มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Journal of Applied Developmental Psychology เผยว่าเด็กที่พูดได้น้อย มีแนวโน้มที่จะมีอารมณ์อารมณ์เสียง่ายและรุนแรงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน ที่มีทักษะภาษาอยู่ในเกณฑ์ปกติ
โดยงานวิจัยนี้ได้มีการสำรวจผู้ปกครองจากทั่วประเทศมากกว่า 2,000 คนที่มีลูกเล็กอายุตั้งแต่ 12-38 เดือน เพื่อเก็บผลสำรวจจากการตอบคำถาม ในเรื่องของพัฒนาการทางภาษาและพฤติกรรมทางอารมณ์ของลูกในแง่ของความฉุนเฉียว
ผลสำรวจออกมาว่า เด็กที่พูดได้ต่ำกว่า 50 คำ หรือไม่สามารถประสมคำได้ภายในอายุ 2 ปี จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม “เด็กพูดช้า” โดยเด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มมีอารมณ์ฉุนเฉียวรุนแรง และบ่อยกว่าเด็กที่มีทักษะภาษาระดับปกติในอัตราเกือบ 2 เท่า
ซึ่งความรู้สึกหงุดหงิดง่ายและทักษะทางภาษาที่ล่าช้า นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความผิดปกติทางภาษาและการเรียนรู้ในภายหลัง เด็กที่พูดช้าราว 40% จะมีปัญหาทางภาษาเรื้อรัง ที่อาจกระทบความสามารถทางวิชาการของเด็กได้
อ้างอิงจาก