fbpx

เหตุผลที่ทำให้ลูกรู้สึกว่า "พ่อแม่สนุกน้อยกว่ามือถือ"

Writer : Jicko
: 7 กุมภาพันธ์ 2563

เคยสงสัยกันไหมคะว่า จริงๆ แล้วการที่เด็กติดจอนั้นเป็นเพราะตัวของเด็กเอง หรือจริงๆ แล้วเป็นเพราะคุณพ่อคุณแม่กันนะ ในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่เองก็ไม่รู้หรอกว่าอาจจะเผลอทำพฤติกรรมที่ไม่ดี หรือเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับลูกออกไป ยิ่งสมัยนี้มีสิ่งยั่วยวนใจต่างๆ มากมายกับเด็กๆ ทั้งสมาร์ทโฟนเอย เกมต่างๆ อินเทอร์เน็ตที่เร็วแบบติดจรวด ที่เป็นสิ่งที่ดูน่าสนใจสำหรับเด็กๆ สมัยนี้เป็นอย่างมาก จนบางครั้งเองเด็กๆ อาจจะรู้สึกว่ามันสนุกมากกว่าการอยู่กับพ่อแม่เสียอีก

วันนี้ทาง Parents One เลยรวบรวมเหตุผลที่พ่อแม่ควรรู้ว่า ทำไมลูกถึงรู้สึกว่า “พ่อแม่สนุกน้อยกว่ามือถือ” เสียอีก เพื่อเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความสัมพันธ์ภายในครอบครัวมาฝากคุณพ่อคุณแม่กัน จะมีอะไรกันบ้างไปดูกันเลย

เหตุผลอะไรที่ทำให้ลูกรู้สึกว่า “พ่อแม่สนุกน้อยกว่ามือถือ”

 

  • เพราะพ่อแม่ไม่ค่อยรับฟัง เมื่อเขาต้องการ

เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ลูกอาจจะคิดว่าเราไม่ค่อยสนใจเขา หรือเมื่อไหร่ที่ลูกพยายามที่จะเล่าเรื่องราวต่างๆ แต่พ่อแม่กลับไม่สนใจ และเพิกเฉยใส่ จนทำให้ในที่สุดเขาก็จะหันไปหามือถือ แล้วคุยกับคนอื่นๆ ที่รับฟังเขาได้แทน และหลังจากนี้หากมีเรื่องอะไรเกิดขึ้น เขาก็จะมักไม่ปรึกษาหรือพูดคุยกับเราค่ะ เพราะเขาสามารถคุยกับคนอื่นๆ ได้แทนพ่อแม่จากมือถือนั้นเอง

  • เพราะคนในมือถือ คือคนที่ลูกไว้ใจมากกว่าพ่อแม่

ไม่อยากได้ยินประโยคนี้เลยค่ะ เพราะการที่ลูกคิดว่าคนในมือถือ คือคนที่ลูกไว้ใจมากกว่าพ่อแม่ นั้นแสดงว่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะทำบางอย่างที่เป็นพฤติกรรมที่ทำให้ลูกคิดแบบนี้ได้ เช่น การผิดสัญญา พูดอีกอย่างแต่ก็ทำอีกอย่าง เวลาอยากที่จะปรึกษาก็ทำเป็นไม่สนใจและไม่ร่วมแก้ไขปัญหาไปพร้อมกับลูก เป็นต้น จึงทำให้ลูกไว้ใจคนอื่นๆ แทน ส่วนใหญ่แล้วคนที่ลูกไว้ใจก็อาจจะเป็นเพื่อนสนิท หรือคนที่ไม่รู้จักอย่างคนบนโลกโซเชียลก็ได้ค่ะ ยิ่งสมัยนี้ในแอพอย่าง facebook ที่ใครต่อใครบนโลกก็สามารถทักคุยกันได้ ยิ่งทำให้เป็นอันตราย ยังไงอย่าให้คนในมือถือมาเป็นคนที่ไว้ใจที่สุดสำหรับลูกเลยนะคะ

  • เพราะพ่อแม่มักจะให้ลูกอยู่กับมือถือเพียงลำพัง

ซึ่งเราก็จะเห็นแบบนี้กันหลายต่อหลายครอบครัวเลยนะคะ สำหรับการเลี้ยงลูกโดยใช้มือถือแบบนี้ ยิ่งเลี้ยงตั้งแต่เล็กๆ ก็จะทำให้ลูกสนุกกับการได้อยู่กับมือถือมากกว่าอยู่กับพ่อแม่อย่างแน่นอนค่ะ เพราะความสนุกของเด็กๆ หากได้เข้าไปอยู่ในโลกของมือถือแล้ว แน่นอนว่าเขาจะได้เจอโลกอีกใบหนึ่งเลยก็ว่าได้ ซึ่งมันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียนะคะ แต่ปล่อยลูกไว้ตั้งแต่เด็กเล็กๆ แบบนี้ยังไงเขาก็ติดมือถืออย่างแน่นอนค่ะ เมื่อไหร่ที่ขาดมือถือทีนี้ก็จะร้องไห้โวยวาย จะเอามือถือให้ได้เลยล่ะค่ะ

