fbpx

พาไปส่อง "เงินอุดหนุนเด็กเล็ก"จากรัฐของ 4 ประเทศ ที่แม่ๆ ต้องปลื้ม!

Writer : Jicko
: 14 กุมภาพันธ์ 2565

คุณพ่อคุณแม่คงทราบกันดีนะคะว่า สวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กของไทยนั้น ไม่ได้เป็นเงินอุดหนุนแบบถ้วนหน้า กว่าจะได้มาทุกคนต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์ที่ยุ่งยาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรายได้เฉลี่ยต่อปีที่มีการตั้งเพดานไว้ ขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อพิสูจน์สิทธิก่อน ซึ่งเชื่อเลยค่ะว่าการที่ฐานข้อมูลไทยไม่แม่นยำก็มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ตกหล่นไม่ได้รับเงินก้อนนี้เช่นกัน

วันนี้ Parents One เลยจะพาแม่ๆ ไปส่องสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กของต่างประเทศกันค่ะว่า แต่ละประเทศได้เงินเท่าไหร่กันบ้าง และมีเงื่อนไขและวิธีอย่างไร ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

โครงการ Kindergeld ของประเทศเยอรมนี

  • งบประมาณ 3.3 หมื่นล้านยูโร (1.3 แสนล้านบาท)
  • อัตราส่วนงบต่อ GDP = 1.1%
  • ครอบคลุมเด็ก 14.97 ล้านคน (110.2%)

* ข้อมูลปี 2017

เงินที่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นลูกคนที่เท่าไหร่ของครอบครัว

  • ลูกคนโตหรือคนที่ 2 : จะได้รับเงินเดือนละ 219 ยูโร (8,500 บาท) / คน
  • ลูกคนที่ 3 : จะได้รับเงินเดือนละ 225 ยูโร (8,800 บาท) / คน
  • ลูกคนที่ 4 เป็นต้นไป : จะได้รับเงินเดือนละ 250 ยูโร (9,700 บาท) / คน

เงื่อนไข

  • จ่ายจนเด็กอายุครบ 18 ปี อาจถึง 25 ปี ถ้าเด็กยังศึกษาอยู่
  • ไม่มีสัญชาติเยอรมันก็มีสิทธิครอบคลุม
  • ผู้ลี้ภัยรวมถึงเด็กเยอรมันที่อยู่ต่างประเทศบางกรณียังมีโอกาสได้รับเงินด้วย

นอกจากนี้หากครอบครัวไหนยังไม่ประสงค์รับเงินก้อนนี้ สามารถเข้าโครงการ Kinderfreibetrag เป็นการให้ค่าลดหย่อนภาษีสำหรับการมีบุตรแทนได้อีกด้วย โดยส่วนมากครอบครัวที่มีรายได้สูงมักจะประสงค์ไม่รับเงินนี้แต่ไปใช้สิทธิ Kinderfreibetrag แทนนั่นเองค่ะ

โครงการ Child Benefit ของสหราชอาณาจักร

  • งบประมาณ 1.2 หมื่นล้านปอนด์ (5.5 แสนล้านบาท)
  • อัตราส่วนงบต่อ GDP = 0.6%
  • ครอบคลุมเด็ก 12.52 ล้านคน (92%)

* ข้อมูลปี 2020

เงินที่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นลูกคนที่เท่าไหร่ของครอบครัว

  • ลูกคนแรก : จะได้รับเงินเดือนละ 21.15 ปอนด์ (9800 บาท) / คน
  • ลูกคนที่ 2 เป็นต้นไป : จะได้รับเงินเดือนละ 14 ปอนด์ (600 บาท) / คน

เงื่อนไข

  • จ่ายจนเด็กอายุครบ 16 ปี อาจถึง 20 ปี ถ้าเด็กยังศึกษาอยู่
  • ครอบครัวที่สมาชิกอย่างน้อย 1 คน มีรายได้ต่อปีเกิน 50,000 ปอนด์ (2.3 ล้านบาท) ต้องเสียภาษีจากเงินอุดหนุน
  • ครอบครัวที่สมาชิกอย่างน้อย 1 คน มีรายได้ต่อปีเกิน 60,000 ปอนด์ (2.8 ล้านบาท) ต้องเสียภาษี 100%

