fbpx

7 ท่า "เคาะปอด" ช่วยลดอาการไอ ขับเสมหะให้ลูกน้อย

Writer : Jicko
: 23 ธันวาคม 2562

คุณพ่อคุณแม่เคยเป็นไหมคะ เวลาที่ลูกน้อยไม่สบาย มีอาการไอ และมีเสมหะ เราเองก็ทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยลูกให้เอาเสมหะนั้นออกมา โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ ที่ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สั่งน้ำมูกก็ยังไม่ได้ ทำให้เสมหะที่ออกมานั้นยังค้างอยู่ ซึ่งวันนี้ Parentsone จึงอยากจะมาแนะนำวิธีที่เรียกว่า “การเคาะปอด” ที่จะช่วยให้ทางเดินหายใจของลูกน้อยได้ระบายเสมหะออกมา จะมีวิธียังไงบ้าง ไปดูกันเลย

เรามาทำความรู้จักกับการเคาะปอดกันก่อนว่าเป็นยังไง

การเคาะปอดก็คือ การใช้แรงสั่นจากลมที่กระทบผนังทรวงอกขณะเคาะ ไปทำให้เสมหะที่เกาะอยู่บริเวณต่างๆ ของทางเดินหายใจค่อยๆ หลุดออกและไหลออกมาได้ง่ายขึ้น เป็นเทคนิคการรักษาอย่างหนึ่ง ที่จะมีการจัดท่าทางของเด็กในท่าต่างๆ ให้เหมาะสมและทำการเคาะบริเวณทรวงอกนั้นเอง

 

เมื่อไหร่ที่ลูกควรจะต้องเคาะปอด

  • ไอ มีเสมหะมาก หายใจเสียงดังครืดคราด
  • มีเสมหะคั่งค้างในหลอดลมมาก
  • เด็กที่ยังไม่สามารถระบายเสมหะได้ด้วยตนเอง
  • เด็กที่ป่วย เช่น ป่วยเรื้อรังมีเสมหะคั่งค้าง ปวดหลังผ่าตัด ภาวะปอดแฟบเนื่องจากการอุดตันของเสมหะ เป็นต้น

 

วิธีการเคาะปอดให้ลูกน้อยที่ถูกต้อง

1.จัดท่าทางให้ลูก โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อให้เสมหะไหลออกจากหลอดลมเล้กส่วนปลายเข้าสู่หลอดลมใหญ่ตรงกลาง เมื่อเด็กไอเสมหะจะถูกขับออกมาได้มากขึ้น

2.ไม่ควรใช้ฝ่ามือในการเคาะ แต่ควรทำมือให้เป็นลักษณะคุ้มๆ นิ้วชิดกัน เรียกว่า “Cupped hand” เคาะบริเวณทรวงอกส่วนที่ต้องการระบายเสมหะนั้นเอง

3.ใช้ผ้ารองบนส่วนที่จะเคาะ

4.ควรใช้เวลาประมาณ 1 – 3 นาทีี หรือนานกว่านั้นถ้าหากมีเสมหะมากอยู่

5.ขณะเคาะหากเด็กไอ ควรใช้การสั่นสะเทือนช่วย โดยการใช้มือวางราบ พร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและหัวไหล่ทำให้มือสั่น ในระหว่างที่กำลังไอหรือช่วงที่เด็กหายใจออก

6.ฝึกการไอ โดยการให้เด็กหายใจเข้าช้าๆ ให้เต็ม แล้วกลั้นไว้ครู่หนึ่ง และไอออกมาโดยเร็วแรง ซึ่งจะสามารถทำได้เฉพาะเด็กที่รู้เรื่อง และสามารถทำตามคำสั่งต่างๆ ของพ่อแม่ได้นะคะ

7.ควรทำการเคาะ ก่อนมื้ออาหารหรือนม หรืออย่างน้อย 2 ชั่วโมง หลังอาหาร เพื่อไม่ให้เด็กๆ สำลักและอาเจียน

 

