fbpx

10 วิธีรับมือทำอย่างไรดี? เมื่อลูกไม่อยากไปโรงเรียน

Writer : Mneeose
: 12 ธันวาคม 2561

เป็นเรื่องธรรมดาที่เด็กๆ มักไม่ชอบไปโรงเรียน เพราะต้องทำตามที่คุณครูสั่งทุกอย่าง ไม่เหมือนตอนอยู่บ้านที่จะทำอะไรก็ได้ บางครั้งอาจเกิดจากตัวเด็กเองที่ไม่อยากไปเรียน แต่บางครั้งก็อาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว เช่น ถูกเพื่อนแกล้ง โดนครูไม่ชอบหน้าเข้า เราเห็นถึงปัญหาหนักอื้อของคุณพ่อคุณแม่ จึงขอเสนอ 10 วิธีรับมือทำอย่างไรดี? เมื่อลูกไม่อยากไปโรงเรียน ค่ะ ไปเรียนรู้และเข้าใจความคิดของเด็กกันเลย

1. พูดคุยกับลูกถึงสาเหตุที่แท้จริง ว่าทำไมลูกไม่อยากไปโรงเรียน?

เชื่อแน่นอนค่ะว่า ลูกจะไม่ยอมบอกเราตั้งแต่แรกว่าเป็นอะไร เเต่เมื่อค่อยๆ พูด ค่อยๆ ถามเขาแล้ว ลูกอาจจะบอกมาเป็นนัยๆ ไม่บอกทั้งหมด เพราะว่ากลัวเราจะไม่เชื่อ เช่น โดนเพื่อนแกล้งมา เมื่อไปบอกครูแล้วครูไม่เชื่อ หรืออาจจะนิ่งเฉยใส่ ในกรณีนี้คุณพ่อคุณแม่ทุกคนต้องแสดงความเชื่อใจลูกว่าทุกคำที่ลูกพูดมาพ่อแม่จะเชื่อและหาวิธีแก้ปัญหาให้อย่างแน่นอน เพียงแค่ลูกพูดความจริง

 

2. สอนลูกหาเพื่อนสนิทไว้สักคน

ในชีวิตเราจะมีสิ่งสำคัญเพียงไม่กี่สิ่ง ซึ่งนอกจากครอบครัวแล้วก็จะมีเพื่อนสนิทนี่แหละค่ะ ที่คบกันตั้งแต่เด็กจนโตก็ยังเป็นเพื่อนกันอยู่ ข้อนี้อยากให้คุณพ่อคุณแม่ลองบอกคุณสมบัติต่างๆ รวมทั้งจำกัดนิยามของเพื่อนสนิทให้ลูกได้รับรู้ แล้วค่อยๆให้เขาหาเพื่อนสนิทด้วยตัวเขาเองค่ะ การมีเพื่อนสนิทตอนเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะลูกก็จะอยากไปเจอเพื่อนที่ตัวเองไว้ใจไปเล่นสนุกด้วยกันค่ะ

 

3. หาสิ่งที่ทำให้ลูกมีแรงจูงใจในการไปโรงเรียน

เมื่อเข้าไปเรียนได้สักพักแล้ว เราจะสังเกตได้ว่า ลูกจะกระตือลือล้นหรือชอบอะไรในโรงเรียน เช่น เมื่อไปโรงเรียนจะได้เล่นของเล่นต่างๆ ไม่จำกัดมากมาย หรือได้วาดรูปกับเพื่อนๆ ได้ขนมจากคุณครู เป็นต้น การมีสิ่งที่ชอบในโรงเรียนจะเป็นแรงขับได้อย่างดีให้กับลูกชอบและรักที่จะไปโรงเรียนทุกวัน

 

4. พาลูกไปเล่นที่สนามเด็กเล่นของโรงเรียนบ่อยๆ

เพื่อให้ลูกได้คุ้นเคยกับโรงเรียน และรู้สึกว่าการมาโรงเรียนไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อ แต่คือการได้ออกมาเจอกับโลกกว้างภายนอกที่ไม่ใช่ห้องสี่เหลี่ยมภายในบ้าน

 

5. อย่าโกหกลูกเรื่องเวลา

ไม่ควรโกหกลูกเรื่องเวลา สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การบอกเด็กไปตรงๆ ว่าต้องไปเรียนนานเท่าใด เลิกกี่โมง เเละแม่จะมารับประมาณกี่โมง จะทำให้ลูกคิดเป็นระบบมีการวางแผนว่า ก่อนที่แม่จะมารับอยากทำอะไรก่อน เช่น ไปวิ่งเล่นกับเพื่อนก่อน หรือไปอ่านหนังสือในห้องสมุด เป็นต้น ทำให้ลูกสามารถคาดการณ์ได้ด้วยตัวเอง