เรียกได้ว่าเป็นการคัดกรองที่มีรายได้มากบางส่วน สามารถที่จะไม่เลือกรับเงิน เพื่อไม่ต้องเสียเวลาไปจ่ายเงินคืนทีหลังนั่นเองค่ะ

โครงการ Child Money Program ของประเทศมองโกเลีย

  • งบประมาณ 2.31 แสนล้านทูกริก (2.7 พันล้านบาท)
  • อัตราส่วนงบต่อ GDP = 1.0%
  • ครอบคลุมเด็ก 9.76 แสนคน (87%)

* ข้อมูลปี 2019

แจกเงินอุดหนุนเด็กแบบถ้วนหน้า

  • ลูกทุกคน : จะได้รับเงินเดือนละ 20,000 ทูกริก (235 บาท) / คน

เงื่อนไข

  • จ่ายจนเด็กอายุครบ 18 ปี
  • สำหรับครอบครัวที่มีรายได้ต่ำกว่าเพดานที่กำหนด
  • ครอบครัวที่เข้าเกณฑ์สามารถแสดงความสมัครใจไม่รับเงินได้ด้วย

เรียกได้ว่าเป็นการคัดกรองครอบครัวที่มีรายได้สูงออกบางส่วน แต่ก็ยังทำให้มีปัญหาเด็กบางส่วนตกหล่นจากกระบวนการคัดกรองด้วยเช่นกัน

โครงการ Child Grant ของประเทศเนปาล

  • งบประมาณ 2.95 พันล้านรูปีเนปาล (820 ล้านบาท)
  • อัตราส่วนงบต่อ GDP = 0.1%
  • ครอบคลุมเด็ก 5.52 แสนคน (19.2%)

* ข้อมูลปี 2018

แจกเงินอุดหนุนเด็กในพื้นที่ที่อยู่ในขอบเขตของโครงการ

  • ลูกทุกคน : จะได้รับเงินเดือนละ 400 รูปีเนปาล (110 บาท) / คน

เงื่อนไข

  • จ่ายจนเด็กอายุครบ 5 ปี
  • จำกัดเฉพาะบางพื้นที่
  • จ่ายเงินทุก 4 เดือน

โดยทางประเทศเนปาลตั้งใจว่าจะทำให้เงินอุดหนุนนี้ เป็นแบบได้รับเงินถ้วนหน้าภายในปี 2025 ที่จะถึงนี้อีกด้วย

โครงการ เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ของประเทศไทย

  • งบประมาณ 1.66 หมื่นล้านบาท
  • อัตราส่วนงบต่อ GDP = 0.1%
  • ครอบคลุมเด็ก 1.8 ล้านคน (43%)

* ข้อมูลปี 2021

แจกเงินอุดหนุนเด็กตามรายได้เฉลี่ยครอบครัว

  • ลูกทุกคน : จะได้รับเงินเดือนละ 600 บาท / คน

เงื่อนไข

  • จ่ายจนเด็กอายุครบ 6 ปี
  • แจกเฉพาะครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปี ต่ำกว่า 100,000 บาท

เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอ จากสถานการณ์หลายๆ อย่าง ทำให้เงินอุดหนุนเด็กเล็กของประเทศไทยได้แบบไม่ทั่วถึง มีการจำกัดรายได้เฉลี่ยของครอบครัวที่ได้ตามข้างต้นนั่นเองค่ะ

ทุกวันนี้ประมาณ 30 ประเทศทั่วโลกมีเงินอุดหนุนเด็กแบบถ้วนหน้ากันแล้ว หากตามแผนเดิมของประเทศไทยจะมีการปรับเข้าสู่ระบบเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้าในปี 2565 นี้ ก็มาติดตามกันต่อค่ะว่าประเทศไทยจะมีการปรับแผนและแนวทางสวัสดิการในรูปแบบไหน หรือต้องรอกันต่อไป มารอลุ้นกันค่ะคุณแม่ๆ

