ทุกวันนี้เราเห็นข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวและในสังคมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งครอบครัวถือเป็นรากฐานสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ โดยเฉพาะคุณพ่อคือผู้ที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ เพราะลักษณะนิสัยดีๆ และความอ่อนโยนของพ่อ ย่อมสร้างความรักความผูกพันให้เกิดขึ้นในครอบครัวที่จะช่วยเป็นภูมิคุ้มกันป้องกันความรุนแรงได้
โดยนาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต แนะนำให้นึกถึงคำว่า FATHER เป็นหลักในการปฏิบัติต่อกันและกันของคนในครอบครัว ได้แก่
- F : Firm คือ ความหนักแน่นมั่นคงทั้งทางอารมณ์และความคิดที่มีความชัดเจนสม่ำเสมอ
- A : Appreciative คือ ชื่นชมยินดีกับลูก เมื่อลูกทำในสิ่งที่ดีงาม แสดงออกด้วยรอยยิ้ม หัวเราะ ปรบมือและโอบกอด เพราะจะส่งผลดีต่อบุคลิกภาพ ทำให้ลูกมีความเชื่อมั่นและรู้ถึงคุณค่าในตนเอง
- T : Tender คือ การแสดงความรักอย่างนุ่มนวล สัมผัสโอบกอด พูดจาต่อกันด้วยความสุภาพ สร้างความรัก ความผูกพันและบรรยากาศดีๆ ให้เกิดขึ้น
- H : Honest คือ ความซื่อสัตย์ จริงใจ จริงใจให้ลูกเห็น เช่น ซื่อสัตย์และจริงใจกับแม่ของลูก รักและดูแลกัน ให้เกียรติและยกย่องกันและกัน เป็นต้น
- E : Encouraging คือ การให้กำลังใจและส่งเสริมให้ลูกทำในสิ่งที่เขาอยากทำด้วยความเต็มใจ ส่งเสริมให้ลูกมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ และให้กำลังใจในยามที่ลูกท้อแท้
- R : Responsible คือ ความรับผิดชอบ ทั้งในหน้าที่การงานและชีวิตครอบครัว เป็นแบบอยู่ที่ดีแก่ลูกในทุกๆ ด้าน
โดยการสอนที่ให้ผลดีที่สุด คือ ต้องทำให้ดูเป็นแบบอย่าง ไม่ใช่แค่เพียงคำพูด
ด้าน พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล กล่าวเสริมว่า การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว พ่อแม่ควรมีความรักเป็นพื้นฐาน เป็นต้นแบบให้แก่ลูกในการแก้ปัญหาด้วยความใจเย็น และมีเหตุผล และไม่ควรใช้ความรุนแรงกับลูก เพราะการใช้ความรุนแรงในครอบครัว จะทำให้เด็กคิดว่าความรุนแรงคือทางแก้ปัญหา และโตมาเป็นคนที่ใช้ความรุนแรงในอนาคตได้
อ้างอิงจาก