fbpx

DO&DON’T ไขข้อข้องใจ ป้อนยาลูกอย่างไรให้ถูกต้อง

Writer : Phitchakon
: 19 สิงหาคม 2565

“ผสมยาลงในขวดนมได้ไหม” “ลืมให้ยาก่อนอาหารทำไงดี” “ลูกแหวะออกมาหมดเลยหลังกินยา แบบนี้ต้องป้อนยาซ้ำหรือเปล่า”

ลูกป่วยทีไรหัวใจว้าวุ่น ถึงจะผ่านพ้นด่านการวัดไข้ และพบคุณหมอมาได้ก็ต้องเผชิญหน้ากับด่านสุดหินอย่างการป้อนยา เชื่อเลยว่าทุกครั้งที่จับกระบอกฉีด คว้าถ้วยป้อน มองลูกรักที่กำลังกอดอกทำท่าปั้นปึ่ง คุณพ่อคุณแม่คงจะมีคำถามเกิดขึ้นในใจมากมาย ทำอะไรได้บ้างไม่ได้บ้างสับสนไปหมด

วันนี้ Parents One รวบรวมทุกความสงสัยมาทำให้กระจ่าง เพื่อการป้อนยาที่คุณพ่อคุณแม่สบายใจหายเครียด ปลอดภัยไร้กังวล ถ้าพร้อมแล้วเรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ

หากต้องผสมยากลบรสชาติ

✗ DON’T ผสมในขวดนม 

✓ DO ผสมน้ำหวาน หรือน้ำผึ้ง 

การผสมยาลงในขวดนมเป็นวิธีที่พ่อแม่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถสับขาหลอกเจ้าตัวน้อยได้แบบแนบเนียน แต่ในความเป็นจริงแล้ววิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องนะคะ เพราะแคลเซียมในนมจะไปจับตัวยา ทำให้ยาไม่ออกฤทธิ์ และหากเด็กๆ ดูดนมไม่หมด ยังจะได้รับปริมาณยาคลาดเคลื่อนอีกต่างหาก

ถ้าจำเป็นจะต้องผสมยาเพื่อแต่งรสให้ทานง่ายขึ้น แนะนำเป็นการใช้น้ำหวานหรือน้ำผึ้งจะดีกว่า และคุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกยกดื่มจนหมดเกลี้ยงนะคะ  

  

✗ DON’T  ป้อนยาขณะเด็กดิ้นหรือร้องไห้  

✓ DO รอให้สงบ  

พ่อแม่บางท่านอาจเล่นทีเผลอ อาศัยจังหวะที่เด็กร้องไห้โยเย หรือดิ้นพล่านไปมาจับกรอกยาใส่ปาก วิธีนี้เป็นวิธีที่อันตรายมากค่ะ มีความเสี่ยงสูงที่เด็กจะสำลัก ควรรอให้ลูกสงบลงเสียก่อนแล้วจึงป้อนยา  

 

✗ DON’T  หลอกลูกว่ายามีรสหวาน  

✓ DO อธิบายด้วยเหตุผล  

รสชาติของยาเป็นอย่างไร เมื่อลูกกินยาเข้าไปก็จะรับรู้ได้ทันที ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรหลอกว่ายามีรสหวานตั้งแต่แรก ถึงแม้จะทำให้ลูกยอมกินได้ในครั้งนี้ แต่ลูกจะเกิดความไม่ไว้วางใจ และไม่อยากจะกินยาอีกเลย ทำให้การป้อนยาครั้งต่อไปยุ่งยากมากกว่าเดิม ทางที่ดีควรนั่งพูดคุยกัน อธิบายด้วยเหตุผลว่าทำไมลูกถึงต้องกินยา  

 

เมื่อป้อนยาด้วยกระบอกฉีด

✗ DON’T ฉีดยาลงคอโดยตรง  

✓ DO ฉีดไปที่ข้างกระพุ้งแก้ม 

เวลาใช้กระบอกฉีด (Syringe) ป้อนยาควรฉีดตัวยาไปบริเวณกระพุ้งแก้ม ปล่อยให้ตัวยาไหลลงไปเอง ไม่ใช่ฉีดลึกลงไปในลำคอโดยตรง เพราะจะทำให้เด็กสำลัก กลายเป็นประสบการณ์ที่ไม่ดีในการกินยา คราวต่อไปอาจกลัว และไม่ยอมให้ความร่วมมือในการป้อนยาอีก  

 

