fbpx

คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ อวัยวะใดของลูกไม่ควรจับ! เมื่อลูกเริ่มโต

Writer : OttChan
: 29 ตุลาคม 2564

จากประเด็นล่าสุดที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันว่า เราสามารถกอดหอมหรือแสดงความรักต่อลูกแบบไหนที่เหมาะสมที่สุด

บ้างก็บอกว่าการแสดงความรักด้วยการลูบ, หอม, จับเป็นการกระทำที่ปกติไม่ว่าเด็กจะอายุเท่าไหร่

บ้างก็บอกว่า แม้แต่การหอมเองก็เป็นสิ่งที่ไม่สมควรเมื่อลูกของเราเริ่มโตเป็นวัยรุ่น

ซึ่งทุกความคิดนั้นจะไม่เป็นไรหากเราอยู่ในขอบเขตของการเคารพการตัดสินใจและการสงวนร่างกายต่างๆ ของตัวเด็กเองค่ะ เพราะเขาคือเจ้าของร่างกาย เขามีสิทธิ์ทุกอย่างที่จะดูแล และหวงแหนร่างกายของตน

ดังนั้นบทความนี้จึงน่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ยังสับสนว่า การแสดงความรักแบบไหนถึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องสำหรับการแสดงความรักกับลูกหลานในบ้านค่ะ มาเริ่มกันที่เรื่องราวของสิทธิ์ในร่างกายเด็กตามอายุกันเลยว่าในช่วงอายุไหน เราสามารถสัมผัสได้มากหรือน้อยเท่าใด

การสัมผัสแบบไหน คือการสัมผัสที่ไม่ดี และไม่ให้เกียรติลูกของเรา

  • สัมผัสที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด
  • สัมผัสที่สร้างความรู้สึกไม่ดี ขยะแขยง
  • สัมผัสภายใต้เสื้อผ้า หรือจั๊กจี้ใต้เสื้อผ้า
  • สัมผัสในจุดที่ทำให้รู้สึกประหม่า และหวาดกลัว อย่างอวัยวะเพศหรือจุดสงวนในร่างกาย
  • สัมผัสและมีการกำชับว่าห้ามบอกใคร หรือพยายามบอกว่าสิ่งที่ทำอยู่เป็นเรื่องปกติ
  • สัมผัสโดยไม่ขออนุญาต
  • สัมผัสและข่มขู่ว่าหากไม่ยอมจะทำร้ายร่างกาย หรือดุด่าเพื่อให้ยอม

อายุต่ำกว่า 2 ขวบ

ยังสามารถจับส่วนต่างๆ ของร่างกายลูกได้เพื่อสำรวจเกี่ยวกับความเจ็บปวดร่างกายของลูกได้, รวมถึงทำความสะอาดในส่วนต่างๆ เพราะเด็กยังไม่สามารถทำความสะอาดเองได้ถึง

ข้อแนะนำในการสัมผัสอย่างเหมาะสม

จับอวัยวะเพศ หรือจุดสงวนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากไม่มีเหตุจำเป็นอย่างการต้องช่วยล้างหลังการเข้าห้องน้ำหรืออาบน้ำ ไม่ควรจับต้องเลยไม่ว่าเวลาใด

แนะนำและสอนลูกอยู่เสมอว่าไม่ควรให้ใครคนอื่นจับจุดสงวนต่างๆ ของตน และรู้จักที่จะร้องบอกเมื่อถูกสัมผัสโดยไม่ยินยอมเพื่อให้พ่อแม่รับรู้

อายุ 3-5 ขวบ

เป็นวัยที่ต้องเรียนรู้แล้วว่าส่วนไหนในร่างกายของตัวเด็กที่ควรถูกสัมผัสหรือไม่ควรถูกสัมผัสซึ่งในแต่ละส่วนเองนั้นก็มีความจำเป็น และอ่อนไหวที่แตกต่างกันออกไป เป็นสิ่งที่เราต้องถามความสมัครใจของเขาก่อนเสมอที่ะจับ รวมไปถึงจุดที่ไม่ควรเลยในการสัมผัส ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี่

โซนสีชมพู คือโซนที่ไม่ควรแตะต้องอย่างมาก ยกเว้นการพาไปพบแพทย์หรือมีปัญหาสุขภาพ

โซนสีส้ม คือโซน ควรได้รับความยินยอมจากตัวลูกก่อนว่า เขายินยอมจะให้จับหรือไม่ เพราะบางครั้ง อาจเป็นส่วนที่เขาไม่ชอบให้ลูบให้จับ หรือรู้สึกไม่ปลอดภัยได้เมื่อถูกสัมผัส

