fbpx

7 เทคนิค พูดยังไงให้ลูกฟัง

: 27 มิถุนายน 2560

ก่อนมีลูก ตุ๊กเคยคิดว่าการเลี้ยงเด็กคนนึงคงไม่น่าเป็นเรื่องยากอะไร แต่พอมีลูกเองถึงรู้ว่าแค่การพูดยังไงให้ลูกยอมฟังเรา โดยเฉพาะเด็กวัย 2-5 ขวบ กลับกลายเป็นเรื่องที่ยากพอดู 7 เทคนิคพูดยังไงให้ลูกฟัง ที่อยากมาแชร์กันในวันนี้ เป็นวิธีที่เคยใช้ที่บ้านแล้วไม่ต้องแลกมาด้วยน้ำตาและไม่มีดราม่าเลยค่ะ

1. พูดให้สั้น เข้าใจง่าย และกระชับที่สุด

เด็กเล็กยังไม่สามารถเข้าใจหรือลำดับเรื่องราวต่างๆ ได้ดีเท่าเด็กโต ดังนั้นถ้าจะพูดหรืออธิบายอะไรสักอย่างให้เขาฟัง ให้อธิบายสั้นๆ ไม่ยืดเยื้อ และเข้าใจได้ง่ายที่สุด

2. เข้าใจและมองในมุมของลูกก่อน

การที่จะเข้าใจมุมของลูกได้ง่ายที่สุดคือ ให้ตัวเราลองมองย้อนกลับไปในช่วงที่เราอยู่ในวัยเดียวกับเขา ว่าตอนนั้นอะไรคือเรื่องใหญ่สำหรับเรา เราคิดและรู้สึกอะไรอยู่ในวัยนั้น เมื่อเราเข้าใจและเปิดใจ สิ่งที่เราพูด ลูกจะฟังมากขึ้นเพราะเขารู้สึกว่าแม่เข้าใจเขา

3. ไม่ต่อว่า สอน หรือตัดสินไปก่อน

เมื่อไหร่ที่เราพูดในเชิงต่อว่า สอน หรือตัดสินเขาไปก่อนแล้ว เช่น “ทำไมดื้อยังงี้ ทำไมไม่ฟังที่แม่พูดเลย” โอกาสที่ลูกจะฟังก็จะมีอยู่น้อย ถ้าเราต้องการที่จะสอนเขา ให้ฟังเรื่องราวในมุมของเขาก่อน เมื่อลูกรู้สึกว่าแม่ไม่ได้พยายามจะแก้ไขหรือตัดสินเขา การรับฟังในสิ่งที่เราต้องการที่จะให้เขาทำก็จะง่ายขึ้น

4. ไม่ตะโกนแต่เข้าไปพูดใกล้ๆ

แทนที่จะตะโกนให้ลูกทำอะไรสักอย่าง ให้เดินเข้าไปใกล้ๆ ลูก นั่งในระดับสายตาของเขาและบอกเขาด้วยน้ำเสียงเรียบๆ ไม่ใช้อารมณ์ ถึงสิ่งที่เราต้องการให้ลูกทำ วิธีนี้จะดีและได้ผลกว่าการที่เราตะโกนให้เขาทำอะไรสักอย่างนึง

5. พูดหรือเสนอสถานการณ์อื่นที่ทั้งเราและเขารับได้

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกกำลังกระโดดบนเตียงและเราไม่อยากให้ลูกกระโดดเพราะกลัวลูกจะพลัดตกลงมา การที่เราพูดว่า “อย่ากระโดดนะ” ไม่ได้ทำให้ลูกหยุดกระโดด แต่การเสนอแนวทางหรือวิธีอื่นให้ลูก เช่น เรามากระโดดกันตรงนี้ดีกว่า หรือเรามาเล่นอันนี้ดีกว่า จะช่วยให้ลูกหยุดฟังและทำตามมากขึ้น เพราะการกระทำของเขายังคงได้รับการตอบสนองอยู่

