fbpx

ลูกน้อยงอแงร้องไห้แบบไหน เรียกว่าผิดปกติ

Writer : Jicko
: 22 มีนาคม 2562

เด็กๆ มักร้องไห้งอแง ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องกังวลใจของคนเป็นพ่อเป็นแม่อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ต้องเตรียมรับมือกับเสียงของเจ้าตัวน้อย แต่การที่เด็กๆ ร้องไห้งอแงนั้น ไม่ใช่ว่าเขาร้องไห้เฉยๆ แต่นั้นคือการสื่อสารของทารกอีกวิธีหนึ่งนั้นเองค่ะ

แต่บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็จะพบว่าทารกน้อยของเราร้องไห้มากขึ้นๆ เรื่อยๆ โดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน จนทำให้พ่อแม่เกิดความกังวลได้ และไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร งั้นลองมาดูกันว่าทารกน้อยของเราที่ร้องไห้นั้น เกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีแก้ไขยังไงบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

โดยปกติ เมื่อทารกอายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ จะร้องไห้เฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมง และหลังจากนั้นเมื่ออายุได้ 10-12 สัปดาห์ ทารกจะร้องไห้น้อยลงเหลือประมาณวันละ 1 ชั่วโมง ซึ่งการร้องไห้ไม่ได้มีผลเสียใดๆ ต่อร่างกายหรือพัฒนาการของทารกเลยนะคะคุณแม่ๆ

แต่ถ้าหากเด็กๆ ร้องไห้แบบผิดปกติ หรือที่เรียกว่า อาการโคลิค (Colic) โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดอายุประมาณ 2-3 สัปดาห์ไปจนถึง 3 เดือน เด็กจะร้องไห้มากและร้องนานมากกว่า 3 ชั่วโมงภายในวันเดียวโดยไม่มีสาเหตุ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบไปปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเมื่อเกิดสถานการณ์ดังนี้

  • เด็กๆ ร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานานไม่ยอมหยุด นานมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์และเป็นอยู่มากกว่า 3 เดือน
  • เด็กๆ ไม่ยอมดื่มนมตามปกติ หรือดื่มน้อยลงเกินครึ่งหนึ่งของปกติ
  • เด็กๆ ไม่ตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว
  • เด็กๆ ร้องไห้นานจนมีอาการไข้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก
  • เด็กๆ ร้องไห้จนคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถปลอบให้เขาสงบลงได้ จนรู้สึกในแง่ลบต่อลูก
  • ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวแย่ลงจากการที่ลูกร้องไห้

สาเหตุที่ทารกร้องไห้และวิธีรับมือ

  • ร้องไห้ เพราะหิว

เนื่องจากนมแม่จะย่อยง่าย จึงทำให้ทารกหิวบ่อย ควรให้นมลูกทุก 2-3 ชั่วโมงและสังเกตอาการหลังกินนมว่าลูกดีขึ้นหรือไม่ หากหยุดร้องก็แสดงว่ามาถูกทางแล้วค่ะคุณแม่ๆ

  • ร้องไห้ เพราะปวดท้อง 

จะพบได้บ่อยเนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กยังทำงานไม่ได้ดี จึงทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ หากเป็นอย่างงั้นหลังกินนมเสร็จให้อุ้มพาดบ่าลูบหลังเบาๆ เพื่อให้เขาเรอทุกครั้งจะทำให้เด็กๆ สบายตัวมากขึ้น แต่หากมีอาการหนัก เช่น การแหวะนมมาก อาเจียนพุ่ง ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนเลยนะคะ

  • ร้องไห้เพราะปวดหู

จากหูอักเสบ ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาต่อไปค่ะ

  • ร้องไห้ เพราะมดหรือแมลงกัด

คุณพ่อคุณแม่ควรถอดเสื้อผ้า เพื่อสำรวจดูว่ามีรอยแมลงกัดหรือไม่

  • ร้องไห้ เพราะผ้าอ้อมเปียกแฉะ

หากลูร้องคุณพ่อคุณแม่ควรดูผ้าอ้อมก่อนทุกครั้งก่อนว่าเปียกแฉะ ทำให้เด็กๆ ไม่สบายตัวหรือไม่