โซนสีฟ้า คือโซนที่สามารถจับได้ไม่เป็นไร เพราะเป็นส่วนนอกร่มผ้า และสร้างความมั่นใจและอุ่นใจได้ในหลายๆ สถานการณ์

ข้อแนะนำในการสัมผัสอย่างเหมาะสม

เพราะทุกการกระทำของพ่อแม่และคนรอบตัวสามารถสร้างปมหรือความรู้สึกต่างๆ ให้เด็กได้โดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นก่อนจะจับส่วนไหนของลูก การถามเพื่อขออนุญาตก่อนจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก ไม่ใช่ว่าเพราะเป็นพ่อแม่จึงมีสิทธิ์ แต่เพราะเป็นพ่อแม่นี่แหละ เราจึงต้องยิ่งให้เกียรติลูกหรือคนสำคัญที่สุดในชีวิตของเราให้ดีกว่าที่ใครๆ ก่อนการกระทำกับเขา

 

อายุ 6-8 ขวบ

เป็นวัยที่เริ่มรู้เรื่อง และมีโลกส่วนตัวแล้วเพราะอีกไม่กี่ปี เขาก็จะก้าวเข้าสู่การเป็นวัยรุ่น ดังนั้นการจับต้องร่างกายจึงเป็นเรื่องที่ต้องจริงจังยิ่งขึ้น ไม่ใช่แค่เพียงต้องถามหรือขออนุญาตในการจับ แต่รวมไปถึงตัวคุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องมีวิจารณญาณร่วมด้วยในการสัมผัสที่มากกว่าแค่การหอม, กอด และการฟัดเหวี่ยงหรือยุ่งย่ามกับเรื่องใต้ร่มผ้าของลูก ว่ามันต้องมีความเหมาะสม และให้เกียรติร่างกายลูก

  • ปลูกฝังให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิในร่างกายของตนเองแบบเห็นภาพ เพื่อให้เขาปกป้องร่างกายของตนเองจากทุกคน
  • ให้ลูกรู้ว่า ไม่ว่ากับใครหากเขาไม่ยิมยอมให้จับก็สามารถปฏิเสธได้ ไว่ว่าคนขอสัมผัสจะเป็นพ่อหรือแม่ก็ตาม
  • สอนให้รู้ว่าหากไม่สบายใจหรือรู้สึกหวาดกลัวต้องแสดงอาการออกมา และรีบมาบอกพ่อแม่ หรือแม้แต่ไม่พอใจการกระทำของพ่อแม่เองก็จำเป็นต้องบอก

จากข้อมูลทั้งหมดนั้นจะเห็นได้ว่า แม้ลูกของคุณพ่อคุณแม่จะยังเป็นเด็กเล็กในสายตาแค่ไหนแต่ก็จะมีมุมในส่วนที่ต้องให้พื้นที่ส่วนตัว กับให้เกียรติเสมอใช่ไหมล่ะค่ะ ดังนั้น การถามคำถามง่ายๆ เพียง 3 คำถามก่อนกระทำต่างๆ จะช่วยได้มากในการที่ทำให้ลูกรู้ว่าตนมีสิทธิ์ในร่างกาย และต้องได้รับการเคารพในความคิดความอ่านซึ่งประโยคเหล่านี้ได้แค่

เมื่อต้องการจะแสดงความรัก ต้องถามว่า ” ขอหอม/ ขอกอดได้มั้ยครับ/คะ ”

เมื่อต้องการถ่ายรูปลูก ต้องถามว่า ” พ่อ/แม่ขอถ่ายรูปลูกได้มั้ยครับ และถ้าโพสลงจะได้ใช่มั้ยครับ/คะ ”

เมื่อจำเป็นต้องจับต้องในจุดลับใต้เสื้อผ้า ต้องขออนุญาตว่า ” พ่อ/แม่ ขอดูหน่อยนะครับ/คะ จะได้รู้ว่าเป็นอะไร ”

ที่มา : brainkart , twitter/dr_yemz

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
4 พฤศจิกายน 2563
7  วิธี พิชิตการทานยากของเด็ก
ชีวิตครอบครัว
กำลังใจที่ไม่เคยสังเกต
ชีวิตครอบครัว
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save