หากลูกเร่งอยากให้พ่อแม่มาถึงเร็วๆ เราควรบอกให้เขาดูที่เข็มนาฬิกา “เมื่อเข็มยาวถึงเลข…… แม่จะถึงพอดี” จะทำให้เขาเลิกงอแง และเป็นการฝึกการรอให้กับลูกด้วยค่ะ หากไม่จำเป็นจริงๆ อย่าให้ลูกรอนานจนเกินไป

 

6. อย่าขู่ลูกว่า!! เดี๋ยวครูตีนะ

ถ้าลูกไม่ยอมทำการบ้าน ห้ามขู่ลูกด้วยคำว่า “เดี๋ยวครูตีนะ” เพราะเด็กจะรู้สึกไม่ดี ไม่ชอบการบ้าน ไม่ชอบครู แล้วพานไม่อยากไปโรงเรียนด้วย  ดังนั้นควรกำหนดเวลาการดูทีวีหรือพักผ่อนเวลาที่อยู่ที่บ้านหลังจากที่ทานข้าว และทำการบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรให้ลูกทำการบ้านให้เสร็จก่อน แล้วค่อยให้ลูกเล่นดูทีวีค่ะ

 

7. หาขนมให้ลูกติดไม้ติดมือไปฝากเพื่อนและครูบ้าง

นอกจากจะเป็นการสอนลูกให้ลูกจักแบ่งปันแล้ว ยังส่งผลให้ลูกรู้สึกว่า ได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ เพราะตัวเองมีน้ำใจชอบแบ่งปัน  และเพื่อนก็มีน้ำใจแบ่งให้ตัวเองด้วยเช่นกัน ทำให้รู้สึกดีเมื่อไปที่โรงเรียนค่ะ

 

8. สะกดจิตลูกเชิงบวก (NLP)

NLP ย่อมาจาก Neuro-Linguistic Programming เป็นการใช้ 3 ส่วน คือ ประสาทวิทยา (Neurology), ภาษา (Language) และการโปรแกรม (Programming) ที่ผลต่อการสร้างประสบการณ์ของมนุษย์

สิ่งที่พ่อแม่สามารถทำได้ก่อนลูกนอน คือ การพูดคำพูดดีๆ ให้กำลังด้านบวก และขั้นตอนในการใช้ชีวิตของลูกในแง่ดี

เมื่อลูกได้ฟังคำพูดๆดีๆ ประสบการณ์ดีๆที่ผ่านมา สิ่งที่เขาชอบ เขามีความสุข เขาก็จะมีความสุขค่ะ  ให้เลือกใช้คำที่เป็นบวก  ไม่ใช้คำว่า “ห้าม ไม่  หรือคำที่เป็นลบ โดยเลี่ยงคำแบบนี้ค่ะ ตัวอย่าง “ ไม่อ้วน ให้ใช้คำว่า สมส่วน “  “ ไม่สนุก ใช้คำว่า ได้ประสบการณ์ใหม่” เป็นการโปรแกรมภาพของวันพรุ่งนี้ที่มีความสุขให้เขาจินตนาการถึงวันพรุ่งนี้อย่างมีความสุขค่ะ

9. ไปส่งลูกที่โรงเรียน และอยู่เล่นกับเขา เมื่อเปิดเทอมวันแรก

หากลูกแสดงความกังวลเกี่ยวกับการเริ่มเปิดภาคการศึกษาใหม่ พ่อแม่ก็ควรไปส่งลูกและเล่นกับลูกที่โรงเรียนด้วย และเข้าพบกับครูก่อนการเริ่มเรียน เด็กจะรู้สึกสบายใจค่ะ

 

10. ชวนลูกคุย + เล่นบ่อยๆ อย่าให้ลูกไม่ไปโรงเรียนเด็ดขาด

ถามลูกบ่อยๆ ว่าวันนี้เรียนเป็นไงบ้าง เจออะไรมาบ้าง เอาใจลูกมาใส่ใจเรา พูดคุยกับเค้าไปทีละเรื่อง ครูเป็นยังไง ใจดีไหม เพื่อนเป็นยังไง ชอบเล่นกับใคร ครูสอนอะไรบ้าง เรียนสนุกไหม วันนีได้กินอะไร อร่อยไหม แต่เด็กก็คือเด็ก ของเล่นที่ดีที่สุดคือพ่อแม่ ถ้าเราทำกิจกรรมทำการบ้านให้สนุกโดยใช้เราไปเล่นกับลูกด้วย เขาก็ไม่สนใจทีวีหรือของเล่นอย่างอื่นค่ะ

อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูเเลลูกเป็นพิเศษ เมื่อลูกเกิดอาการไม่อยากไปโรงเรียนขึ้นนะคะ และควรรีบหาสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียนให้พบก่อนและค่อยๆ แก้ปัญหาจะดีมากเลยค่ะ แต่ยังไงหากเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ต้องสอนให้ลูกอดทนด้วยนะคะ

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



10 โรงเรียนอนุบาลนานาชาติยอดฮิตในกรุงเทพ
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
10 โรงเรียนน่าสนใจ ประจำปี 2017
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save