fbpx

มีด้วยหรือ? โรคออฟฟิศซินโดรมในเด็ก เมื่อพ่อแม่ปล่อยให้หน้าจอเป็นพี่เลี้ยงลูก

Writer : Mneeose
: 28 กันยายน 2564

“ออฟฟิศซินโดรม” ถือเป็นโรคที่พบมากในกลุ่มคนช่วงวัยทำงาน ซึ่งเกิดมาจากสาเหตุในการนั่งทำงานท่าใดท่าหนึ่งนานๆ หลายชั่วโมงเป็นประจำ หรือว่านั่งแบบผิดวิธี จึงทำให้เกิดเกิดอาการปวดเมื่อย หรือชาตามบริเวณต่างๆ ขึ้นได้ และอาจนำไปสู่โรคที่น่ากลัวเกี่ยวกับการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ รวมทั้งโรคทางระบบกระดูกตามมาได้

แต่คุณพ่อคุณแม่อาจจะยังไม่เคยได้ยินว่า โรค “ออฟฟิศซินโดรม” ก็สามารถเกิดขึ้นในกลุ่มเด็กได้ด้วยนะ โดยเหตุผลหลักๆ แน่นอนว่า คือ การปล่อยให้หน้าจอเครื่องมือสื่อสารเป็นพี่เลี้ยงเด็กนั่นเอง โดยเฉพาะบ้านไหนที่ช่วง WFH แล้วคุณพ่อคุณแม่มัวแต่ทำงานหนัก จนเผลอให้ลูกไปตีสนิทกับหน้าจอ ก็จงระวังเอาไว้ให้ดีนะคะ!

โรคออฟฟิศซินโดรมในเด็กจะน่ากลัวขนาดไหน และถ้าลูกเราเป็นจะส่งผลกระทบในด้านใดบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

Parents One ขอยกตัวอย่างจากกรณีที่คุณแม่ “Bumm Montira” ได้โพสต์เล่าลงบน Facebook ว่า ลูกของตนที่อยู่ชั้น ป.6 อายุเพียง 12 ปี ป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา

ซึ่งลูกมีอาการปวดหัวจนอาเจียน ปวดหัวหนักมากเหมือนมีไข้ เเละเป็นไมเกรนไปพร้อมๆ กัน ต้องคอยประคบร้อนตรงต้นคอ นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

พร้อมกับโพสต์เตือนคุณพ่อคุณแม่ด้วยว่า อย่าให้ลูกจับโทรศัพท์เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน รักลูกต้องดูแลเค้าให้ดีๆ เพราะโรคนี้น่ากลัวกว่าที่พวกเราคิด และที่สำคัญ อย่าให้เด็กเล่นโทรศัพท์มากเกินไปเป็นดีที่สุดนั่นเอง

โดยเหตุการณ์ในครั้งนี้ คุณแม่ได้บอกว่า ปกติลูกชายตนเล่นเกมเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ไม่เคยมีอาการแบบนี้ เมื่อปิดเทอมลูกจึงเล่นเกมแบบไม่จำกัดเวลา เพราะแม่ต้องออกไปทำงาน จึงไม่มีเวลาดูแลลูกนั่นเอง

เจาะสาเหตุการเกิดโรค “ออฟฟิศซินโดรมในเด็ก”

  • นั่งดู หรือเล่นหน้าจอเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด เช่น มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ นานเกินไป ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
  • ใช้สายตาจ้องมากเกินไป ทำให้เกิดอาการปวดกระบอกตา เบ้าตา และปวดหัวขึ้นได้
  • นั่งดูหน้าจอผิดท่า เช่น ก้มดูจอมือถือ จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังคอตึงเกินไป และนำไปสู่อาการปวดขึ้นได้
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ เพราะดูแต่หน้าจอ ไม่ยอมลุกไปทำกิจกรรมอย่างอื่นเลย

 

จะรู้ได้อย่างไร? ว่าลูกเริ่มเป็น “ออฟฟิศซินโดรมในเด็ก” แล้ว

  • ปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ หลัง และสะโพกมากกว่าปกติแบบที่ไม่เคยปวดมาก่อน
  • เริ่มปวด และชาที่บริเวณแขน เกิดอาการนิ้วล็อค หรือข้อมือรู้สึกตึงๆ งอเเล้วเจ็บ
  • รู้สึกว่ากล้ามเนื้อในร่างกายแข็งๆ ไปหมด ไม่ค่อยอ่อนตัว
  • ปวดหัวข้างเดียวมาก อาการคล้ายๆ ปวดหัวไมเกรน
  • ปวดกระบอกตา เพราะจ้องจอนานเกินไป
  • เครียดสะสม จนทำให้นอนไม่ค่อยหลับ
  • บางคนรู้สึกอาเจียน จนอยากอ้วก

 

เมื่อรู้แล้วว่าเป็น ต้องรักษาอย่างไร?

