fbpx

ลูกต้องอายุเท่าไหร่กันนะ เราถึงคุยเรื่องเพศกันได้

Writer : blahblahboong
: 10 กรกฏาคม 2561

เรื่องเพศ เป็นเรื่องที่เราต่างก็มีความเหนียมอายที่จะหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวข้อเพื่อพุดคุยกัน โดยเฉพาะกับคนในครอบครัว แต่คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านต่างก็รู้กันอยู่แล้วใช่ไหมคะว่าอย่างไรก็ตามลูกของเราต่างก็เรียนรู้เรื่องเหล่านี้มาจากทางอินเทอร์เน็ต หรือในวงสนทนากับเหล่าเพื่อนฝูงของตัวเค้าเอง

แต่มันจะดีแค่ไหนคะ ถ้าหากว่าลูกกล้าที่จะเปิดอกคุยเรื่องเพศอย่างเปิดเผยกับพ่อแม่อย่างเรา แล้วเรื่องแบบนี้เราควรจะพูดคุยกันตั้งแต่อายุเท่าไหร่ แล้วโตแค่ไหนถึงจะลงลึกเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ได้ เรามาลองดูกันแบบคร่าวๆ กันค่ะ

0 – 3 ขวบ ทำความรู้จัก

เริ่มพูดคุยเกี่ยวกับการเรียกชื่ออวัยวะต่างๆ คุณพ่อคุณแม่อาจจะเริ่มต้นจากอวัยวะพื้นฐานอย่าง ตา, หู, จมูก, ปาก ไล่เรียงไปเรื่อยๆ จนถึงในส่วนของอวัยวะเพศ ค่อยๆ อธิบายถึงความแตกต่างว่า “ตรงนี้เรียกว่า “จุ๋มจิ๋ม” คุณแม่ก็มีนะคะเหมือนหนูเลย เพราะเราเป็นผู้หญิงไงล่ะ ส่วนคุณพ่อเค้าเป็นผู้ชายเค้าเลยมีไม่เหมือนเราจ๊ะ” อะไรประมาณนี้ก็ได้ค่ะ และเริ่มสอนสอดแทรกไปว่า ร่างกายนั้นเป็นของเรา อย่าให้ใครมาแตะต้องโดยที่เราไม่ยินยอม พยายามค่อยๆ สอนให้ลูกรู้จักรักและปกป้องสิทธิของร่างกายตนเองค่ะ

3 – 5 ขวบ ถามและพูดคุย

การสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญค่ะ ยิ่งเราพูดคุยกันมากเท่าไหร่เราก็ยิ่งเข้าใจกันมากขึ้น ในช่วงอายุประมาณนี้เราสามารถให้ลูกพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเพศอย่างเปิดเผยกับเราได้ อย่างเช่นตอนที่เราดูหนังหรือละครที่มีฉากล่อแหลมอย่าง จับมือ, กอด, จูบ ซึ่งในระหว่างที่เราดูกับลูกนั้นเราอาจจะถามความคิดเห็นกับเค้าว่า “รู้สึกยังไงกับฉากนี้ อยากทำแบบเค้าไหม” จะทำให้เรารู้ได้ว่า ลูกมีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องเพศและความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่

รวมถึงเริ่มเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเกิดมาของเค้าแบบคร่าวๆ ประมาณว่า “เพราะ พ่อกับแม่รักกันถึงมีลูกออกมา” การที่คุณพ่อคุณแม่เริ่มพูดคุยเรื่องเพศกับลูกทำให้ลูกมองว่าเรื่องแบบนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความไว้วางใจให้เค้ากล้าที่จะเปิดใจคุยเรื่องนี้กับเรา แต่ก็ต้องทำความเข้าใจกันเพิ่มเติมนะคะ ว่าเรื่องพวกนี้ให้คุยกันได้เฉพาะกับพ่อแม่และภายในบ้านของเราเท่านั้น

5 – 8 ขวบ เรียนรู้ความหลากหลาย ยอมรับในความแตกต่าง

ในโลกใบนี้มีเพศสภาพที่หลากหลาย และยังมีอีกมากมายที่เราไม่สามารถนิยามได้อย่างชัดเจน ดังนั้นเราควรเริ่มค่อยๆ บอกให้ลูกได้รู้เกี่ยวกับเพศต่างๆ เช่น เรื่องของ LGBT เพื่อให้เค้าเข้าใจในความแตกต่างเหล่านี้และไม่เกิดการแบ่งแยก หรือเหยียดความเป็นตัวตนของผู้อื่น และยิ่งถ้าเค้าเติบโตขึ้นมาเป็นในสิ่งที่ไม่ตรงกับเพศสภาพของตัวเอง การที่พ่อแม่คอยสอนและบอกว่ารักเค้าไม่ว่าเค้าจะเป็นอะไรก็ตาม ทำให้เค้ามีความเชื่อมั่นโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็ง เต็มเปี่ยมไปด้วยความภูมิใจในตัวเองค่ะ

