fbpx

ลูกวัย 0-3 ขวบ ชอบหยิก กัด ตี เราจะสอนลูกอย่างไรดีนะ?

Writer : Jicko
: 23 พฤศจิกายน 2564

เด็กๆ วัย 0-3 ปี บางครั้งเองก็ชอบแกล้งหรือทำร้ายคนอื่นๆ เช่น ปาของใส่ หรืออยู่ดีๆ ก็มาตี หรือกัดเพื่อน โดยที่เราเองก็สงสัยนะคะว่า ที่ลูกทำไปนั้นเขาตั้งใจหรือไม่ตั้งใจกันแน่ เพราะเวลาเขาทำสิ่งเหล่านั้นเขามักจะสนุกสนานกับมัน หัวเราะคิกคัก หากบ้านไหนเป็นแบบนี้วันนี้เรามีวิธีการสอนที่ถูกต้อง “จากคุณหมอ เมริษา ยอดมณฑป นักจิตวิทยา” มาฝากกันค่ะ มาดูกันว่าพ่อแม่อย่างเราจะสามารถทำอะไรได้บ้าง ไปดูกันเลย!

ทำไมเด็กช่วง 0-3 ขวบ ถึงชอบทำร้ายคนอื่น แบบไม่มีสาเหตุ

  • เป็นวัยที่ยังสื่อสารได้ไม่ดี ยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
  • อยู่ในวัยที่ทดสอบร่างกายว่าเขาทำอะไรได้บ้าง
  • เป็นการเรียกร้องความสนใจ ให้คนเล่นกับเขา

สอนเด็กๆ ได้อย่างไรบ้าง

ก่อนเริ่มสอน : สร้างสายสัมพันธ์กับเขาก่อนที่จะสอน

เด็กๆ มักอยากทำเพื่อคนที่เขารัก หากอยากที่จะสอนอะไรกับลูกสักอย่าง คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างสายสัมพันธ์อันดีกับลูกก่อน ทำให้ลูกรู้ว่าเรามีความสำคัญกับเขา จะทำให้เด็กๆ ทำตามสิ่งที่เราสอนได้อย่างง่ายๆ เลยค่ะ เช่น อ่านนิทาน เล่นด้วยกัน หอม กอด เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 1 : ตั้งกติกาให้ชัดเจนระหว่างลูก

ก่อนอื่นเลยคนในบ้านต้องรู้และปฏิบัติในเรื่องการสอนในทิศทางเดียวกันเสียก่อน โดยกติกาในบ้านอาจจะเริ่มจาก กฎ 3 ข้อ นั่นก็คือ ห้ามทำร้ายผู้อื่น ห้ามทำร้ายตนเอง และห้ามทำลายข้าวของ ช่วงแรกๆ เด็กๆ อาจจะยังไม่เข้าใจ แต่เชื่อเถอะว่าตั้งกติกาไว้ให้เข้าใจตรงกันดีกว่า เพื่อไม่ให้เขาสับสนได้ง่ายๆ

ขั้นตอนที่ 2 : หากลูกทำผิดกติกาดังกล่าว ต้องสอนเขาทันที

1. กรณีทำร้ายคนอื่นโดยเจตนา

  • ให้เราเข้าไปจับมือเขาทันทีพร้อมมองตาและบอกว่า “ไม่ตีนะครับ/ค่ะ”
  • แต่หากยังอาละวาดต่อหรือหนักขึ้น ให้พาลูกออกมาทันที แล้วหาที่นั่งสงบๆ พร้อมบอกเขาว่า “ไม่ตีนะครับ/ค่ะ”  เมื่อเขาพร้อมฟังและสงบลงให้บอกเขาว่า “ถ้าพร้อมแล้วนับ 1-10 ตามนะลูก” ค่อยๆ นับจนถึง 10 (การนับ 1-10 เป็นการตรวจสอบความพร้อมว่าเขาพร้อมฟังเราหรือไม่และสงบจิตใจลงแล้วหรือยัง)
  • เมื่อลูกสงบแล้วให้สอนเขาว่า “หากลูกอยากตีให้มาหาพ่อกับแม่นะ เดี๋ยวพ่อกับแม่จะช่วยหาที่ให้ลูกปล่อยพลังเอง”

