fbpx

4 ทักษะพื้นฐานการอ่านเขียนของเด็กวัย 3-6 ขวบ ฝึกอย่างไรถึงทำให้ลูกอ่านเขียนได้ดี

Writer : Lalimay
: 14 กันยายน 2561

การที่ลูกจะสามารถอ่านเขียนได้ดี ไม่ใช่เกิดจากแค่การท่องจำหรือคัดตามแบบตัวอักษรได้อย่างที่พ่อแม่เข้าใจ แต่จะต้องเกิดจากทักษะหลายด้าน ซึ่งทักษะเหล่านี้จะช่วยให้เด็กอ่านเขียนได้ง่ายขึ้น โดยเราสามารถฝึกทักษะพื้นฐานทั้ง 4 ด้านให้แก่ลูกได้ตั้งแต่วัย 3-6 ขวบ เพื่อเป็นรากฐานทางด้านการอ่านเขียนให้แก่เขาค่ะ

1. สามารถแยกแยะส่วนประกอบในเสียงของคำ (Phonological awareness)

เด็กจะอ่านหรือเขียนได้ต้องเข้าใจก่อนว่าแต่ละคำในภาษาพูดจะประกอบด้วยเสียงย่อยหลายเสียงมารวมกัน และเมื่อกลายเป็นภาษาเขียน เสียงย่อยเหล่านั้นก็จะถูกแทนที่ด้วยตัวอักษรเฉพาะ เช่น “จาน” ประกอบด้วยเสียง /จ/ – /า/ – /น/

เราสามารถฝึกให้ลูกแยกแยะส่วนประกอบของเสียงในคำได้ด้วย

  • การอ่านหนังสือหรือท่องกลอนที่มีคำคล้องจองกับลูก เช่น “ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ” เพราะเมื่อลูกฟังบ่อยๆ เขาก็จะเข้าใจว่าคำที่คล้องจองกัน มีหน่วยเสียงย่อยคล้ายกัน
  • ฝึกแยกแยะพยางค์ เช่น เล่นตบมือ เท่ากับจำนวนพยางค์ของคำ
  • ฝึกให้ลูกรู้จักแยกเสียงต้นของคำ เช่น ให้ลูกดูรูป “ไก่ แก้ว หมา” แล้วให้เลือกรูปที่ออกเสียงต้นเหมือนกัน คือ “ไก่ และ แก้ว” หรือให้ลูกบอกคำที่ขึ้นต้นด้วยเสียง “ม” คำตอบก็จะเป็นประมาณ “มี มา ม้า แมว”

2. รู้จักตัวอักษร (alphabetic) และการใช้ตัวอักษรแทนเสียง (phonic)

การรู้จักตัวอักษรและรู้ว่าตัวอักษรนั้นแทนเสียงอะไร เป็นสิ่งที่เด็กจะต้องรู้ก่อนจะอ่านเขียนได้ เช่น “ม” แทนเสียง /ม/ หรือ ศ, ษ, ส แทนเสียง /ส/ หลังจากนั้นเด็กจะต้องเรียนรู้ที่จะนำตัวอักษรแต่ละตัวมาแทนที่เสียงย่อยแต่ละเสียงในคำ เช่น ถ้าจะอ่านคำว่า “ปาก” จะต้องรู้ว่า ตัวอักษร “ป” แทนเสียง “ปอ” สระ “า” แทนเสียง “อา” และ “ก” แทนเสียง “กอ” เมื่อเอาเสียงมารวมกัน “ปอ-อา-กอ” ก็จะอ่านเป็นคำว่า “ปาก” ได้

