fbpx

กรมควบคุมโรค

เลือกหมวดหมู่


ข่าว ข่าว

ในช่วงนี้ยังคงเป็นช่วงฤดูฝน แน่นอนว่นอกจากโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจแล้ว โรคที่เกิดจากยุงลายก็พบบ่อยไม่แพ้กัน โดยในตอนนี้โรคชิคุนกุนยาหรือโรคไข้ปวดข้อยุงลายกำลังระบาดอยู่ทั่วประเทศ จากสถานการณ์โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา ในปี 2563 พบผู้ป่วยแล้ว 4,307 ราย จาก 62 จังหวัด ไม่มีผู้เสียชีวิต พบมากในกลุ่มคนอายุ 24-25 ปี สำหรับจังหวัดที่มีคนป่วยมากที่สุดคือจังหวัดจันทบุรี ที่พบผู้ป่วยในระบบเกือบ 1,300 ราย และยังมีอีกหลายเคสที่ยังไม่ได้รายงานทั้งจากคลินิกและโรงพยาบาล สำหรับ โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง มียุงลายเป็นพาหะ ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการไข้สูง ปวดข้อ ข้อบวมหรือข้ออักเสบร่วมกับมีอาการปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นหรืออ่อนเพลีย สามารถป้องกันได้ด้วยการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และควรป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด ด้วยการทายากันยุง กำจัดยุงในบ้าน และการนอนกางมุ้ง อ้างอิงจาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1406000/ https://www.facebook.com/Infectious1234/posts/1011936472570379

ข่าว ข่าว
ยุงลายนอกจะจากเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออกแล้ว ยังทำให้เกิดโรคชิคุนกุนยาหรือโรคไข้ปวดข้อยุงลายอีกด้วย ซึ่งตอนนี้กำลังระบาดอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายสวนและยุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรค พบได้ทุกกลุ่มอายุ จะมีอาการคล้ายไข้เลือดออก แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก ซึ่งในตอนนี้มีการระบาดของโรคชิคุนกุนยาที่พื่นที่บ้านเกาะกลางในจังหวัดกระบี่ ชาวบ้านประมาณ 2,000 คน คิดเป็น 80% ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา เบื้องต้นพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากการช็อก 1 รายแต่ไม่ยืนยันว่าเสียชีวิตจากโรคนี้โดยตรงหรือมีโรคอื่นแทรกซ้อน ซึ่งกรมควบคุมโรค ได้เผยแพร่พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 6 -12 ม.ค. 2561 โดยระบุว่า ขอให้ประชาชนระมัดระวังโรคจากยุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากช่วงนี้ฝนตกในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หากมีอาการไข้ ผื่น ปวดข้อ ควรไปพบแพทย์ และหากได้เดินทางมาจากพื้นที่ภาคใต้ในช่วง 14 วันก่อนป่วยก็ให้แจ้งแพทย์ด้วย สำหรับวิธีการป้องกันให้ใช้มาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” คือ 1. เก็บบ้านให้สะอาด ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง ขัดล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ และเปลี่ยนน้ำในแจกันทุกสัปดาห์ 2. เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และนำวัสดุเหลือใช้ไปขายเป็นรายได้เสริม และ 3. เก็บน้ำ ภาชนะใส่น้ำต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ เพื่อป้องกัน 3 โรค คือ 1. โรคไข้เลือดออก 2. โรคติดเชื้อไวรัสซิกา 3. ไข้ปวดข้อยุงลาย อ้างอิงจาก กรมควบคุมโรค matichon.co.th/
10 มกราคม 2562

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save