8 – 10 ขวบ ถามให้น้อยลง แต่ให้ความรู้มากขึ้น

เป็นธรรมดาที่พ่อแม่อย่างเราจะอยากรู้ในทุกๆ เรื่องของลูก ยิ่งในวัยที่กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยรุ่นแล้วเราก็ยิ่งเป็นห่วงมาขึ้นไปอีก เป็นห่วงมากก็ถามมาก อันนี้เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องหักห้ามใจบังคับตัวเองให้ได้นะคะ โดยธรรมชาติแล้วเด็กวัยนี้มักจะเริ่มมีโลกส่วนตัวของตัวเอง ไม่ชอบให้ใครมาถามอะไรมากมาย สิ่งที่จะทำให้เราใกล้ชิดกันมากขึ้นจะเป็นก็สอน การให้ข้อมมูลมากกว่า

จริงอยู่ที่ลูกอาจจะเริ่มเรียนรู้เรื่องเพศจากเพื่อนๆ ในชั้นเรียน แต่ก็มีอีกหลายอย่างที่เด็กๆ นั้นยังไม่รู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ความเปลี่ยนแปลงต่างๆของร่างกาย การมีประจำเดือน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ความหมายของความสัมพันธ์ที่ยืนยาวอย่างการแต่งงาน ด้วยความที่เราเป็นผู้ใหญ่ประสบการณ์และมุมมองของเรานั้นเป็นสิ่งที่เด็กจะให้ความสนใจ ลองหยิบยกเรื่องของความรักมาพูดคุยกันบ้าง เตือนกันอย่างนุ่มนวลในเรื่องที่ไม่ดี เท่านี้ก็เป็นการลดช่วงว่างระหว่างเราได้แล้วค่ะ

9 – 12 ขวบ อยากมีความสัมพันธ์ที่ดีต้องทำอย่างไร

วัยนี้ถือว่าเป็นวัยสุ่มเสี่ยงสำหรับชีวิตของเด็ก จัดว่าเป็นอีกหนึ่ง Turning Point ของชีวิต พ่อแม่ควรเฝ้ามองเค้าอย่างใกล้ชิดแต่ไม่เข้าไปก้าวก่ายมาจนเกินไปจนเค้ารู้สึกไม่สบายใจ อีกเรื่องที่จะต้องเริ่มจับเข่าคุยกันอย่างจริงจังก็คือเรื่อง เพศสัมพันธ์ ควรสอนให้เค้าเข้าใจถึงความหมายและจุดประสงค์ของความสัมพันธ์แบบต่างๆ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “การรักตัวเอง”

แน่นอนว่ารวมไปถึงการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ผู้ใหญ่หลายท่านมักจะหลีกเลี่ยงในการพูดถึง แต่มันเป็นเรื่องที่ต้องคุยกันค่ะ เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาในภายหลัง

13 – 18 ขวบ เรื่องของความสุข

พอถึงวัยนี้เด็กๆ แทบทุกคนก็จะมีความรู้ในเรื่องของเพศศึกษาในระดับที่เกือบจะเต็มเปี่ยมแล้ว ทั้งเรื่องความการป้องกัน โรคภัยต่างๆ สิ่งที่เราจะสอนเค้าได้ในวัยนี้คงจะเป็นเรื่องของ “ความสุข” เราทุกคนสามารถมีความสุขได้ในทุกความสัมพันธ์ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็มีจำนวนไม่น้อยเลยนะคะที่ความสัมพันธ์ในช่วงวัยนี้จะกลายเป็นความสัมพันธ์ที่ยาวนานถึงแต่งงานสร้างครอบครัวกันในอนาคตเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตามเราก็ควรที่จะพูดคุยกับเค้าในเรื่องที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นอย่าง ความแตกต่างระหว่าความรักหรือแค่กิเลสตัณหาที่มาบังตาเท่านั้น

18+ ไม่ว่ายังไงเรายังมีกัน

ผ่านพ้นช่วงวัยรุ่นไปแล้ว ถึงเวลาที่เด็กน้อยของเราจะได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างเต็มตัวเสียที ในเวลาที่ผู้ใหญ่แล้วหลายๆ คน มันจะคิดว่าตัวเองจะต้องเข้มแข็งและยืนหยัดปกป้องดูแลครอบครัวด้วยสองมือของตัวเอง แต่รู้หรือไม่คะ พ่อแม่ของเรานั้นท่านไม่ได้หายไปไหน ท่านยังคงอยู่คอยสนับสนุนเราไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม ในวันที่โลกนี้จะเลวร้ายสักแค่ไหน บ้านของเราก็ยังคงเป็นบ้านหลังเดิมที่พร้อมจะเติมความอบอุ่นให้แก่กันและกันเสมอค่ะ

สุดท้ายนี้อยากจะบอกว่าเรื่องของเพศ ไม่ใช่เรื่องที่ต้องมามัวเขินอายไม่เอามาพูดถึงกัน แล้วก้ไม่ใช่เรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นเพื่อทำร้ายคนอื่น อยากให้มองว่า เรื่องเพศนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ ที่ทุกคนสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ เริ่มจากวันนี้นะคะ เพื่ออนาคตแล้วความพันธ์ที่ยั่งยืนของครอบครัวเราค่ะ

Writer Profile : blahblahboong

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ความสุขของ คนเป็นพ่อ คืออะไร?
ชีวิตครอบครัว
Update
12 ตุลาคม 2567

12 ตุลาคม 2567
12 ตุลาคม 2567
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save