เราสามารถฝึกให้ลูกรู้จักตัวอักษรและการใช้ตัวอักษรแทนเสียงได้ด้วย

  • ฝึกให้เชื่อมโยงระหว่างตัวอักษรกับเสียงตัวอักษร เช่น จับคู่ตัวอักษรกับภาพ เช่น ข-รูปไข่ ป-รูปปลา จากนั้นอาจให้ลูกลองหารูปภาพอื่นๆ ที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะที่กำหนด
  • ฝึกฟังและแยกเสียงตัวอักษรด้วยการ บอกให้ลูกหยิบตัวอักษรโดยบอกแต่เสียงของตัวอักษรนั้น เช่น หยิบตัว “ก” โดยไม่ต้องบอกว่า “ก-ไก่”
  • ฝึกประสมคำง่ายๆ เริ่มจากการใช้สระเดียวแต่เปลี่ยนพยัญชนะไปเรื่อยๆ เช่น นา มา กา หา แล้วค่อยๆ เพิ่อมสระไปทีละตัว จากนั้นให้ลูกประสมคำสลับกันไป เช่น ตา ดู ปู นา

3. รู้จักความหมายของคำศัพท์

การที่จะอ่านเขียนได้ดี ต้องรู้จักว่าคำๆ นี้มีความหมายว่าอะไร เพราะถ้าไม่รู้จักความหมายก็ย่อมไม่เข้าใจว่าสิ่งที่พูดถึงคืออะไร และจะต้องมีคลังคำศัพท์อยู่พอสมควร โดยเฉลี่ย เด็กวัยนี้จะเรียนรู้คำศัพท์ประมาณ 3.5 คำต่อวัน

เราสามารถฝึกให้ลูกรู้จักความหมายของคำศัพท์ได้ด้วย

  • สอนในชีวิตประจำวัน โดยให้เด็กได้เห็นของจริง เช่น พาไปตลาด ก็สอนคำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งที่พบ หรือให้ลูกเข้าครัว ก็สอนคำศัพท์ที่ใช้ในงานครัว
  • อ่านนิทานให้ลูกฟังอยู่เสมอ เพราะการอ่านนิทานจะเป็นการช่วยเพิ่มคลังศัพท์ เด็กจะได้รู้จักคำใหม่ๆ ที่ไม่ได้เจอในชีวิตประจำวัน เช่น หิมะ มังกร เจ้าหญิง โดยเราจะต้องชี้ภาพประกอบเพื่อให้ลูกจดจำคำศัพท์นั้นได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงชี้ตามตัวอักษรขณะที่อ่านก็จะทำให้เด็กได้ใช้ทักษะรู้จักตัวอักษรไปด้วย

4. สามารถจับใจความได้

การจับใจความเป็นพื้นฐานของทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน การที่เด็กจับใจความได้ดีก็ย่อมเข้าใจเรื่องราวที่อ่านได้ดีกว่า รวมทั้งเขียนบรรยายได้ดีกว่าด้วย

เราสามารถฝึกให้ลูกจับใจความได้ด้วย

  • ลองให้ลูกเล่าเรื่องเหตุการณ์ต่างๆ เช่น วันนี้ที่ไปเที่ยวกันเป็นยังไงบ้าง การเล่าเรื่องเป็นพื้นฐานของการจับใจความ เพราะจะฝึกให้เด็กเรียบเรียงความคิดและสรุปมาเป็นคำพูด ถ้าลูกยังเล่าไม่เป็น เราควรสอนให้ลูกเริ่มเล่าจากใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร
  • ให้เด็กจับใจความจากนิทานที่ได้ฟัง เมื่อเล่าจบแต่ละส่วนก็ลองให้ลูกจับใจความและสรุปว่ามีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้นบ้าง

เด็กแต่ละคนมีทักษะในการเรียนรู้ตัวอักษรไม่เท่ากัน ดังนั้นการฝึกกิจกรรมเหล่านี้ให้ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัว ยิ่งทำให้การฝึกเป็นเรื่องสนุกลูกก็ยิ่งเรียนรู้ได้ดี แต่อย่าไปกดดันว่าลูกต้องทำได้ อย่าไปเปรียบเทียบหรือเร่งรัดลูก ค่อยๆ ฝึกฝนไปเดี๋ยวลูกก็จะทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save