fbpx

มาเข้าใจอิทธิพลสื่อที่มีต่อเด็กเล็กกับคุณหมอแอม

Writer : OttChan
: 17 กันยายน 2563

ในปัจจุบันสื่อต่างๆ โดยเฉพาะในโซเชียลมีอิทธิพลอย่างมากไม่ว่าจะกับวัยไหนโดยเฉพาะวัยเด็กเล็กที่มักจะได้ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอนานเป็นพิเศษ จะด้วยการส่งมอบจากคุณพ่อคุณแม่หรือการร้องเรียกจะดูเองเพราะติดใจกับความสนุกสนานในการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของภาพที่ปรากฏในจอ

แล้วแบบนี้จะส่งผลอย่างไรบ้างกันนะ กับพัฒนาการร่างกายและพฤติกรรมของพวกเขา

วันนี้ทาง Parents One จึงได้นำสาระดีๆ จากคุณหมอแอม ( แพทย์หญิงพรนิภา ศรีประเสริฐ ) เจ้าของเพจ เรื่องเด็กๆ by หมอแอม ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับ “อิทธิพลสื่อที่มีต่อเด็กเล็ก” ซึ่งรับรองได้เลยว่าจะได้ทั้งความรู้ความเข้าใจ และความเพลิดเพลินในการรับชมแน่นอนค่ะ มาดูด้วยกันเลย

 

ปัญหาโซเชียลคืออะไร

 ปัจจุบันปัญหาโซเชียลเยอะมากเลยค่ะ เพราะว่าเด็กๆ ในยุคปัจจุบัน เขาเป็นเด็กยุค Gen Alpha ใช่ไหมคะ หลายคนคงเคยได้ยินคำศัพท์คำนี้มา เด็กยุคเจนอัลฟ่า คือเด็กยุคใหม่ค่ะซึ่งเขาโตมากับพวกหน้าจอ แท็บเล็ต, สกรีนต่างๆ ปัญหาที่เราเจอบ่อยคือคุณพ่อคุณแม่หลายคนมักจะต้องทำงานกับหน้าจอเช่นเดียวกันแต่บางทีเด็กเขาก็ไม่รู้ ว่าพ่อแม่ทำงานอยู่ พอเห็นก็เข้าใจว่าพ่อแม่เล่นมือถือ

เขาก็เลยเกิดความอยากเล่นมือถือบ้าง หรือบางคน, บางบ้าน พ่อแม่ไม่ได้เลี้ยงเอง และให้คุณตาคุณยาย, คุณปู่คุณย่าช่วยเลี้ยง หลายคนคิดว่าอยากให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีแต่เขายังรู้ไม่เท่าทันสื่อโซเชียลก็เลยหยิบยื่นมือถือให้ลูกก่อนวัยอันควร ทำให้ผลเสียระยะยาวเกิดขึ้นกับเด็กได้

อิทธิพลของสื่อโซเชียลที่มีต่อเด็กคืออะไร

เหตุผลที่สื่อโซเชียลมีอิทธิพลต่อเด็กมีมากมายเลยค่ะ อันดับแรก สื่อโซเชียลหลายตัวเช่น เฟซบุ๊ก, ยูทูปหรือสื่อออนไลน์ต่างๆ แม้แต่ติ๊กต็อก สิ่งเหล่านี้มีจิตวิทยาของเขาที่จะช่วยดึงดูดผู้คนในการให้อยู่กับเขา ดังนั้น เวลาที่เด็กจะดูจอพวกนี้เลยมักจะติดอยู่กับโลกของพวกนั้นนานๆ จนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ค่ะ

การติดสื่อโซเชียลส่งผลกระทบอย่างไร

หมอจะแยกเป็นสองข้อค่ะ อันดับแรกคือเรื่องของ ทางกาย นะคะ อันดับที่สองคือเรื่องของจิตใจและพฤติกรรม เรื่องของทางกายจะมีผลกับเรื่องของสายตาของเด็กได้ อย่างเช่น ถ้าเกิดว่าเราดูเด็กที่ดูโซเชียลนานๆ จ้องจนตาเหล่ อาจจะมีผลเรื่องการมองเห็นของเด็กได้นะคะ ถัดไปคือเรื่องของพัฒนาการที่เห็นได้ชัด คือเรื่องพัฒนาการด้าน การพูดซึ่งเด็กหลายคนมักจะพูดช้า บางคนคิดว่าก็ให้ดูยูทูป, ภาษาอังกฤษ ภาษาต่างชาติไง เห็นไหมเด็กพูดได้มากมายแต่ในความจริง เวลาที่เด็กฝึกพูด เราควรที่จะพูดกับเขาด้วย

