fbpx

PM 2.5 ฝุ่นร้ายใกล้ตัว ละอองฝุ่นอันตราย ทำร้ายหนูน้อยได้อย่างไรบ้าง

Writer : Jicko
: 29 มกราคม 2562

คุณพ่อคุณแม่หลายคนเริ่มกังวลใจกับฝุ่นควันยอดฮิต อย่างเจ้าฝุ่น PM 2.5 ซึ่งช่วงนี้เวลาเดินไปไหนมาไหนมักจะเจอผู้คนที่ใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นเสมอ

ซึ่งความรุนแรงของ ฝุ่น PM 2.5 นี้มีอันตรายโดยเฉพาะเด็กๆ เพราะมันสามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย และทำลายระบบต่างๆ ได้ วันนี้ทาง parentsone จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับ ฝุ่น PM 2.5  ว่าสามารถทำลายร่างกายของเด็กๆ ได้อย่างไรบ้าง มาฝากคุณพ่อคุณแม่กัน ไปดูกันเลยค่ะ

ฝุ่นละออง PM 2.5 คือฝุ่นขนาดเล็ก มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 25 เท่า ทำให้สูดเข้าไปในร่างกายได้โดยตรงนั้นเองค่ะ  โดยเด็กเล็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีหรือนักเรียนชั้นอนุบาล ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นวัยที่ระบบทางเดินหายใจและภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้เจ้าฝุ่นหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปยังปอดส่วนลึกได้เร็วและง่ายกว่าผู้ใหญ่นั้นเองค่ะ

ผลกระทบที่เด็กได้รับจาก ฝุ่น PM 2.5 มีดังนี้

  • ในระยะเฉียบพลันอาจจะทำให้เด็กๆ มีอาการแสบจมูก แสบตา ตาแดง และเป็นไข้ได้
  • หากเด็กๆ มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่นหอบหืด ภูมิแพ้ ก็จะทำให้เด็กๆ มีอาการกำเริบได้มากกว่าเด็กปกติ เช่น ภูมิแพ้กำเริบ หายใจเร็วเฉียบพลัน แน่หน้าอก มีน้ำมูก จาม ไอ  ทำให้เด็กๆ มีอาการติดเชื้อรุนแรงมากกว่าปกติได้นั้นเองค่ะ
  • ทำให้เด็กมีสมรรถภาพปอดลดลง และในระยะยาวอาจจะเสี่ยงต่อการเป็นภูมิแพ้หรือมะเร็งปอดได้ด้วยค่ะ
  • หากมีการสะสมฝุ่นที่ต่อเนื่อง จะทำให้สติปัญญาหรือสมาธิของเด็กๆ ลดลง และส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กๆ ได้ด้วย เนื่องจากฝุ่นมีขนาดเล็ก ทำให้ถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดไปสู่ระบบประสาทและสมองได้นั้นเองค่ะ
  • ด้วยอนุภาคที่เล็กมากๆ ของผฝุ่น PM 2.5  ซึ่งมีสารประกอบด้วยคาร์บอนที่มีคุณสมบัติละลายในน้ำมัน จึงสามารถเข้าไปยังเซลล์ผิวหนังได้ ทำให้เป็นโรคผิวหนังได้ ซึ่งเจ้าฝุ่นตัวนี้จะทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับผิวหนัง ทำให้เกิดริ้วรอย ผิวหมองคล้ำ ทำให้เกิดจุดด่างดำ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค ผิวหนังอักเสบ และโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังนั้นเองค่ะ

วิธีป้องกันจากฝุ่น PM 2.5

  • สวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 เพราะสามารถปกปิดได้เป็นอย่างดี ซึ่งหาซื้อได้ตามร้ายขายยาหรือห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป
  • หลีกเลี่ยงการออกนอกอาคารหากไม่จำเป็น
  • ดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ
  • ล้างมือและหน้าบ่อยๆ ก็ช่วยได้นะคะ
  • รักษาความสะอาดของที่อยู่อาศัยเสมอๆ

 

อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่พบอาการติดเชื้อ เช่น มีไข้ ไอ แน่นหน้าอก หายใจเร็ว หรือกรณีที่รุนแรงควรพาเด็กๆ ออกจากบริเวณที่มีฝุ่น และควรพาไปพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกายโดยทันทีนั้นเองค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : bugaboo, thaiPBS

 

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เตรียมตัวเป็นแม่ เตรียมตัวเป็นแม่
26 พฤศจิกายน 2561
วิธีการสอนให้ลูกรับมือกับความผิดหวัง
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save