อ้างอิงจาก : the101

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
16 สิงหาคม 2560
สิ่งสำคัญคือตัวเรา
ชีวิตครอบครัว
Update
Banner Banner
Live Action เรื่องล่าสุดจาก Disney ที่หลายๆคนรอคอยไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เคยรับชมการ์ตูนในวัยหวานหรือแม้แต่คุณน้องคุณหนูที่หลงรักโลกใต้ท้องทะเลก็ตาม ใช่แล้วล่ะค่ะ เรากำลังพูดถึง “The Little Mermaid” หรือ “เงือกน้อยผจญภัย” ที่หยิบยกกลับมาทำใหม่ในเวอร์ชันคนแสดงในปีนี้ โดยมีนักร้องสาว “ฮัลลี เบลลีย์” รับบทนางเงือกน้อย “แอเรียล” พร้อมเป็นตัวแทนส่งเสียงบอกกับเด็กหญิงชายทั่วโลกว่า “ใครก็เป็นเจ้าหญิงได้”  หยิบกลับมาทำใหม่ ตีความใหม่ในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนแบบนี้ ใครๆ ก็ต้องตื่นเต้นอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อย ข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสำหรับเด็กๆ หรือไม่ ลองไปดูกันเลย! เรื่องราวของนางเงือกน้อยแสนซน “แอเรียล” ธิดาคนสุดท้องของราชาไตรตันเจ้าแห่งโลกใต้สมุทรเธอมีความหลงใหลในโลกมนุษย์และใฝ่ฝันว่าอยากจะเดินเหินอย่างผู้คนบนดินแม้พ่อจะพยายามกีดกันเธอเท่าไรก็ตาม วันหนึ่งเธอบังเอิญได้พบกับ “เจ้าชายอีริค” และตกหลุมรักเขาเข้าอย่างจัง เธอจึงได้ทำข้อตกลงกับแม่มดทะเล “เออซูลาร์” เพื่อแลกเสียงอันไพเราะกับขาอย่างมนุษย์โดยมีข้อแม้ว่าเธอจะต้องได้รับจุมพิตจากเจ้าชายไม่เช่นนั้นเธอจะกลับมาเป็นเงือกและกลายเป็นทาสของเออซูลาร์ตลอดไปการออกเดินทางทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจเพื่อใช้ชีวิตอย่างที่ฝันจึงได้เริ่มต้นขึ้น เติมเต็มหัวใจที่ยังเปี่ยมไปด้วยความทรงจำของวัยเยาว์ ส่งต่อความกล้าหาญให้หนูน้อยเชื่อมั่นในตัวเอง และสิ่งที่ฝัน จูงมือลูกรักไปดู “The Little Mermaid” ได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์! ชมตัวอย่าง : https://www.youtube.com/watch?v=AS0vop2rgFo การ์ตูนเรื่องนี้เหมาะกับเด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป แม้จะมีเค้าโครงเรื่องหลักๆ มาจากการ์ตูนเงือกน้อยแอเรียลแบบต้นฉบับทั้งหมด แต่พอมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ทวีคูณความจริงจังให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมพื้นเพตัวละคร เสริมเนื้อเรื่องเพิ่มประเด็นให้มีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม จึงบอกได้ว่าเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยเหมาะกับเด็กเล็กๆ เท่าไร ถึงอย่างนั้นเด็กๆก็ยังสามารถสนุกสนานกับกลิ่นอายของเทพนิยายชวนฝันเพลิดเพลินกับภาพบรรยากาศโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงามสุดแสนจะแฟนตาซี รับประกันว่ากระตุ้นจินตนาการเรียกความตื่นตาตื่นใจจากเจ้าตัวน้อยแน่นอน เรื่องที่ต้องระวัง มีความรุนแรงและฉากน่ากลัว อย่างที่บอกไปว่า Live Action เวอร์ชันนี้ มีความดาร์ก ความสมจริงเพิ่มเข้ามา เรื่องความรุนแรงต่างๆ ฉากต่อสู้ ฉากปะทะ หรือหน้าตาของเหล่าสัตว์ร้ายใต้ทะเล อาจทำให้เด็กๆ ไม่สบายใจ หรือตื่นกลัวได้ แถมยังมีจังหวะตกใจ (Jump…
25 พฤษภาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save