fbpx

เช็คด่วน!! สัญญาณที่บอกว่าลูกอาจเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม

Writer : nunzmoko
: 7 มิถุนายน 2562

แอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (Asperger’s Syndrome) เป็นอีกหนึ่งโรคที่ไม่ควรมองข้าม เป็นกลุ่มอาการที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาท เกี่ยวข้องกันกับโรคออทิสติค ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับการแสดงออกทางพฤติกรรมและการพูด ซึ่งถ้าลูกรักเราเป็นโรคนี้คงไม่ดีแน่ ไปดูกันว่าพฤติกรรมและลักษณะอาการของเด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์เป็นยังไงและจะมีวิธีดูแลเด็กได้อย่างไรบ้างค่ะ

1. ทักษะด้านภาษา

เด็กจะมีการพูดและทักษะการใช้ภาษาอยู่ในเกณฑ์ปกติ เด็กอาจพูดได้ถูกหลักไวยากรณ์ แต่ไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่ลึกซึ้งหรือความหมายโดยนัยที่แฝงอยู่ เช่น

  • ไม่เข้าใจมุกตลก คำล้อเลียน และคำประชดประชันต่างๆ
  • ชอบพูดคุยกับผู้ใหญ่แบบเป็นทางการ เกินกว่าอายุของลูก
  • ไม่เข้าใจคำพูด หรือ คำสั่งรายละเอียดปลีกย่อย
  • มักชอบพูดซ้ำๆ เรื่องเดิมๆ ที่ตนเองสนใจ

2. ทักษะด้านสังคม

จะสังเกตได้ว่าเมื่อเด็กต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ อาจมีพฤติกรรมการแสดงออกที่ดูแปลกกว่าเด็กวัยเดียวกัน เช่น

  • ไม่ค่อยมองหน้าหรือสบตาเวลาพูดคุย
  • แยกตัวอยู่คนเดียว ไม่ค่อยสนใจบุคคลรอบข้าง
  • เล่นกับเด็กคนอื่นไม่ค่อยเป็น ไม่รู้จักการทักทาย
  • พอเจอปุ๊บอยากถามอะไร อยากรู้อะไรก็จะพูดโพล่งออกมา ไม่มีการเกริ่นนำ ถามเรื่องที่สนใจโดยไม่เสียเวลา
  • ไม่ค่อยรู้จักกาลเทศะ เรื่องที่พูดคุยมักเป็นเรื่องของตนเองมากกว่าเรื่องอื่นๆ
  • ขาดความเข้าใจหรือเห็นใจผู้อื่น

3. ด้านพฤติกรรม

เด็กจะมีความสนใจเฉพาะเรื่องและชอบทำอะไรซ้ำๆ ถ้าเขามีความสนใจอะไรก็สนใจมากจนถึงขั้นหมกมุ่น โดยเฉพาะกับเรื่องที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน และอาจเป็นเรื่องที่คนอื่นไม่สนใจ พฤติกรรมที่บ่งบอก เช่น

  • ประสาทสัมผัสช้า
  • ชอบที่จะจดจ้องไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป จดจ่ออยู่กับสิ่งเหล่านั้นเป็นชั่วโมงๆ โดยไม่สนใจสิ่งใดรอบข้างเลย
  • มีความไวต่อสิ่งเร้าที่มาจากภายนอกค่อนข้างมากกว่าคนทั่วไป
  • ทำอะไรเป็นเวลา ต้องทำให้เหมือนๆ กันเป็นกิจวัตรประจำวัน เช่น ต้องตื่นตอน อาบน้ำ เป็นต้น
  • ไม่ค่อยยอมทำตามคำสั่งที่ผู้ปกครองคอยสอน
  • มีความผิดปกติออกทางร่างกายหรือสีหน้า ชอบทำท่าทางหรือสีหน้าที่ผิดปกติ
  • พัฒนาการช้ากว่าวัย เช่น เขียนหนังสือ ขี่จักยานช้า

ข้อแนะนำในการช่วยเด็กที่มีภาวะเป็นแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม

  1. เล่นกับเด็กโดยเอาความสนใจของเด็กเป็นที่ตั้ง แล้วค่อยๆ ขยายความสนใจเหล่านั้นไปในแง่มุมอื่นๆ
  2. สนทนากับเด็กด้วยคำง่ายๆ ชัดเจน เป็นสถานการณ์จริงหรือรูปภาพ จะทำให้เด็กเข้าใจง่ายและเกิดการเรียนรู้ได้เร็ว
  3. การใช้คำสั่งกับเด็กต้องมีความสม่ำเสมอ คงเส้นคงวาไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย
  4. สนับสนุนให้เด็กเข้าเรียนร่วม ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
  5. สนับสนุนกิจกรรมหลากหลายเพื่อให้เด็กได้มีประสบการณ์ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อลดความสนใจและความเคยชินที่ซ้ำๆ

 

ที่มา – นพ.จอม ชุมช่วย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



5 เคล็ดลับทำให้ลูกชอบกินผัก
เด็กอายุ 2-5 ขวบ
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save