fbpx

คุยกับคุณแม่น้ำหวานกับวิธีรับมือ COVID-19 ตามแบบฉบับคุณแม่สายฮา

Writer : Lalimay
: 16 มิถุนายน 2563

“บอกเลยว่าคนที่เป็นแม่ช่วงนี้ คือเชิญรับยาช่อง 2” นี่อาจจะเป็นความในใจของคุณพ่อคุณแม่ในช่วงที่ผ่านมา จากการที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้านเพราะสถานการณ์ COVID-19 โดยต้อง Work from Home และเลี้ยงลูกไปพร้อมๆ กัน ถึงแม้ว่าช่วงนี้จะมีการคลายล็อกดาวน์ หลายๆ คนอาจจะกลับมาทำงานตามปกติ แต่เชื่อว่าทุกคนน่าจะยังคิดถึงช่วงเวลาที่แสนสนุกสนาน? ในยามที่ได้เลี้ยงลูกอยู่บ้านแน่นอน

วันนี้เราได้มีโอกาสวิดีโอคอลสัมภาษณ์คุณแม่น้ำหวาน จากเพจ Happy Mommy Diary คุณแม่สายฮาสุดอารมณ์ดีของเด็กชายพีต้าและเพตั้น ที่จะมาเม้าท์มอยช่วงเวลาสุดหรรษารับรองว่าโดนใจคุณพ่อคุณแม่หลายคนแน่นอน บอกเลยว่าสนุกมากกก !!

นี่เป็นเพียง Episode แรกของ Save Family from COVID-19 the Series เท่านั้น หลังจากนี้จะมี Ep อื่นๆ ออกมาอีกเพียบ ฝากติดตามกันด้วยนะคะ

COVID-19 ส่งผลกระทบอะไรต่อคนเป็นแม่บ้าง

คุณแม่น้ำหวาน : มิติของคนเป็นแม่ น้ำหวานเชื่อว่าแม่ได้รับผลกระทบสูงสุดจากเหตุการณ์ครั้งนี้ เพราะว่าตอนที่ลูกไปโรงเรียน ใน 1 วันเราก็จะได้มีเวลาเป็นของตัวเองด้วย พอเกิดเหตุการณ์นี้มันทำให้ชีวิตพลิกเลย จากที่มีเวลาเป็นของตัวเองกลับกลายเป็นว่า 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ คือจะมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มาเรียกเราตลอดเวลา เวลาของเราคือไม่มีอีกต่อไปแล้ว ถามว่าเหนื่อยไหม มันเหนื่อยนะ เอาจริงๆ ในที่เป็นแม่ช่วงนี้ประสาทเขาจะใกล้แ-กทุกคน เชิญรับยาช่อง 2 เพราะว่าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าลูกเราเอาไปโยนให้คนอื่นก็ไม่ได้ เพราะมันคือความรับผิดชอบของพ่อแม่โดยตรงแบบ 100%

 

Work from Home ในสถานการณ์ COVID-19

คุณแม่น้ำหวาน : Work from Home แบบที่ลูกไปโรงเรียนกับ Work from Home แบบที่ลูกไม่ไปโรงเรียนมันก็แตกต่างกันมาก เพราะตอนลูกอนู่โรงเรียนเราก็จะมีเวลาได้ทำงานจริงๆ ถ้าลูกไม่ปิดเทอมอย่างเนี้ย เวลาเราจะคิดงานหรือทำอะไรที่ต้องใช้สมาธิ เราจะต้องการเวลา ต้องการเวลาที่ไม่มีคนมารบกวนระหว่างทาง แต่ช่วงนี้ลูกก็คืออันดับแรกอยู่แล้ว ดังนั้นชีวิตในมิติของการทำงานเราต้องยังทำอยู่เหมือนเดิม แต่ว่าในมิติของลูกมันเปลี่ยนแปลงมาก เพราะเขาไม่มีเวลาว่างให้เราเลย

ได้ทำตารางการใช้ชีวิตประจำวันของลูกไหม

คุณแม่น้ำหวาน : เคยคิดจะทำและไปอ่านเจอของคุณแม่โฮมสคูลคนหนึ่ง ที่เขาบอกว่าเห็นแชร์ตารางกันเยอะ เห็นคนทำตารางประจำวันเยอะ แต่ลองมาฟังแม่โฮมสคูลเลย เขาบอกว่าชีวิตจริงมันทำแบบนั้นไม่ได้ วัยอย่างนี้มันจะแน่นเกินไป มันจะซีเรียสเกินไป แล้วเขาก็จะไม่สามรถทำตามตางรางเหล่านั้นได้ ทำได้ดีที่สุดก็คือทำเป็นหัวข้อๆ ไว้ ว่าวันนี้เราอยากทำอะไรให้สำเร็จบ้าง เช่น วันนี้ต้องอ่านหนังสือภาษาไทยได้ถึงบทที่ 3 ทำเลขได้ถึงบทที่ 1 มีเล่นน้ำ มีเล่นทราย ต้องทำแบบนี้มันถึงจะประสบความสำเร็จได้ ซึ่งน้ำหวานไม่เคยทำเลย เพราะเอาตัวรอดไปวันๆ

