fbpx

ไขข้อสงสัย! ทำไมลูกชอบเอาของเข้าปาก พ่อแม่รับมือยังไงดี ?

Writer : Lalimay
: 7 มกราคม 2565

คุณพ่อคุณแม่สังเกตกันไหมคะ ว่าทำไมลูกในวัยเบบี๋ที่พอเริ่มหยิบจับอะไรได้แล้วมักจะชอบเอาของเข้าปากอยู่เสมอ ซึ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่อย่างเรากังวลใจว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อลูก แต่รู้ไหมคะว่า การที่ลูกหยิบของเข้าปากนั้นเป็นพัฒนาการตามวัย และควรต้องตอบสนองการกระทำนี้ของลูกอย่างเหมาะสม เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้และมีพัฒนาการที่ดี

วันนี้เราจึงมีเหตุผลว่าทำไมลูกถึงชอบเอาของเข้าปากและพ่อแม่อย่างเราควรรับมือยังไงมาฝากค่ะ

เหตุผลที่ลูกชอบเอาของเข้าปากคืออะไร ?

สาเหตุที่ลูกชอบเอาของเข้าปากนั้นเป็นพัฒนาการปกติตามวัยในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันต์ ฟรอยด์ โดยเด็กแรกเกิด – 1.5 ปี จะเป็นช่วงวัยที่เรียนรู้จากปาก ซึ่งลูกจะมีความสุขจากกิจกรรมทางปาก เช่น การดูด การเคี้ยว การกัด อย่างการหยิบของเข้าปากหรือการอมนิ้วนั่นเอง

นอกจากนี้เด็กวัยนี้ยังไม่รู้ว่าของแต่ละชิ้นเอาไว้ทำอะไร เมื่อคว้าได้ก็จะหยิบเข้าปากเป็นปกติค่ะ ซึ่งการใช้ปากในการเรียนรู้ของเด็ก จะทำประสานไปกับการพัฒนาการในด้านอื่นๆ ด้วยนะคะ เช่น การใช้กล้ามเนื้อมือ หรือการใช้สายตาทำงานไปพร้อมๆ กัน 

การตอบสนองที่เหมาะสม

เมื่อเห็นว่าลูกหยิบของเข้าปาก หลายๆ คนก็คงรีบดึงของชิ้นนั้นออกจากปากของลูก เพราะกลัวเรื่องของอันตราย ซึ่งหากสิ่งของที่ลูกหยิบเข้าปากเป็นสิ่งที่อันตรายจริงๆ คุณพ่อคุณแม่ทำถูกต้องแล้วค่ะ เพราะความปลอดภัยของลูกต้องมาเป็นอันดับหนึ่งอยู่แล้ว

แต่ถ้าของที่ลูกเอาเข้าปาก เป็นของที่เรามั่นใจว่าสะอาด ปลอดภัย ขีดเส้นใต้สีแดงตัวหนาๆ เลยนะคะ ว่าเป็นของที่เราเลือกแล้วว่าปลอดภัย มีชิ้นใหญ่ไม่ทำให้ติดคอแน่นอน ก็ปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้จากการหยิบของเข้าปากเถอะนะคะ เพราะถือเป็นการเปิดโอกาสในการเรียนรู้ และช่วงส่งเสริมพัฒนาการของเจ้าตัวเล็กค่ะ (แต่ต้องจับตาดูเสมอนะคะ อย่างปล่อยให้คลาดสายตาเชียว) เพราะถ้าเกิดเราตอบสนองลูกอย่างไม่เหมาะสม เช่น เห็นเอาของเข้าปากปุ๊บก็รีบดึงออกมาปั๊บ ก็อาจส่งผลต่อบุคลิกภาพในตอนโตได้ ไม่ว่าจะเป็นชอบนินทาว่าร้ายคนอื่น ชอบสูบบุหรี่หรือเคี้ยวหมากฝรั่งก็เป็นได้ค่ะ

ทำอย่างไรไม่ให้เกิดอันตราย

แน่นอนว่าการที่ปล่อยให้ลูกหยิบของเข้าปาก อาจทำให้เกิดอันตรายหากของที่ลูกเอาเข้าปากนั้นเป็นของชิ้นเล็ก หรือมีสารเคมี ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยจับตาดูเจ้าตัวเล็กอยู่เสมอ และสามารถปฏิบัติตามนี้ได้เลยค่ะ

  • จัดสภาพแวดล้อมของบ้านหรือโซนที่ลูกอยู่ให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย สะอาด และเป็นระเบียบอยู่เสมอ
  • เก็บของอันตรายไว้ที่สูงและมิดชิด
  • เลือกของเล่นที่มีมาตรฐานความปลอดภัย
  • เลือกของเล่นที่มีขนาดใหญ่
  • ทำความสะอาดของเล่นทุกครั้งหลังลูกเล่นเสร็จ

ครั้งหน้าหากเห็นลูกหยิบของเข้าปาก (ย้ำอีกทีว่าเป็นของที่มั่นใจว่าปลอดภัย) ก็อย่าไปดึงของออกจากปากลูกเลยนะคะ ปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้จะดีกว่าค่า

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
นวด นวด นวด มานวดลูกน้อยกันเถิด
เด็กวัยแรกเกิด
ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save