เด็กจะเรียนรู้การพูด จากการที่เขาฝึกพูดเอง, ต้องฝึกการใช้ลิ้นถึงจะพูดเป็น

 นอกจากพัฒนาการทางด้านภาษาก็เป็นเรื่องของกล้ามเนื้อมือค่ะ การฝึกกล้ามเนื้อมือของเด็ก เวลาที่เด็กพัฒนาการกล้ามเนื้อมือ เขาจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้ครบทั้งสิบนิ้วแต่ถ้าเด็กเล่นแท็บเล็ตทั้งวัน นิ้วที่ใช้ก็คือนิ้วชี้และอย่างมากคือนิ้วโป้ง สองนิ้วแค่นี้เองค่ะ

ด้านที่สองก็คือจิตใจและพฤติกรรม หลายคนสังเกตเลยว่าเวลาเด็กดูจอ นิ่งมากเลยหมอมีสมาธิดีมากแต่ลองปิดโทรศัพท์ก็จะวิ่งแบบจับไม่อยู่กันเลยทีเดียว เขาเรียกว่า สมาธิสั้นค่ะ และทำไมเด็กจึงสมาธิสั้น? เพราะสมมติในยูทูป หนึ่งนาทีมีม้าวิ่งมายี่สิบกว่าตัว ภาพเคลื่อนไหวเร็วมาก แต่พอปิดหน้าจอกลับมาสู่โลกความเป็นจริง เวลาไปฟาร์มม้า สิบนาที ม้าวิ่งมาหนึ่งตัว ทำให้เด็กรู้สึกอยู่นิ่งไม่ได้ อะไรอะไรมันดูน่าเบื่อ ทำให้รู้สึกทุกอย่างมันเชื่องช้าเลยเป็นเหตุผลให้เด็กเป็นสมาธิสั้นตามมาได้ค่ะ 

ตามด้วยเรื่องพฤติกรรมของเด็กที่หมอเจอคือเรื่องของความก้าวร้าว ส่วนใหญ่เด็กที่ดูโทรศัพท์มักจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวโดยเฉพาะเวลาที่พ่อแม่ปิดโทรศัพท์ บางคนหนักถึงขนาดดึงผมแม่, ตีแม่หรือว่าเขวี้ยงของใส่คุณแม่ที่จำกัดการใช้โทรศัพท์ของเขา ปัญหาเหล่านี้หลายครั้งเกิดขึ้นจากเรื่องของสมาธิสั้นหรืออาจจะเกิดจากพฤติกรรมเลียนแบบที่เด็กเลียนแบบมาจากสื่อโซเชียลได้ค่ะ

เคยเจอสถานการณ์ไหนหนักที่สุดในการดูแลเด็กติดโซเชียล

ส่วนใหญ่ที่หมอเจอ เวลาที่เด็กเข้ามานอนโรงพยาบาล บางทีคุณพ่อคุณแม่ไม่สะดวกมาเฝ้าก็จะให้คุณตาคุณยายมาคอยช่วยเลี้ยง บางทีหมอเข้าไปตรวจและคุณตาคุณยายบอกว่า  “แป๊บนึงนะลูก หมอตรวจแป๊บนึงเดี๋ยวปิดก่อน” หลานเอามือถือเขวี้ยงใส่หัวยายเลยค่ะซึ่งหมอตกใจมาก

เด็กไม่ถึงขวบนะคะ แต่เขาก้าวร้าวรุนแรงแบบนี้เพราะโดนขัดใจจากโซเชียล ดังนั้นอยากจะเน้นเลยนะคะว่าไม่ควรที่จะเอาสื่อหรือโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตให้ลูกดูก่อนวัยอันควรเลยจริงๆ ค่ะ

ก่อนวัยอันควรคืออายุเท่าไหร่ในการใช้สื่อโซเชียล?