แต่น้ำหวานโชคดีตรงที่ด้วยเนื้องานที่ทำ มันทำให้เราสามารถทำกิจกรรมร่วมกับลูกไปด้วยได้ เช่น ชวนลูกทำปาท่องโก๋ ทำขนมครก ชวนทำกับข้าว อะไรทำนองนี้ แต่ว่ามันก็แอบเหนื่อยเหมือนกัน

บอกลูกยังไงให้เขาเข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

คุณแม่น้ำหวาน : โชคดีที่โรงเรียนเขาก็ช่วยสอนได้ส่วนหนึ่ง ว่ามันมีเชื้อโรคข้างนอกนะ เราออกไปข้างนอกไม่ได้ เราก็ต้องอยู่แต่ในบ้าน เขาก็จะเข้าใจนะคะ เพราะฉะนั้นใน 2 เดือนที่ผ่านมา เด็กๆ ก็ยังไม่ได้ออกไปไหนเลย แต่พีต้าล่าสุดเหมือนไปบ้านอาม่า แล้วเห็นข่าว ก็เอามาบอกเราว่า “วันนี้พีต้าเห็นข่าว ว่าสนามบินเขาเปิดแล้วนะหม่าม้า” เหมือนลูกก็อยากออกไปเที่ยว ไปสนามบินอยู่เหมือนกัน

จัดการศึกษาให้ลูกยังไงในช่วง COVID-19

คุณแม่น้ำหวาน : ณ วันนี้น้ำหวานเริ่มคิดว่าลูกไม่ต้องมีการศึกษามากก็ได้ ลูกต้องพัก คือฉันเนี่ยต้องพัก คือเล่าของเพตั้นก่อน คือโรงเรียนเพตั้นเขาเรียนแบบมอนเตสซอรี และช่วงที่ผ่านมาก็คือยังเปิดเทอม เลยก็จะมีเรียนออนไลน์ แล้วเขาก็ให้เราไปรับพวกอุปกรณ์ต่างๆ มาทำที่บ้าน พร้อมกับเรียนออนไลน์ไปด้วย แต่น้ำหวานไม่ได้เข้า เพราะอย่างแรกคือลูกไม่ได้สนใจ และเรารู้สึกว่าการจะให้ลูกนั่งหน้าจอกับการที่เราพาเขาทำกิจกรรมเองมันเหนื่อยน้อยกว่า

และส่วนตัวคิดว่าการทำกิจกรรมเองมันตรงการไลฟ์สไตล์และวัยของลูกมากกว่า สำหรับบ้านเราเลยปรับเป็นว่า อยากเข้าก็เข้า ไม่อยากเข้าเราก็ไม่บังคับ เพราะเราไม่ได้คิดว่ามันคิดสิ่งที่จำเป็นขนาดนั้น

เด็กๆ มีบ่นคิดถึงเพื่อนหรือโรงเรียนไหม

คุณแม่น้ำหวาน : ดราม่าตลอด เวลาถามว่าเด็กๆ คิดถึงโรงเรียนไหม ก็จะบอกกันพร้อมกันว่าคิดถึง แต่ลูกไม่รู้หรอกว่ามีคนที่คิดถึงกว่าลูกเยอะ คือฉัน!! น้ำหวานน้ำตาคลอแล้วอะ คิดถึงโรงเรียนสุดๆ อะ สุดๆๆๆๆ

คิดว่าอนาคตจะเปลี่ยนไปยังไงหลังสถานการณ์นี้ดีขึ้น

คุณแม่น้ำหวาน : คิดว่าก็คงเปลี่ยน แต่ในใจลึกๆ คิดว่าคงเปลี่ยนแต่ไม่ได้ตลอดไป เพราะว่ามนุษญ์เป็นสัตว์สังคม เอาแค่ตัวน้ำหวานเองไม่ได้ไปเดินห้างแค่ 2-3 เดือนก็จะบ้าตายแล้วนะ คือถ้าห้างกลับมาเปิด แล้วโรคมันหมดไปเราก็กลับไปเดินเหมือนเดิม

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เด็กวัยเข้าโรงเรียน เด็กวัยเข้าโรงเรียน
29 กันยายน 2560
ไม่เป็นไร
26 สิงหาคม 2563
ตัวตนของลูก คือทางของลูก
ชีวิตครอบครัว
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save