เมื่อลืมป้อนยามื้อใดมื้อหนึ่ง

✗ DON’T ป้อนยาซ้ำเพราะลืมกินยา  

✓ DO ข้ามยามื้อนั้นไปก่อน  

ยาแต่ละชนิดมีการระบุช่วงเวลาที่ต้องกินอยู่ชัดเจน สำหรับยาก่อนอาหาร ถ้าเกิดว่าลืมป้อนยาลูกให้ข้ามยามื้อนั้นไปก่อนได้เลย และไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณการป้อนยาในครั้งถัดไป ส่วนยาหลังอาหาร ถ้ารับประทานอาหารมายังไม่เกิน 30 นาที สามารถป้อนยาได้ แต่ถ้าเกินไปกว่านี้ ควรรอมื้อถัดไป และไม่ต้องเพิ่มปริมาณการป้อนยาในครั้งถัดไป  

 

เมื่อลูกอาเจียนขณะป้อนยา

✗ DON’T ป้อนยาซ้ำเพราะลูกอาเจียน 

✓ DO พิจารณาระยะเวลาเสียก่อน ถ้าอาเจียนทันทีสามารถให้ซ้ำได้ แต่ถ้าอาเจียนหลังจากนั้น ควรข้ามไปก่อน  

การอาเจียนหลังกินยาเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง หากป้อนยาแล้วลูกอาเจียนให้พิจารณาระยะเวลาระหว่างเริ่มป้อนยากับตอนอาเจียน ถ้าอาเจียนทันทีหลังป้อนยาก็สามารถให้ยาซ้ำได้ แต่ถ้าลูกอาเจียนหลังจากนั้นสักพัก ให้ข้ามยามื้อนั้นไปก่อน เพื่อป้องกันการได้รับยาเกินขนาด  

  

เมื่อลูกต้องกินยาหลายขนาน

✗ DON’T ผสมยาทุกขนานรวมกัน  

✓ DO ป้อนยาทีละขนาน

“ไหนๆ กินยาก็ต้องลงไปรวมกันในท้องอยู่ดี แบบนี้ผสมยาทุกตัวที่ต้องกินรวมกันเลยได้ไหมนะ จะได้ไม่เสียเวลา ไม่ต้องสู้ไม่ต้องงัดกับลูกเพื่อป้อนยาหลายรอบด้วย” คำตอบคือไม่ได้เด็ดขาดเลยค่ะ เพราะยาอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างกัน มีทั้งลดฤทธิ์ของตัวยา ทำให้กินยาเท่าไรก็ไม่ดีขึ้น และมีการเพิ่มฤทธิ์ของยาจนเป็นอันตรายร้ายแรงได้  

 

✗ DON’T ข่มขู่ ดุด่าจนลูกหวาดกลัว  

✓ DO ใจเย็น กล่าวชื่นชม อุ้มปลอบใจ  

ทุกครั้งที่ลูกดื้อ พูดไม่ฟัง แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่จะต้องมีน้ำโห แต่ขอให้คุณพ่อคุณแม่อดทนเข้าไว้ ยิ่งเราแสดงความโกรธ ยิ่งใช้อารมณ์ก็มีแต่จะทำให้ลูกต่อต้าน พยายามที่จะเอาชนะมากขึ้นไปอีก คุณพ่อคุณแม่ควรใจเย็นๆ ใช้วิธีละมุนละม่อม ค่อยพูดค่อยจา และเมื่อลูกยอมกินยา ควรกล่าวชื่นชมทุกครั้งเป็นกำลังใจที่เขาสามารถก้าวข้ามผ่านความกลัวได้สำเร็จ 

 

✗ DON’T ซื้อยาให้ลูกเอง  

✓ DO ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร  

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรซื้อยาให้ลูกกินเอง โดยเฉพาะกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกชนิด รวมถึงไม่ควรตัดสินใจหยุดยา หรือเลิกใช้ยาเอง ควรกินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด 

ด้วยความที่ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กเล็กยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้เด็กเล็กเป็นช่วงวัยที่เสี่ยงต่อการป่วยได้ง่ายที่สุด ในขณะเดียวกันก็เป็นวัยที่มีโอกาสจะเกิดอันตรายจากการกินยาได้ง่ายเช่นเดียวกัน จึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

นอกเหนือไปจากข้อปฏิบัติเหล่านี้ ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณการให้ยา การใช้ยาในเด็กเล็กอีกมากที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องศึกษาเพิ่มเติม หรือปรึกษาคุณหมอ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัย และสุขภาพร่างกายของเจ้าตัวเล็กเองนะคะ 

