fbpx

15 พฤษภาคม พ.ศ.2565

เลือกหมวดหมู่


ข่าว ข่าว

ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ในการประชุมเพื่อจัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 นั้น ได้มีการนำหลักสูตรฐานสมรรถนะที่มีการปรับใช้นำร่องมาก่อนหน้า และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 มารวมกันเพื่อปรับและผสานเนื้อหาการเรียนรู้ใหม่ โดยแบ่งตามการเรียนรู้ของเด็กแต่ละช่วง สำหรับหลักสูตรจะเป็นการปรับหลักสูตรใน 8 กลุ่มสาระวิชาหลัก จากหลักสูตรเดิมให้ทันสมัยมากขึ้น เช่น วิชาสังคมศึกษา เนื้อหาประวัติศาสตร์ไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2474-2500 บางช่วงบางตอนขาดหายไป จึงต้องเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไป เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การพัฒนาที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย ในแต่ละยุคสมัยจนถึงปัจจุบัน วิชาวิทยาศาสตร์ จะปรับให้เป็นการเรียนพื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์เบื้องต้น ผสมผสานกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ หลักสูตรใหม่จะไม่เน้นการท่องจำ แต่จะสร้างบทเรียนให้เด็กคิดวิเคราะห์เป็น โดยคาดว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะเสนอ รมว.ศธ.พิจารณา กลางเดือนพฤศจิกายนนี้ อ้างอิงจาก https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=3346077638808067&id=1611166045632577

ข่าว ข่าว
จากการสำรวจการรับรู้ของสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 กับสุขภาวะของเยาวชน ซึ่งพบว่าเด็กและเยาวชนกังวลว่าตนจะติดเชื้อไวรัส COVID-19 เกิดภาวะเครียด ไม่กล้าออกจากบ้าน อีกทั้งรัฐบาลยังไม่มีมาตรการรองรับในเรื่องของการศึกษา สั่งเพียงแต่ปิดโรงเรียนเท่านั้น ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผลโพลแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลสนใจในเรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ นักท่องเที่ยว การส่งออก โดยไม่ได้สนใจผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะมาตรการการปิดสถานศึกษาทันที โดยขาดคำอธิบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ส่งผลให้เด็กเกิดความเครียด วิตกกังวลตามมา หากสถานการณ์ของโรคไวรัส COVID-19 ยังคงยืดเยื้อ และทำให้เราไม่สามารถเปิดภาคเรียนได้ตามกำหนด ก็คงต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ และปรับให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน จึงของเสนอให้กรทรวงศึกษาธิการระดมผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร ด้านการประเมิน นักเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบการเรียนรู้ และอื่นๆ ของการศึกษาทุกระดับ ทั้งเด็กเล็ก ประถม มัธยม อาชีวะ การศึกษานอกโรงเรียน เพื่อช่วยกันออกแบบการเรียนรู้ที่บ้านของนักเรียนลักษณะโฮมสกูล หรือการเรียนรู้โดยครอบครัว  ซึ่งอาจต้องใช้หลักการการเรียนแบบกลับหัว คือ เดิมเรียนส่วนใหญ่ที่โรงเรียน ใช้เวลาส่วนใหญ่พูดคุยกับครู และกลับมาทำการบ้านหรือโครงงาน ก็กลับหัวเป็น เรียนรู้ที่บ้าน แล้วนัดหมายกับครูเป็นกลุ่มเล็กๆ มาอภิปรายสิ่งที่สงสัยกับครู หรือครูจัดทำคลิปการสอนสั้นๆ ส่งให้นักเรียน  กระทรวงศึกษาธิการจะต้องดำเนินการตั้งแต่เนิ่นๆ ในช่วง 2 เดือนนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนหรือวุ่นวายในช่วงที่เปิดภาคเรียน อ้างอิงจาก https://www.thairath.co.th/news/society/1801584
24 มีนาคม 2563

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save