นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากข้อมูลพบว่าเด็กไทยวัยประถมแบกกระเป๋าที่มีน้ำหนักเกินกว่าร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวเด็ก ซึ่งโดยปกแล้วเด็กควรสะพายกระเป๋าไม่เกิน 10-20% ของน้ำหนักตัว เช่น น้ำหนักตัว 30 กก. น้ำหนักกระเป๋าต้องไม่เกิน 3 กก.
แต่ในปัจจุบันกลับพบว่าน้ำหนักกระเป๋ากลับหนักถึง 4-6 กก. ซึ่งการแบกกระเป๋าที่หนักและใหญ่เกินไปเป็นเวลานานจะส่งผลให้ร่างกายบาดเจ็บ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้ ยิ่งเป็นเด็กวัยอนุบาลหรือประถมที่ตัวอาจจะล้มได้ง่ายเพราะยังทรงตัวได้ไม่ดีเนื่องจากอยู่ในช่วงเจริญเติบโตและพัฒนาการการทรงตัว
โดยเราจะเห็นว่ากระเป๋านักเรียนที่ใช้กันมี 2 แบบคือ แบกกระเป๋าโดยใช้มือถือ และแบกกระเป๋าโดยแขวนหลัง ซึ่งแบบมือถือไม่เหมาะกับการแบกเป็นเวลานาน เพราะทำให้ร่างกายเสียสมดุลได้มากกว่าแบบแขวนหลัง แต่อย่างไรก็ตาม การแบกกระเป๋าที่หนักเป็นเวลานานจะทำให้โครงสร้างร่างกายโดยเฉพาะแขนไหล่และสะบักเกิดการบาดเจ็บได้ง่ายขึ้น
ดังนั้นเด็กจึงไม่ควรแบกกระเป๋าที่มีน้ำหนักหนักเกินไป แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้และต้องแบกเป็นเวลานานควรเปลี่ยนจากกระเป๋าแขวนหลังเป็นกระเป๋าลาก เพื่อป้องกันการปวดหลัง และหากพบว่าลูกมีอาการผิดปกติก็ควรพามาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการต่อไป
อ้างอิงจาก