fbpx

7 แนวคิดการเลี้ยงลูกแบบแม่บ้านญี่ปุ่น

Writer : nunzmoko
: 12 มิถุนายน 2561

คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมเด็กน้อยชาวญี่ปุ่นช่างน่ารัก ฉลาด ดูมีวินัย ไม่ค่อยงอแง สามารถรับผิดชอบตัวเองได้ตั้งแต่ยังเล็ก เห็นแบบนี้ก็อยากให้ลูกรักเป็นเด็กดีแบบนั้นบ้าง แล้วคุณพ่อคุณแม่จะต้องทำอย่างไร ถึงเลี้ยงลูกได้อย่างมีคุณภาพแบบแม่บ้านญี่ปุ่นบ้าง คำตอบก็ คือแม่ญี่ปุ่นเลี้ยงลูกแบบธรรมชาติ อาจจะสงสัยว่าแบบธรรมชาติคือการเลี้ยงแบบไหน ไปหาคำตอบพร้อมๆ กันเลยค่ะ

1. แม่ญี่ปุ่นส่วนใหญ่เลี้ยงลูกด้วยตัวเอง

คุณแม่ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังนิยมดูแลครอบครัวด้วยตัวเอง จะเห็นได้จากเมื่อสาวญี่ปุ่นแต่งงานและมีลูกก็จะลาออกจากการทำงานเพื่อมาดูแลครอบครัว เมื่อแม่ต้องเลี้ยงลูกและต้องดูแลงานบ้านไปด้วย ลูกน้อยก็จะได้อยู่กับแม่ตลอดเวลา เห็นการดำเนินชีวิต ทั้งคลานทั้งเดินตามแม่ไปรอบบ้าน ไม่ว่าแม่จะซักผ้า ตากผ้า ทำอาหาร ล้างจาน ลูกได้ดูผ่านตา เกิดการจดจำและเรียนรู้ แบบที่ทฤษฎีบอกเสมอว่า เด็กเล็กเรียนรู้ผ่านการมองเห็น ได้ยิน จดจำ และเลียนแบบ เมื่อเด็กน้อยโตในระดับที่ควบคุมความเคลื่อนไหวของตัวเองได้พอสมควร คราวนี้แม่ทำอะไร ลูกน้อยก็จะขอเข้ามามีส่วนร่วม ช่วยคุณแม่หยิบนู่น จับนี่ได้ค่ะ

2. ฝึกลูกให้รู้จักพึ่งพาตนเอง 

ส่วนใหญ่เป้าหมายในการเลี้ยงลูกของชาวญี่ปุ่นคือ “ให้โตขึ้นแล้วเอาตัวเองรอดได้โดยไม่ต้องพึ่งพาพ่อแม่ตลอดไป” คนญี่ปุ่นจึงเลี้ยงลูกแบบไม่ประคบประหงมและฝึกให้เด็กพึ่งพาตัวเองได้ เด็กญี่ปุ่นส่วนมากเมื่ออายุได้ 2 ขวบ คุณพ่อคุณแม่จะลองปล่อยให้ลูกน้อยได้ช่วยเหลือตัวเองเท่าที่จะทำได้โดยดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ให้ลองใส่เสื้อผ้าเอง ตักข้าวกินเอง ขับถ่าย แปรงฟันเอง ติดกระดุม ฯลฯ เมื่อลูกๆ ทำได้จะได้รับคำชมเชย แต่ก็จะไม่เร่งรัดจนเกินไปค่ะ

3. ให้ลูกใช้การเดินเป็นหลัก

เด็กญี่ปุ่นทุกคนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาขึ้นไปต้องทางไปโรงเรียนเองไม่ว่าจะเป็นเด็กที่เรียนโรงเรียนรัฐบาลหรือเอกชน ไม่ว่าจะเป็นวันฝนตกหนัก พายุเข้าหรือหิมะตก แม้ว่ามีรถยนต์แต่ผู้ปกครองไม่นำรถยนต์มาใช้หากไม่จำเป็น เพื่อสอนลูกรู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องเจอในแต่ละวันด้วยตัวเอง ความตรงต่อเวลา และสร้างความรับผิดชอบ ซึ่งจะส่งผลดีกับชีวิตการทำงานในอนาคต