7 ท่าเคาะปอดมีอะไรบ้าง

  • ท่าที่ 1 : ปอดกลีบซ้ายบนส่วนยอด

โดยการจัดให้เด็กอยู่ในท่านั่งเอนตัวมาข้างหลังเล็กน้อย หรือประมาณ 30 องศา ให้คุณพ่อคุณแม่เคาะด้านบนเหนือทรวงอกด้านซ้าย ตรงระหว่างไหปลาร้าและกระดูกสะบัก

  • ท่าที่ 2 : ปอดกลีบซ้ายบนด้านหลัง

โดยการจัดท่านั่งให้เด็กนั่งคร่อมตัวมาทางด้านหน้าเล็กน้อย ประมาณ 30 องศา บนแขนของผู้ปกครองหรือผู้ให้การบำบัด จากนั้นเคาะบริเวณด้านหลังตอนบนเหนือกระดูกสะบัก ระหว่างกระดูกต้นคอและหัวไหล่

  • ท่าที่ 3 : ปอดกลีบซ้ายบนด้านหน้า

โดยการจัดท่านั่งให้เด็กนอนหงายราบ แล้วเคาะบริเวณเหนือราวนมต่ำจากกระดูกไห้ปลาร้าเล็กน้อย

  • ท่าที่ 4 : ปอดกลีบซ้ายส่วนกลาง

โดยการจัดท่าให้ศีรษะต่ำลงประมาณ 15 องศา และตะแคงด้านซ้ายขึ้นประมาณ 1 ส่วน 4 จากแนวราบ และเคาะบริเวณราวนมด้านซ้าย

  • ท่าที่ 5 : ปลอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านหน้า

โดยการจัดให้เด็กนอนตะแคงกึ่งคว่ำ โดยให้ศีรษะ 30 องศา แล้วประคองทรวงอกบริเวณชายโครงด้านซ้ายหงายขึ้นมาเล็กน้อย เคาะบริเวณเหนือชายโครงด้านข้างตอนหน้าต่ำจากราวนมลงมาเล็กน้อย

  • ท่าที่ 6 : ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านข้าง

โดยการจัดศีรษะให้เด็กต่ำ หรือประมาณ 30 องศา และนอนตะแคงเกือบค่ำ จากนั้นเคาะบริเวณด้านข้างเหนือชายโครงระดับเดียวกับท่าที่ 5 ใต้ต่อรักแร้ของเด็กนั้นเอง

  • ท่าที่ 7 : ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนหลัง

โดยการจัดศีรษะของเด็กให้ต่ำ ประมาณ 30 องศา และนอนคว่ำ จากนั้นเคาะบริเวณด้านหลังต่ำจากกระดูกสะบักลงมาในระดับเดียวกับชายโครงด้านหน้า

ข้อแนะนำในการเคาะปอดในลูกน้อย

  • การเคาะปอดสามารถทำได้ทั้งในเด็กเล็ก และเด็กโตเลย
  • ในการเคาะปอดแต่ละครั้ง ควรเคาะให้เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือน ใช้แรงพอดี ไม่เบาเกินไป และไม่แรงจนเกินไปนั้นเอง
  • แนะนำให้ทำก่อนหรือหลังอาหาร อย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง ไม่ควรเคาะปอดหลังรับประทานอาหารทันที
  • เมื่อไหร่ที่เด็กเร่ิมร้องไห้ งอแง มากกว่าปกติ ควรหยุดการเคาะปอดทันที
  • หากยังไม่เชี่ยวชาญ ควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือนักบำบัด ก่อนการเคาะให้เด็ก
  • หากเด็กมีอาการหอบให้หยุดทันที จะสังเกตได้จาก อาการเหนื่อยมากขึ้น ริมฝีปากซีดคล้ำ หายใจจมูกบาน ให้หยุดการเคาะปอด
  • หากเด็กมีอาการหรือโรคเกี่ยวกับหัวใจ กระดูก หลอดเลือด ปอดบวมน้ำ ห้ามทำเด็กขาด
  • นอกจากการเคาะปอดแล้ว พ่อแม่อาจจะใช้วิธีอื่นช่วยได้ เช่น การดื่มน้ำอุ่น หรือ ให้ยาแก้ไอ ละลายเสมหะ หากมีอาการไอร่วมด้วย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : Gedgoodilife, Amarinbabyandkids

 

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save