ก่อนวัยอันควรคือสองขวบ อายุต่ำกว่าสองขวบ ไม่ควรให้ลูกดูหน้าจอทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นหน้าจอโทรศัพท์, แท็บเล็ตหรือหน้าจอทีวีแต่มีอย่างเดียวที่หน้าจอสามารถใช้ได้ตั้งแต่ยังเล็ก นั่นคือการวิดิโอคอลนั่นเองค่ะ เพราะว่าภาพเคลื่อนไหวมันจะเป็นภาพช้าๆ เป็นการพูดคุยกับคนผ่านหน้าจอโทรศัพท์เฉยๆ

ทำไมต้องรอให้สองขวบจึงใช้ได้?

มีการศึกษาวิจัยมาแล้วว่าก่อนอายุสองขวบ เด็กจะมีปัญหาของการควบคุมตัวเอง ไม่สามารถควบคุมตัวเองไม่ได้เวลาติดแท็บเล็ตหรือหน้าจอ หากติดก็จะติดอยู่แบบนั้น เมื่อถูกเอามือถือออกเขาก็จะไม่สามารถกลับมาสู่โลกความเป็นจริงได้

ป้องกันอย่างไรไม่ให้ลูกติดโซเชียล

วิธีการป้องกันเลยนะคะ คือการจำกัดการเล่น หรือก่อนที่เราจะยื่นโซเชียลให้เขา เราต้องมั่นใจก่อนว่าเขาควบคุมตัวเองได้แล้ว สองขวบนะคะ อย่างที่หมอบอกไป

หากลูกติดไปแล้วจะมีทางไหนดึงกลับมาได้บ้าง

เด็กที่ติดไปแล้วนะคะ แบ่งก่อนว่าเป็นเด็กเล็กหรือเด็กโตค่ะ ถ้าเด็กเล็กหมายถึงคนที่ยังไม่สามารถโต้เถียงกับเราได้ เป็นโอกาสของเราที่จะจำกัดการเล่นของลูกแต่แน่นอนว่าเด็กจะต้องอาละวาด ก่อนที่เราจะเลิกหน้าจอให้เด็กเราต้องคุยกับคนในบ้านก่อนว่าเรากำลังจะปรับพฤติกรรมเขา และที่สำคัญคือทำตัวเป็นแท็บเล็ตตัวเป็นๆ ให้เขาแทน สมมติลูกติดเพลงดิสนีย์ก็ร้องเพลงให้ฟังไปเลยค่ะ

ส่วนในกลุ่มเด็กโตคือกลุ่มที่สามารถเถียงพ่อแม่ได้แล้วนั่นเอง แน่นอนว่าถ้าเราไปดึงแท็บเล็ตมาจากเขา เขาต้องเถียงเรา ดังนั้นควรที่จะต้องหาข้อตกลงร่วมกันกับลูกแต่ต้องตั้งข้อแม้ให้เขาด้วยว่าควรที่จะทำกิจวัตรประจำวันหรือทำการบ้านให้เสร็จก่อนที่จะเล่น และถ้าเกิดจำกัดเวลาได้ ก็ค่อยชมเชยเขาทีหลังค่ะ

มีอะไรอยากฝากถึงคุณพ่อคุณแม่บ้าง

เด็กถึงติดโซเชียลเกิดจากการที่พ่อแม่ไม่มีเวลาให้กับเขา ทำให้เขาต้องมาหาโลกที่เล่นกับเขาแทนนั่นก็คือโลกในโซเชียล หมออยากจะฝากว่าการปรับพฤติกรรมของลูกหรือการสอนลูก, การอยู่ร่วมกับเขา ไม่มีคำว่าสายเกินไปค่ะ

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด ดีกว่าวันข้างหน้าเราต้องมานั่งเสียใจนะคะเพราะวัยเด็กของลูกอยู่กับเราแค่ไม่นานค่ะ