2. กรณีทำร้ายคนอื่นโดยไม่เจตนา

เด็กเล็กมักมีปัญหากับการสื่อสาร ทำให้บางทีเขาอาจจะแสดงพฤติกรรมที่เขาใช้ร่างกายตอบสนองเพราะทันใจกว่า ทำให้เรามักเห็นเด็กเล็กมักจะขว้าง หยิก กัด ตี ที่รวดเร็วมาก นอกจากนี้เด็กเล็กมีพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และเล็กที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ควบคุมยาก จริงๆ เขาแค่อยากมาจับหยิบ แต่มันกลายเป็นแรงจนกลายเป็นทำร้ายผู้อื่นหรือสิ่งอื่นๆ ได้โดยไม่ได้เจตนานั่นเองค่ะ

สิ่งที่เราควรสอนเขาในกรณีนี้นั่นก็คือ

  • พาเขาจับหรือสัมผัสอย่างแผ่วเบา เช่น ลูกอยากเรียกพี่ แล้วไปตีพี่ ให้เราจับมือเขาแล้วสอนเขาพูดว่า “พี่ๆ ” แล้วค่อยๆ เอามือลูกไปสัมผัสหลังพี่เบาๆ หรือลองให้เขาสัมผัสมือเราเบาๆ ก่อนก็ได้เช่นกันค่ะ
  • สอนผ่านการเก็บของเล่น โดยลองให้เขาเก็บของอย่างเบามือ เพื่อให้เขาจดจำน้ำหนักมือและลักษณะการสัมผัสได้นั่นเอง
  • สอนให้ลูกขอโทษและรับผิดชอบในสิ่งที่เขาทำ เช่นเข้าไปขอโทษ เข้าไปกอด หรือหากเด็กไม่ยอมทำ เราจับมือเขาทำได้ ทำเรื่อยๆ เด็กก็จะเข้าใจในวันข้างหน้าอย่างแน่นอนค่ะ

ขั้นตอนที่ 3 : สอนลูกให้สื่อสารให้เป็น

เด็ก 0-3 ขวบ มักจะยังสื่อสารได้ไม่ดี ทำให้เขาใช้การทำร้าย การตี การปาข้าวของ เพื่อเรียกร้องความสนใจหรือพยายามทำให้คนอื่นๆ มาเล่นกับเขา วิธีการเพิ่มทักษะการสื่อสารให้ลูกง่ายๆ เช่น

  • เมื่อลูกตีเพื่อนเพราะอยากให้สนใจ ให้เราจับมือเขาทันทีเมื่อเขาตี แล้วพูดว่า “ไม่ตีครับ/ค่ะ อยากเล่นกับเพื่อนให้พูดว่า …มาเล่นกัน”
  • อย่าให้ท้ายเด็ก ไม่ยิ้มหรือหัวเราะกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ให้ทำหน้านิ่งและมีน้ำเสียงที่จริงจัง แต่ไม่ตะคอกหรือขึ้นเสียง อย่าคิดว่าความเป็นเด็กก็ปล่อยไปเถอะ เพราะสิ่งนี้อาจจะทำให้เด็กเข้าใจอะไรผิดๆ ได้เลยนะคะ

ขั้นตอนที่ 4 : ไม่ปล่อยผ่าน สอนทุกครั้งเมื่อมีโอกาส

เมื่อไหร่ที่รู้ว่าลูกทำผิดกติกาที่เราตั้งไว้ อย่าปล่อยผ่าน เพราะเด็กจะเคยชินและคิดว่าทำผิดไปก็ไม่มีใครทำอะไร แล้วเขาก็จะทำผิดครั้งต่อไปเรื่อยๆ ถึงแม้การสอนสำหรับเด็กบางคนอาจจะใช้เวลาเรียนรู้นาน แต่เชื่อเถอะค่ะว่าหากเราสอนไปเรื่อยๆ ทุกครั้งเมื่อมีโอกาสเขาก็จะสามารถเรียนรู้ได้อย่างแน่นอน

ขั้นตอนที่ 5 : เพิ่มพื้นที่ให้ลูกได้ลองปล่อยพลัง

เพราะเด็กมักจะซุกซนเป็นธรรมชาติของพวกเขา เราควรมีพื้นที่ให้เขาได้เล่นซุกซนให้สมกับที่เขาเป็นเด็กด้วย อย่าห้ามซะจนเกินไป เพราะพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอาจจะเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน วิธีหาพื้นที่ปล่อยพลังง่ายๆ เช่น การเล่นทราย วิ่งเล่นในพื้นที่กว้างๆ พื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับการกระโดด เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : Thai PBS Kidsเมริษา ยอดมณฑป

 

 

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save