fbpx

แม่จ๋ารู้ไหม เด็กแต่ละวัยมีสมาธิจดจ่อได้ต่างกันนะ

Writer : Lalimay
: 31 มีนาคม 2564

คุณแม่คุณแม่เคยรู้สึกว่าทำไมลูกถึงยุกยิกอยู่ไม่เฉยเลย ดูไม่ค่อยมีสมาธิจดจ่อกับอะไรบางอย่างได้นานๆ แต่คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะว่า เด็กแต่ละช่วงวัย มีสมาธิหรือจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยระยะเวลาที่แตกต่างกัน เพราะเป็นเรื่องของพัฒนาการของเด็กๆ ค่ะ เราคงไม่สามารถหวังว่าเด็กวัย 3 ขวบ จะนั่งนิ่งๆ อยู่เฉยๆ ได้ยาวนานเหมือนเด็กวัย 9 ขวบได้ วันนี้เราจึงจะพาไปดูว่าเด็กแต่ละช่วงวัยจะมีสมาธิกี่นาทีกันบ้าง เพื่อที่จะได้ไม่เร่งรัดลูกจนเกินไปค่ะ

เด็ก 2-3 ขวบ : มีสมาธิจดจ่อ 4-15 นาที

ในช่วงวัย 2-3 ขวบจะเป็นช่วงที่เด็กยังมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งต่างๆ ได้ค่อนข้างสั้น ไม่ว่าจะเป็นการเล่นของเล่น หยิบจับสิ่งของหรือสิ่งต่างๆ รอบตัว แค่สนใจแป๊บเดียวก็เปลี่ยนไปทำอย่างอื่นแล้ว อย่างการอ่านนิทานแบบที่มีคุณพ่อคุณแม่ชี้ชวนให้อ่านก็จะอยู่ที่ประมาณ 3-5 นาทีเท่านั้น ส่วนการจดจ่อในเรื่องอื่นๆ ก็จะอยู่ที่ 4-15 นาที ดังนั้นพ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการกระตุ้นให้ลูกมีสมาธิด้วยการฟังนิทานหรือทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับศิลปะค่ะ

เด็ก 4-5 ขวบ : มีสมาธิจดจ่อ 8-25 นาที

เด็กในช่วงวัย 4-5 ขวบ จะเริ่มมีพัฒนาการด้านสมาธิที่เพิ่มมากขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่มีการกระตุ้นพัฒนาการด้านนี้อย่างต่อเนื่องก็จะเห้นได้ว่าลูกมีสมาธิที่ยาวนานขึ้น โดยเด็กวัยนี้จะสามารถเปิดดูภาพในนิทานได้เองยาวประมาณ 5-15 นาที และทำกิจกรรมอื่นๆ โดยมีสมาธิจดจ่ออยู่ที่ 8-25 นาที สำหรับกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มสมาธิให้เด็กวัยนี้คือการต่อจิ๊กซอว์ค่ะ

เด็ก 6-7 ขวบ : มีสมาธิจดจ่อ 12-35 นาที

เด็กในวัย 6-7 ขวบ เป็นช่วงวัยที่เด็กจะต้องมีสมาธิเพิ่มมากขึ้นแล้ว โดยจะต้องมีสมาธิจดจ่อในการทำกิจกรรมต่างๆ อยู่ที่ประมาณ 12-35 นาที หากคุณพ่อคุณแม่เริ่มเห็นว่าลูกมีสมาธิสั้นกว่าปกติ อาจแสดงให้เห็นว่าลูกอาจกำลังมีปัญหาด้านสมาธิอยู่ จึงควรพาไปปรึกษาแพทย์ สำหรับกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กวัยนี้มีสมาธิ จะเป็นกิจกรรมที่เริ่มมีความซับซ้อนและใช้เวลาทำมากขึ้น เช่น เล่นบอร์ดเกม ทำงานฝีมือ

เด็ก 8-9 ขวบ : มีสมาธิจดจ่อ 16-40 นาที

ในส่วนของเด็กวัย 8-9 ขวบ จะเป็นช่วงที่ลูกมีสมาธิยาวนาน สามารถทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความซับซ้อนหรือต้องจดจ่อนานๆ ได้แล้ว สำหรับระยะเวลาที่มีสมาธิจะอยู่ที่ 16-40 นาที

เด็ก 10 ขวบขึ้นไป : มีสมาธิจดจ่อไม่เกิน 45 นาที

สุดท้ายเด็กที่อายุ 10 ขวบขึ้นไป รวมไปถึงผู้ใหญ่ จะมีสมาธิจดจ่อได้ไม่เกิน 45 นาที แบบที่ไม่วอกแวก ต่อสิ่งเร้ารอบตัว นอกจากนี้เรื่องของขั้นตอนและกระบวนการคิดที่สลับซับซ้อนก็จำเป็นมากๆ สำหรับเด็กวัยนี้ค่ะ

ข้อมูลอ้างอิงจาก

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save