6. ชมนำทาง

เคยสังเกตไหมว่าบางทีที่เราเผลอพูดออกไปว่า “ทำไมลูกงอแงยังงี้” ซึ่งตอนนั้นสถานการณ์จริงๆ อาจไม่ได้เกิดจากที่เขาเป็นเด็กที่งอแง แต่เกิดจากที่เขาหิวหรือง่วงก็ได้ แต่คำพูดของเราไปกำหนดลูกเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าเขาเป็นเด็กที่ “งอแง” โอกาสที่ลูกจะงอแงไปตามคำพูดของเรา ก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าปกติ เช่นเดียวกันกับคำชม เมื่อไหร่ที่เราชมลูก ว่าเขาเป็นเด็กที่มีเหตุผล เป็นเด็กที่อดทน มีระเบียบวินัย โอกาสที่เขาจะเป็นไปตามสิ่งดีๆ ที่เราพูดเกี่ยวกับตัวเขา ก็จะมีมากขึ้น ฉะนั้นการชมก่อนจะพูดในสิ่งที่เราอยากจะให้ลูกทำ จะช่วยให้เขายอมทำในสิ่งที่เราต้องการได้มากขึ้น

7. ไม่ใช้อารมณ์

เมื่อไหร่ก็ตามที่เรายังมีอารมณ์หงุดหงิด ตวาดหรือเสียงดังใส่ลูก ไม่ว่าจะใช้วิธีไหนก็ตามในการพูดกับเขา ผลลัพธ์ที่ได้คือลูกมักจะไม่ฟังเรา ก่อนที่จะพูดยังไงให้ลูกยอมฟัง ตัวเราควรควบคุมอารมณ์ให้ได้เสียก่อน ให้คิดไว้เสมอค่ะว่า การสอนวินัยหรือการพูดให้ลูกยอมทำในสิ่งที่เราต้องการ เป็นสิ่งที่ต้องใช้ความเข้าใจ ใช้เวลา และใช้ใจที่เย็นพูดคุยกันค่ะ

Writer Profile : Tuk LittleMonster

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
ข่าว ข่าว
กลับมาสร้างความสุขให้น้องๆ หนูๆ และทุกคนในครอบครัวกันอีกครั้งตามคำเรียกร้อง กับโชว์ที่ทุกคนรอคอย ดิสนีย์ ออน ไอซ์ (Disney On Ice) สุดยอดการแสดงบนลานน้ำแข็งระดับโลกของเหล่าตัวการ์ตูนดังจาก วอลท์ ดิสนีย์ เตรียมออกเดินทางผจญภัยสู่โลกแห่งจินตนาการอันมหัศจรรย์ บนเส้นทางแห่งความทรงจำสุดสนุกไปกับ มิคกี้ เมาส์ และผองเพื่อนอีกมากมาย ในตอน “ดิสนีย์ ออน ไอซ์ พรีเซ้นท์ส มิคกี้ แอนด์ เฟรนด์ส” (Disney On Ice Presents Mickey and Friends มาร่วมสัมผัสความมหัศจรรย์ของโลกแห่งจินตนาการ รอยยิ้มแห่งความสุข  ผ่านการเดินทางผจญภัยของ มิคกี้ เมาส์ และผองเพื่อน มินนี่ เมาส์, โดนัลด์ ดั๊ก และกู๊ฟฟี่ เพื่อค้นหาความทรงจำที่ประทับอยู่ในใจของเขาตลอดกาล ผ่านเรื่องราวการ์ตูนดิสนีย์ พร้อมแบ่งปันช่วงเวลาดีๆ ที่น่าจดจำจากนิทานอันล้ำค่า ไปกับเหล่าตัวการ์ตูนดิสนีย์ที่ทุกคนชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็น “โมอาน่า” (Moana), “เมาอิ” (Maui), “แอนนา” (Anna) และ “เอลซ่า” (Elsa), และสัมผัสกับเรื่องราวมหัศจรรย์ เวทมนตร์อันลึกลับของ “แฟนเทเชีย” (Fantasia) เมื่อนักเวทย์ฝึกหัด กับการแสดง “ดิสนีย์ ออน ไอซ์ พรีเซ้นท์ส มิคกี้ แอนด์ เฟรนด์ส” (Disney On Ice Presents Mickey and Friends) บัตรพร้อม ลูกพร้อม ก็ไปกันเลยค่า ลุย!! 🗓ระหว่างวันที่ 23 -…
21 กุมภาพันธ์ 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save