4. สอนลูกทีละน้อยแต่มีประสิทธิภาพ

เป็นธรรมดาของเด็กๆ ที่คงยังทำงานยากๆ ไม่ได้ ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกงานที่เหมาะ และไม่ยากเกินความสามารถของสอนลูก โดยทำเป็นตัวอย่างและอธิบายวิธีทำไปทีละขั้นตอนให้ชัดเจน ช่วงที่เพิ่งเริ่มต้น คุณพ่อคุณแม่ควรอยู่ใกล้ๆ เพื่อจะได้ช่วยเหลือเมื่อเกิดติดขัด และควรแบ่งงานเป็นส่วนเล็กๆ แล้วให้ลูกทำทีละน้อย จัดให้ทำทีละส่วน เพื่อให้ลูกทำงานได้ง่ายและสะดวกขึ้น ไม่รู้สึกเบื่อจนเลิกทำไปเสียก่อน คุณพ่อคุณแม่อาจจะใช้วิธีชวนลูกเล่นแข่งเก็บของเล่นใส่กล่อง หรือเกมพาน้องตุ๊กตากลับบ้าน (เก็บตุ๊กตาเข้าที่) แล้วบอกลูกว่า น้องตุ๊กตาเขาก็อยากไปนอนที่บ้านของเขาแล้วเหมือนกัน หรือพออยู่ในกล่องของเล่นของหนูจะได้อยู่ด้วยกัน ไม่หายไปไหนไง วิธีนี้ก็จะช่วยให้ลูกยินดีที่จะทำงานนี้มากขึ้นค่ะ

5. ย้ำเตือนหากหลงลืม

ถึงคุณพ่อคุณแม่จะตั้งใจ พยายามทำตามขั้นตอนทุกอย่างแล้วก็ตาม แต่ก็อย่าเพิ่งคาดหวังว่าลูกจะต้องทำหรือทำดีอย่างที่คุณสอนทุกครั้ง เด็กๆ อาจจะหลงลืมทำหน้าที่ของตัวเองหรือทำไม่เรียบร้อยอย่างที่เคยเป็นก็ได้ อธิบายขั้นตอนการทำงานนั้นอีกครั้ง และไม่ควรแก้ไขด้วยการบ่นว่าหรือตำหนิลูก เพราะนั่นจะทำลูกรู้สึกเบื่องานบ้านและคุณพ่อคุณแม่(ขี้บ่น)ได้ ต่อไปก็จะไม่สนใจฟัง ทางที่คุณพ่อคุณแม่ควรพูดดีๆ กับลูก เพื่อชักชวนให้เจ้าตัวเล็กมาทำกิจกรรมนี้ด้วยกันกับคุณอย่างเต็มใจจะดีกว่าค่ะ

6. ส่งเสริมให้ลูกมีความสามารถพิเศษ

เด็กญี่ปุ่นส่วนใหญ่เรียนพิเศษเพื่อให้มีความสามารถพิเศษเฉพาะตัวไม่ว่าจะเป็นด้านดนตรี ศิลปะหรือกีฬา ซึ่งหากเป็นด้านดนตรีเด็กๆ จะต้องมีการแสดงใหญ่ให้ผู้ปกครองได้ชมทุกปีดังนั้น ทุกคนต้องฝึกซ้อมดนตรีอย่างสม่ำเสมอและจริงจัง เช่นเดียวกับการเล่นกีฬาโดยส่วนใหญ่จะมีการจัดแข่งขันตามที่ต่างๆ ซึ่งใกล้หรือไกลบ้านอยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อพัฒนาทักษะการกีฬาให้แก่เด็กๆ

7. สอนให้ลูกมีจิตสาธารณะ

เมื่อเด็กมีความผูกพันกับชุมชน และสังคมที่เขาอาศัยอยู่ ทำให้เด็กเห็นแก่ผลประโยชน์ของส่วนรวมมาก่อนผลประโยชน์ส่วนตน โดยถือว่าเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องร่วมกันทำ การเห็นประโยชน์ส่วนรวมมาก่อนทำให้ชาวญี่ปุ่นเป็นคนมีระเบียบ เช่น การต่อแถวไม่มีการแซงคิว หรือการทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางการร่วมแรงร่วมใจกันในงานกิจกรรมของชุมชน ฯลฯ

แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะมีเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย แต่คนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าการให้ลูกได้รู้จักความลำบากบ้างจะช่วยสร้างความอดทน ความเพียรพยายามและการเรียนรู้เพื่อปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม เพื่อเด็กจะได้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตค่ะ

ที่มา – www.tnews.co.th

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เด็กวัยเข้าโรงเรียน เด็กวัยเข้าโรงเรียน
14 กรกฏาคม 2560
7 เทคนิค พูดยังไงให้ลูกฟัง
ชีวิตครอบครัว
ของเล่นที่มีขายใน 7-11
ช่วงวัยของเด็ก
วิธีรับมือเมื่อลูกอาละวาด
เด็กอายุ 2-5 ขวบ
10 อันดับหนังที่เหมาะกับเด็ก
กิจกรรมของครอบครัว
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save