และถ้าหากว่ามีเกร็ดความรู้เรื่องใดที่น่าสนใจอีก รับรองว่า ParentsOne จะนำมาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านอีกแน่นอนค่ะ

ที่มา : 

Writer Profile : Phitchakon

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



7  โรคเด็กที่ต้องเฝ้าระวังในหน้าฝน
ข้อมูลทางแพทย์
Update
Banner Banner
Live Action เรื่องล่าสุดจาก Disney ที่หลายๆคนรอคอยไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เคยรับชมการ์ตูนในวัยหวานหรือแม้แต่คุณน้องคุณหนูที่หลงรักโลกใต้ท้องทะเลก็ตาม ใช่แล้วล่ะค่ะ เรากำลังพูดถึง “The Little Mermaid” หรือ “เงือกน้อยผจญภัย” ที่หยิบยกกลับมาทำใหม่ในเวอร์ชันคนแสดงในปีนี้ โดยมีนักร้องสาว “ฮัลลี เบลลีย์” รับบทนางเงือกน้อย “แอเรียล” พร้อมเป็นตัวแทนส่งเสียงบอกกับเด็กหญิงชายทั่วโลกว่า “ใครก็เป็นเจ้าหญิงได้”  หยิบกลับมาทำใหม่ ตีความใหม่ในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนแบบนี้ ใครๆ ก็ต้องตื่นเต้นอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อย ข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสำหรับเด็กๆ หรือไม่ ลองไปดูกันเลย! เรื่องราวของนางเงือกน้อยแสนซน “แอเรียล” ธิดาคนสุดท้องของราชาไตรตันเจ้าแห่งโลกใต้สมุทรเธอมีความหลงใหลในโลกมนุษย์และใฝ่ฝันว่าอยากจะเดินเหินอย่างผู้คนบนดินแม้พ่อจะพยายามกีดกันเธอเท่าไรก็ตาม วันหนึ่งเธอบังเอิญได้พบกับ “เจ้าชายอีริค” และตกหลุมรักเขาเข้าอย่างจัง เธอจึงได้ทำข้อตกลงกับแม่มดทะเล “เออซูลาร์” เพื่อแลกเสียงอันไพเราะกับขาอย่างมนุษย์โดยมีข้อแม้ว่าเธอจะต้องได้รับจุมพิตจากเจ้าชายไม่เช่นนั้นเธอจะกลับมาเป็นเงือกและกลายเป็นทาสของเออซูลาร์ตลอดไปการออกเดินทางทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจเพื่อใช้ชีวิตอย่างที่ฝันจึงได้เริ่มต้นขึ้น เติมเต็มหัวใจที่ยังเปี่ยมไปด้วยความทรงจำของวัยเยาว์ ส่งต่อความกล้าหาญให้หนูน้อยเชื่อมั่นในตัวเอง และสิ่งที่ฝัน จูงมือลูกรักไปดู “The Little Mermaid” ได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์! ชมตัวอย่าง : https://www.youtube.com/watch?v=AS0vop2rgFo การ์ตูนเรื่องนี้เหมาะกับเด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป แม้จะมีเค้าโครงเรื่องหลักๆ มาจากการ์ตูนเงือกน้อยแอเรียลแบบต้นฉบับทั้งหมด แต่พอมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ทวีคูณความจริงจังให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมพื้นเพตัวละคร เสริมเนื้อเรื่องเพิ่มประเด็นให้มีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม จึงบอกได้ว่าเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยเหมาะกับเด็กเล็กๆ เท่าไร ถึงอย่างนั้นเด็กๆก็ยังสามารถสนุกสนานกับกลิ่นอายของเทพนิยายชวนฝันเพลิดเพลินกับภาพบรรยากาศโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงามสุดแสนจะแฟนตาซี รับประกันว่ากระตุ้นจินตนาการเรียกความตื่นตาตื่นใจจากเจ้าตัวน้อยแน่นอน เรื่องที่ต้องระวัง มีความรุนแรงและฉากน่ากลัว อย่างที่บอกไปว่า Live Action เวอร์ชันนี้ มีความดาร์ก ความสมจริงเพิ่มเข้ามา เรื่องความรุนแรงต่างๆ ฉากต่อสู้ ฉากปะทะ หรือหน้าตาของเหล่าสัตว์ร้ายใต้ทะเล อาจทำให้เด็กๆ ไม่สบายใจ หรือตื่นกลัวได้ แถมยังมีจังหวะตกใจ (Jump…
25 พฤษภาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save