fbpx

ไขข้อสงสัย ทำไมลูกชอบยิ้มตอนนอนหลับ?

Writer : Mneeose
: 7 พฤษภาคม 2564

รอยยิ้มของลูก คือ กำลังใจสำคัญของคุณพ่อคุณแม่เสมอใช่ไหมล่ะคะ แต่เอ๊ะ!! ทำไมบางครั้งเราถึงมักเห็นลูกยิ้ม แล้วก็หัวเราะตอนหลับอยู่บ่อยๆ หรือว่าเจ้าตัวเล็กกำลังฝันหวานอยู่รึเปล่านะ งั้นเราไปไขข้อสงสัยกันค่ะ ว่าทำไมลูกถึงชอบยิ้มตอนนอนหลับ?

สาเหตุที่ทำให้ลูกยิ้ม และหัวเราะขณะนอนหลับ

1. มีพัฒนาการด้านอารมณ์ที่ดี

ในช่วงกลางวันที่เจ้าตัวเล็กตื่นนั้น พวกเขาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ และเล่นสนุกอยู่กับคุณพ่อคุณแม่มากมาย ซึ่งสมองก็จะบันทึกข้อมูล และเหตุการณ์ในแต่ละวันที่เด็กได้เจอมา และนำกลับมาฉายซ้ำอีกครั้งในช่วงที่ลูกนอนหลับปุ๋ยนั่นเอง

และเมื่อลูกรู้สึกมีความสุขกับวันนั้น ก็จะแสดงอารมณ์ออกมาผ่านรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะขณะหลับอยู่ เหมือนเป็นภาพความทรงจำที่ย้อนเข้ามาในสมองของลูก

โดยการยิ้มขณะที่หลับนี้เป็นกระบวนการหนึ่งของพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กอีกด้วย

2. ลูกหลับสนิทในช่วง REM

ช่วงเวลาแห่งการนอนหลับสนิท หรือหลับลึก เราเรียกว่า การนอนหลับช่วง REM และเด็กทารกจะสัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายบางอย่าง

เมื่อร่างกายถูกกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง เจ้าตัวเล็กก็จะแสดงปฎิกิริยานั่นออกมา ซึ่งอาจเป็นรอยยิ้มเล็กๆ เสียงหัวเราะคิกคัก หรืออะไรก็ตามได้เช่นกัน

3. กำลังฝันหวานอยู่ล่ะสิ 🙂

ที่จริงแล้ว การนอนหลับสนิทนั้น ร่างกายยังคงมีการเคลื่อนไหวไปด้วย เพียงแต่เราไม่รู้สึกตัว

ซึ่งถ้าวันนั้นเจ้าตัวเล็กเริ่มโตขึ้นมาหน่อย ก็มักจะมีการฝันถึงคน สิ่งของ หรือเหตุการณ์แปลกประหลาดต่างๆ ระหว่างการนอนหลับนั้นได้เช่นกัน จนบางครั้งอาจเกิดการละเมอ นอนอมยิ้ม หรืออยู่ๆ ก็ระเบิดเสียงหัวเราะออกมาให้คุณพ่อคุณแม่ตกใจตามกันเลยทีเดียว

4. กำลังผายลม

ข้อสันนิฐานอีกข้อที่น่ารักน่าชัง แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการยืนยันด้วยวิทยาศาสตร์ก็ตาม แต่ก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจได้แล้วเปราะนึงว่าลูกฉันไม่ได้เป็นอะไรแน่ๆ

นั่นก็คือ การตด นั่นเองค่ะ ซึ่งถือเป็นวิธีทำให้ลูกสบายตัว เมื่อรู้สึกท้องอืดแน่นท้องขึ้นมา เจ้าตัวเล็กก็มักจะตดออกมาจะทำให้เขารู้สึกดีขึ้น แล้วหลังจากนั้นก็จะยิ้ม หรือมักจะหัวเราะกับเสียงตดของตัวเอง แต่เด็กบางคนก็ถึงขั้นตกใจเลยก็มีค่ะ

เช่นเดียวกัน เจ้าตัวเล็กทำแบบนี้ในขณะที่พวกเขาหลับ เพื่อจะได้นอนหลับอย่างสบายตัว เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะคะ

5. พัฒนาการกล้ามเนื้อบนใบหน้า

ในช่วง 1 เดือนแรกหลังคลอด ลูกยังไม่สามารถแยกแยะความรู้สึกได้ การนอนยิ้มในช่วงนี้นั้นไม่ใช่ว่าลูกกำลังฝัน แต่เป็นเพราะกล้ามเนื้อใบหน้าเกิดการหดตัวเสียมากกว่า

เมื่อเข้าสู่ช่วง 2-5 เดือน เด็กแสดงอาการทางใบหน้าได้หลากหลายขึ้นในขณะที่นอนหลับอยู่ เช่น ขมวดคิ้ว ทำปากขมุบขมิบ ทำหน้าบึ้ง เป็นต้น

จนเมื่อทารกเข้าสู่เดือนที่ 6 ที่ลูกเริ่มเห็นสิ่งต่างๆ มากขึ้น ลูกก็จะเก็บเรื่องราวต่างๆ ไปฝัน แต่ภาพฝันนั้นยังไม่ได้ชัดเจนเป็นเรื่องเป็นราวแบบผู้ใหญ่นัก เรียกได้ว่าเป็นไปตามพัฒนาการหนึ่งที่เกิดขึ้นกับลูกนั่นเอง