  • ร้องไห้ เพราะเหนื่อย เพลีย

เด็กบางคนง่วงนอน แต่ก็ไม่ยอมหลับ เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยให้เด็กๆ หลับนั้นเอง ยิ่งง่วงแล้วไม่หลับ ก็ทำให้ลูกเหนื่อยและร้องไห้มากได้นะคะ

  • ร้องไห้ เพราะมีไข้

สังเกตได้จากเมื่อเด็กๆ มีอาการตัวร้อน วัดไข้ด้วยปรอทวัดไข้พบว่ามีไข้ หรือมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น ซึม กินได้น้อย อาเจียน ท้องเสีย ไอ น้ำมูก ให้รีบพามาพบแพทย์บางครั้งอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นของลูกน้อย อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ร้อนเกินไป หรือการห่อตัวหนา หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวกก็ได้ค่ะ

  • ร้องไห้ เพราะ อยู่ในกลุ่มเด็กเลี้ยงยาก

ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับพื้นฐานทางด้านอารมณ์ เด็กๆ มักจะตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นด้วยปฏิกิริยารุนแรง ร้องไห้มาก หงุดหงิดง่าย ปรับตัวยาก เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรมีความอดทน และยอมรับพื้นฐานทางอารมณ์ของลูก อีกทั้งต้องตอบสนองต่อลูกน้อยอย่างเหมาะสม เพื่อให้เขาได้ปรับตัวให้ได้ดีขึ้นต่อไปนั้นเองค่ะ

วิธีการช่วยเหลือเมื่อเด็กๆ ร้องไห้

  • สังเกตพฤติกรรมและลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์ของลูกเพื่อที่จะได้ตอบสนองให้ตรงกับความต้องการ พ่อแม่ควรตอบสนองความต้องการของลูกในช่วง 6 เดือนแรกโดยทันทีตามที่ลูกต้องการ เพื่อให้ลูกเรียนรู้ที่จะไว้ใจพ่อแม่ ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันที่มั่นคง เชื่อมั่นว่าพ่อแม่จะสามารถช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาได้ การอุ้มและสัมผัสทารกอย่างสม่ำเสมอระหว่างวัน สามารถช่วยให้ทารกร้องไห้ลดลงได้
  • สร้างบรรยากาศสบายๆ ในการเลี้ยงดูลูก หาคนมาช่วยแบ่งเบาภาระในการดูแลลูกบ้าง ผลัดกันดูแล อุ้ม ปลอบโยนเด็ก เปิดเพลงเบาๆ หรือถ้าเขาร้องไห้จนเหงื่อยออก ให้เช็ดตัว หรืออาบน้ำให้สดชื่นด้วยก็เป็นการสร้างบรรยากาศอย่างหนึ่งนะคะ
  • คุณพ่อคุณแม่ควรปรับอารมณ์ไม่ให้วิตกกังวลมากไป ควรจะเข้าใจว่าการร้องไห้ของลูกเป็นเรื่องธรรมชา ติของทารกนะคะ
  • หากสงสัยว่ามีความผิดปกติของร่างกาย เช่น ปวดท้อง มีการถ่ายอุจาระผิดปกติ อาเจียนพุ่ง หูอักเสบ มีไข้ ซึม กินน้อย ควรรีบปรึกษาแพทย์นะคะ

ข้อควรระวังเมื่อลูกร้องไห้

  • การร้องไห้เป็นปกติของทารกแรกเกิด ไปจนถึง 4 เดือน
  • การร้องไห้ของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนร้องไห้น้อยแต่บางคนก็ร้องไห้มากกว่าเด็กคนอื่นๆ
  • คุณพ่อคุณแม่ต้องอดทนและตอบสนองอย่างอ่อนโยนต่อสาเหตุที่ทำให้ทารกเกิดความไม่สบายตัว
  • ขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างและครอบครัวให้ดูแลลูกน้อยเป็นครั้งคราว
  • เด็ๆ จะค่อยๆ ร้องไห้น้อยลงเมื่อโตขึ้น
  • ไม่ควรเขย่าตัวเด็ก เพราะจะเกิดความเสียหายต่อสมองและความพิการได้

 

ที่มา : pobpad, Smitivejhospitals, Nappibaby

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save