สนับสนุนโดย : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
4 พฤศจิกายน 2563
Update
Banner Banner
Live Action เรื่องล่าสุดจาก Disney ที่หลายๆคนรอคอยไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เคยรับชมการ์ตูนในวัยหวานหรือแม้แต่คุณน้องคุณหนูที่หลงรักโลกใต้ท้องทะเลก็ตาม ใช่แล้วล่ะค่ะ เรากำลังพูดถึง “The Little Mermaid” หรือ “เงือกน้อยผจญภัย” ที่หยิบยกกลับมาทำใหม่ในเวอร์ชันคนแสดงในปีนี้ โดยมีนักร้องสาว “ฮัลลี เบลลีย์” รับบทนางเงือกน้อย “แอเรียล” พร้อมเป็นตัวแทนส่งเสียงบอกกับเด็กหญิงชายทั่วโลกว่า “ใครก็เป็นเจ้าหญิงได้”  หยิบกลับมาทำใหม่ ตีความใหม่ในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนแบบนี้ ใครๆ ก็ต้องตื่นเต้นอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อย ข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสำหรับเด็กๆ หรือไม่ ลองไปดูกันเลย! เรื่องราวของนางเงือกน้อยแสนซน “แอเรียล” ธิดาคนสุดท้องของราชาไตรตันเจ้าแห่งโลกใต้สมุทรเธอมีความหลงใหลในโลกมนุษย์และใฝ่ฝันว่าอยากจะเดินเหินอย่างผู้คนบนดินแม้พ่อจะพยายามกีดกันเธอเท่าไรก็ตาม วันหนึ่งเธอบังเอิญได้พบกับ “เจ้าชายอีริค” และตกหลุมรักเขาเข้าอย่างจัง เธอจึงได้ทำข้อตกลงกับแม่มดทะเล “เออซูลาร์” เพื่อแลกเสียงอันไพเราะกับขาอย่างมนุษย์โดยมีข้อแม้ว่าเธอจะต้องได้รับจุมพิตจากเจ้าชายไม่เช่นนั้นเธอจะกลับมาเป็นเงือกและกลายเป็นทาสของเออซูลาร์ตลอดไปการออกเดินทางทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจเพื่อใช้ชีวิตอย่างที่ฝันจึงได้เริ่มต้นขึ้น เติมเต็มหัวใจที่ยังเปี่ยมไปด้วยความทรงจำของวัยเยาว์ ส่งต่อความกล้าหาญให้หนูน้อยเชื่อมั่นในตัวเอง และสิ่งที่ฝัน จูงมือลูกรักไปดู “The Little Mermaid” ได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์! ชมตัวอย่าง : https://www.youtube.com/watch?v=AS0vop2rgFo การ์ตูนเรื่องนี้เหมาะกับเด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป แม้จะมีเค้าโครงเรื่องหลักๆ มาจากการ์ตูนเงือกน้อยแอเรียลแบบต้นฉบับทั้งหมด แต่พอมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ทวีคูณความจริงจังให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมพื้นเพตัวละคร เสริมเนื้อเรื่องเพิ่มประเด็นให้มีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม จึงบอกได้ว่าเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยเหมาะกับเด็กเล็กๆ เท่าไร ถึงอย่างนั้นเด็กๆก็ยังสามารถสนุกสนานกับกลิ่นอายของเทพนิยายชวนฝันเพลิดเพลินกับภาพบรรยากาศโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงามสุดแสนจะแฟนตาซี รับประกันว่ากระตุ้นจินตนาการเรียกความตื่นตาตื่นใจจากเจ้าตัวน้อยแน่นอน เรื่องที่ต้องระวัง มีความรุนแรงและฉากน่ากลัว อย่างที่บอกไปว่า Live Action เวอร์ชันนี้ มีความดาร์ก ความสมจริงเพิ่มเข้ามา เรื่องความรุนแรงต่างๆ ฉากต่อสู้ ฉากปะทะ หรือหน้าตาของเหล่าสัตว์ร้ายใต้ทะเล อาจทำให้เด็กๆ ไม่สบายใจ หรือตื่นกลัวได้ แถมยังมีจังหวะตกใจ (Jump…
25 พฤษภาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save