เมื่อพบว่าลูกเริ่มเกิดอาการเหมือนข้อมูลด้านบน ให้คุณพ่อคุณแม่รีบพาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อวินิจฉัยว่าลูกเป็นโรคอะไรกันแน่ อย่าเพิกเฉยจนลูกมีอาการหนัก เพราะจะทำให้ลูกยิ่งเจ็บปวดตรงบริเวณกล้ามเนื้อต่างๆ

ซึ่งการรักษา “ออฟฟิศซินโดรมในเด็ก” มีหลายวิธีมากๆ ซึ่งแล้วแต่คุณหมอจะประเมินอาการนั่นเอง เช่น

  • การยืดกล้ามเนื้อ
  • กายภาพบำบัด
  • นวดแผนไทย
  • ทานยาคลายกล้ามเนื้อ

 

หากลูกไม่ยอมรักษา จะเกิดอะไรขึ้น?

  • เสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังเกี่ยวกับระบบประสาท และกล้ามเนื้อ เช่น โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด เป็นต้น คนที่เป็นจะปวดหลังตอนนั่งมากๆ ทำให้ยากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ถ้าเป็นแบบเรื้อรัง และรุนแรง อาจถึงขั้นเดินไม่ได้ จนต้องผ่าตัดเลยก็มี
  • เกิดโรคซึมเศร้าได้ เพราะมีความเครียดสะสม และอยู่ในบรรยากาศที่ไม่ดี
  • เกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน เพราะไม่ยอมออกกำลังกาย

 

ทำอย่างไร? ถ้าไม่อยากให้ลูกเป็น “ออฟฟิศซินโดรมในเด็ก”

  • อย่าใช้ “หน้าจอ” เครื่องมือสื่อสารทุกชนิด เป็นพี่เลี้ยงลูกเด็ดขาด!
  • จำกัดเวลา เมื่อลูกเล่นหน้าจอ โดยไม่ให้เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
  • ให้ลูกเริ่มใช้เครื่องมือสื่อสารได้เมื่อ อายุ 4 ปีขึ้นไป
  • พาลูกออกกำลังกายให้เป็นนิสัย ช่วงแรกๆ อาจยากหน่อย แต่ถ้าทำได้ คือ ลูกจะสุขภาพแข็งแรงดีไปทั้งชีวิต
  • ใช้เวลาในการอยู่กับลูก และดูแลลูกให้มากๆ เช่น หากิจกรรมทำระหว่างครอบครัวทุกอาทิตย์ เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ไม่ให้ลูกไปเล่นหน้าจอมากเกินไป
  • มีโต๊ะ และเก้าอี้ให้ลูกเล่นแบบถูกวิธี และดีต่อสรีระของลูก
  • พาลูกเข้านอนด้วยตัวเอง และอ่านนิทานให้เขาฟัง

 

โรค “ออฟฟิศซินโดรมในเด็ก” สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กวัยที่ชอบนั่งเล่นเกม ดูการ์ตูนจากแท็บเลตเป็นเวลานานๆ ซึ่งในขณะนี้มีเด็กป่วยจากโรคออฟฟิศซินโดรมเพิ่มมากขึ้นทุกที เพราะคุณพ่อคุณแม่ไม่ค่อยมีเวลาเลี้ยง และดูแลลูกอย่างเหมาะสม

ดังนั้น จงอย่าละเลยสิ่งเล็กๆ ที่เกี่ยวกับหน้าที่ของคุณพ่อและคุณแม่ไปเลยนะคะ เพื่อให้ครอบครัวได้กลับมาเป็นครอบครัวที่รักกัน และเติมเต็มส่วนต่างๆ ให้กันอีกครั้ง

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



กำลังใจที่ไม่เคยสังเกต
ชีวิตครอบครัว
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save