโรงเรียน ไม่ผิด PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นั่นเองค่ะ

แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามทางโรงเรียนนำคลิปจากกล้องวงจรปิดไปเผยแพร่ในที่สาธารณะ และไม่สามารถเปิดให้ผู้ปกครองทุกคนดูได้ ยกเว้น ตอนที่เด็กนักเรียนมีปัญหา แล้วผู้ปกครองต้องการหลักฐานเพื่อสืบหาความจริง ทางโรงเรียนก็ต้องยินยอมให้ผู้ปกครองดูคลิปจากกล้องวงจรปิดนั้นนะคะ

 

Q3 : โรงเรียนถ่ายรูปรวมของเด็กนักเรียน แล้วโพสต์ลง Facebook ของเพจโรงเรียน เพื่อโปรโมตกิจกรรม

A : ในเคสนี้คุณพ่อคุณแม่คิดว่าผิด PDPA รึเปล่าเอ่ย?

เฉลย ไม่ผิด PDPA ค่ะ แต่รูปภาพที่ลงในเพจ Facebook ของโรงเรียน ต้องเป็นรูปภาพรวมของเด็กนักเรียน และห้ามเป็นภาพใบหน้าเด็กเฉพาะคนใดคนหนึ่ง ก็จะไม่ผิด PDPA แล้วค่ะ

เดี๋ยวก่อน! แต่ถ้ามีผู้ปกครองของนักเรียนคนใดที่อยู่ในรูป ไม่ต้องการให้รูปหน้าลูกของตัวเองลงเพจโรงเรียนแล้วล่ะก็ ทางโรงเรียนก็ต้องทำการลบรูปภาพนั้นให้นั่นเอง

 

Q4 : พ่อแม่ถ่าย Vlog กับลูก แล้วเผลอไปติดเด็กคนอื่น แล้วโพสต์ลงเพจ Facebook แบบสาธารณะ

A : ไม่ผิด PDPA แต่ทางที่ดีที่สุด เพื่อกันไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง นั่นก็คือ คุณพ่อคุณแม่ควรมีการบอกคนที่อยู่แถวนั้นก่อนว่าจะมีการถ่ายทำ Vlog ไปลงในเพจใด เพื่อแจ้งให้บุคคลที่อยู่แถวนั้นได้รับทราบ และเตรียมตัว ซึ่งอาจจะบอกผ่านทางวาจาก็ได้เช่นเดียวกัน

 

PDPA เจ้าของข้อมูลมีสิทธิอะไรบ้าง?

  1. สิทธิการได้รับแจ้ง มาตรา 19
  2. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม มาตรา 19
  3. สิทธิการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง มาตรา 35 และ 36
  4. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 33
  5. สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 31
  6. สิทธิการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 30
  7. สิทธิในการห้ามมิให้ประมวลข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 34
  8. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 32

 

ขอบคุณแหล่งอ้างอิง : easypdpa.com
www.bangkokbiznews.com

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save