6. อาการเจ็บป่วย

ที่เด็กบางคนหัวเราะ หรือยิ้มออกมาขณะนอนหลับ อาจเกิดจาก “อาการชัก” แต่มีโอกาสเป็นได้น้อยมากค่ะ ถ้าลูกเป็นจริงจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีอาการหงุดหงิด หัวเราะไม่หยุดโดยไม่ทราบสาเหตุ น้ำหนักลด นอนหลับไม่สนิท

หากลูกมีอาการแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันทีนะคะ เพราะโรคนี้อันตรายมากค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้าง เข้าใจแล้วรึยังว่าทำไมเจ้าตัวเล็กถึงชอบนอนอมยิ้มอยู่เรื่อยเลย ส่วนใหญ่จะมาจากพัฒนาการของลูกทั้งนั้นแหละค่ะ ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะคะ

เพราะฉะนั้น การเลี้ยงดูจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด เพราะจะช่วยหล่อหลอมให้เด็กกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกแบบไหนตอนโต ก็อยู่ที่การเลี้ยงดู และเอาใจใส่ตอนเด็กนี่แหละค่ะ ถ้าลูกมีอารมณ์ที่ดี ก็มีโอกาสสูงที่พวกเขาพร้อมเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้มากมายอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : konthong.com

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
4 พฤศจิกายน 2563
Update
Banner Banner
Live Action เรื่องล่าสุดจาก Disney ที่หลายๆคนรอคอยไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เคยรับชมการ์ตูนในวัยหวานหรือแม้แต่คุณน้องคุณหนูที่หลงรักโลกใต้ท้องทะเลก็ตาม ใช่แล้วล่ะค่ะ เรากำลังพูดถึง “The Little Mermaid” หรือ “เงือกน้อยผจญภัย” ที่หยิบยกกลับมาทำใหม่ในเวอร์ชันคนแสดงในปีนี้ โดยมีนักร้องสาว “ฮัลลี เบลลีย์” รับบทนางเงือกน้อย “แอเรียล” พร้อมเป็นตัวแทนส่งเสียงบอกกับเด็กหญิงชายทั่วโลกว่า “ใครก็เป็นเจ้าหญิงได้”  หยิบกลับมาทำใหม่ ตีความใหม่ในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนแบบนี้ ใครๆ ก็ต้องตื่นเต้นอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อย ข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสำหรับเด็กๆ หรือไม่ ลองไปดูกันเลย! เรื่องราวของนางเงือกน้อยแสนซน “แอเรียล” ธิดาคนสุดท้องของราชาไตรตันเจ้าแห่งโลกใต้สมุทรเธอมีความหลงใหลในโลกมนุษย์และใฝ่ฝันว่าอยากจะเดินเหินอย่างผู้คนบนดินแม้พ่อจะพยายามกีดกันเธอเท่าไรก็ตาม วันหนึ่งเธอบังเอิญได้พบกับ “เจ้าชายอีริค” และตกหลุมรักเขาเข้าอย่างจัง เธอจึงได้ทำข้อตกลงกับแม่มดทะเล “เออซูลาร์” เพื่อแลกเสียงอันไพเราะกับขาอย่างมนุษย์โดยมีข้อแม้ว่าเธอจะต้องได้รับจุมพิตจากเจ้าชายไม่เช่นนั้นเธอจะกลับมาเป็นเงือกและกลายเป็นทาสของเออซูลาร์ตลอดไปการออกเดินทางทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจเพื่อใช้ชีวิตอย่างที่ฝันจึงได้เริ่มต้นขึ้น เติมเต็มหัวใจที่ยังเปี่ยมไปด้วยความทรงจำของวัยเยาว์ ส่งต่อความกล้าหาญให้หนูน้อยเชื่อมั่นในตัวเอง และสิ่งที่ฝัน จูงมือลูกรักไปดู “The Little Mermaid” ได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์! ชมตัวอย่าง : https://www.youtube.com/watch?v=AS0vop2rgFo การ์ตูนเรื่องนี้เหมาะกับเด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป แม้จะมีเค้าโครงเรื่องหลักๆ มาจากการ์ตูนเงือกน้อยแอเรียลแบบต้นฉบับทั้งหมด แต่พอมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ทวีคูณความจริงจังให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมพื้นเพตัวละคร เสริมเนื้อเรื่องเพิ่มประเด็นให้มีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม จึงบอกได้ว่าเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยเหมาะกับเด็กเล็กๆ เท่าไร ถึงอย่างนั้นเด็กๆก็ยังสามารถสนุกสนานกับกลิ่นอายของเทพนิยายชวนฝันเพลิดเพลินกับภาพบรรยากาศโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงามสุดแสนจะแฟนตาซี รับประกันว่ากระตุ้นจินตนาการเรียกความตื่นตาตื่นใจจากเจ้าตัวน้อยแน่นอน เรื่องที่ต้องระวัง มีความรุนแรงและฉากน่ากลัว อย่างที่บอกไปว่า Live Action เวอร์ชันนี้ มีความดาร์ก ความสมจริงเพิ่มเข้ามา เรื่องความรุนแรงต่างๆ ฉากต่อสู้ ฉากปะทะ หรือหน้าตาของเหล่าสัตว์ร้ายใต้ทะเล อาจทำให้เด็กๆ ไม่สบายใจ หรือตื่นกลัวได้ แถมยังมีจังหวะตกใจ (Jump…
25 พฤษภาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save