ยุงลายนอกจากจะเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกแล้ว ยังเป็นพาหะนำโรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลายและโรคไวรัสซิกาอีกด้วย
โดยโรคชิคุนกุนยาพบได้ทุกกลุ่มอายุ จะมีอาการคล้ายไข้เลือดออกแต่ต่างกันตรงที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีอาการช็อก หากมีไข้ ผื่นและปวดข้อก็ควรไปพบแพทย์
จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค ในสถานการณ์โรคไขปวดข้อยุงลายหรือชิคุนกุนยาในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 4 ส.ค. 62 พบผู้ป่วย 5,996 ราย ไม่มีรายงายผู้เสียชีวิต ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 25-34 ปี รองลงมาคือ 35-44 ปี และกลุ่มอายุ 15-24 ปีตามลำดับ โดยมีแนวโน้มพบมากขึ้นในพื้นที่ที่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน และเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 61
เพื่อเป็นการป้องกันกรมควบคุมโรคจึงแนะมาตรการ “3 เก็บ 3 โรค” คือ
1. เก็บบ้านให้สะอาด ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง ล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำและเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันดอกไม้ทุกสัปดาห์
2. เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
3. เก็บน้ำ ภาชนะที่ใส่น้ำต้องปิดฝามิดชิดป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ ซึ่งการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
จะสามารถป้องกันได้ 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
อ้างอิงจาก