  • เพราะพ่อแม่ไม่ได้พาไปทำกิจกรรมอื่นๆ

เพราะหากพ่อแม่พาลูกออกไปทำกิจกรรมสม่ำเสมอ เชื่อได้เลยว่าเขาจะไม่ติดมือถืออย่างแน่นอน เพราะเขาจะได้ไปเจอเพื่อนๆ กลุ่มใหม่ๆ ได้ทำกิจกรรมที่ชอบอย่างหลากหลาย อีกทั้งยังได้ไปเที่ยวกับครอบครัวอีกด้วย แบบนี้ก็จะทำให้ลูกชอบทำกิจกรรมและสนุกกับการอยู่กับพ่อแม่มากกว่านั้นเอง ซึ่งต่างจากบางครอบครัวที่ไม่ค่อยพาลูกไปไหน ปล่อยให้เขาอยู่กับหน้าจอมือถือ เขาก็จะกลายเป็นเด็กที่ชอบอยู่คนเดียว และโลกของเขาก็จะกลายเป็นมือถือและโซเชียลไปในที่สุดค่ะ

  • เพราะพ่อแม่ปล่อยให้ลูกเล่นกับมือถือตั้งแต่ยังเล็ก

บางครั้งพ่อแม่ก็อาจจะทำโน้นทำนี่หลายอย่าง จนบางครั้งก็ต้องปล่อยให้ลูกอยู่กับมือถือตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อตัดปัญหา ซึ่งผลที่ตามมานั้นแสนโหดร้าย เพราะเขาจะขาดมือถือไม่ได้เลย เพราะเราปลูกฝังให้เขาอยู่กับมันตั้งแต่ยังเล็ก ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องดูเรื่องความเหมาะสมของอายุของลูกด้วยนะคะ อย่างไม่ควรให้ลูกเล่นมือถือหากลูกอายุต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งช่วง 0-2 ปี ไม่ควรปล่อยให้เขาดูเลย

  • เพราะความห่างเหินกันของความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว

ความห่างเหินในที่นี้อาจจะหมายถึงการที่ต่างคนต่างอยู่ เจอหน้ากันในครอบครัวก็ไม่ค่อยได้เล่น พูดคุย หรือมีปฏิสัมพันธ์กันมากเท่าไหร่ ทำให้เด็กๆ ที่ต้องการความรักหรือการเอาใจใส่จากคนในครอบครัว รู้สึกว่าครอบครัวไม่ได้อยู่ข้างเขาอีกต่อไป ทำให้เด็กๆ อาจจะหันไปสนใจมือถือมากขึ้น เพราะในมือถือมีแอพพลิเคชันมากมายที่สามารถทำให้เขาไม่เหงา และสามารถพูดคุยในสิ่งที่เขาต้องการได้ ทำให้เขาอยากได้ใครสักคนในนั้นเป็นเหมือนทั้งเพื่อน พี่น้อง มาทดแทนสิ่งที่เขาขาดหายไปนั้นเอง ซึ่งก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความห่างเหินกลายเป็นสาเหตุที่ลูกติดมือถือมากขึ้นได้ด้วยเช่นกัน

  • เพราะพ่อแม่ติดมือถือด้วยเช่นกัน

เคยได้ยินไหมว่าอยากให้ลูกเป็นแบบไหน พ่อแม่ก็ต้องเป็นตัวอย่างให้ลูกดูถึงจะเป็นแบบนั้น เช่นเดียวกับการติดมือถือถ้าหากพ่อแม่เป็นคนที่ติดมือถือ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องมีมือถือติดตัวตลอดเวลา เช่น เวลาทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตาก็เห็นพ่อแม่ต่างคนต่างก้มหน้าก้มตาเล่นมือถือ หรือในเวลาครอบครัวที่พ่อแม่ก็เล่นมือถือโดยไม่สนใจลูกเลย เป็นต้น แบบนี้ก็ทำให้ลูกสามารถเลียนแบบพฤติกรรมจากคนรอบข้างของลูกได้ ทำให้การเล่นมือถือกลายเป็นเรื่องปกติไปเลยสำหรับเด็กๆ

  • เพราะลูกสามารถเล่นมือถือได้ตลอดเวลาโดยไม่มีการจำกัดเวลา

การยิ่งไม่จำกัดเวลายิ่งทำให้ลูกสามารถมีอิสระในการเล่นมือถือได้อย่างเต็มที่ ยิ่งเป็นเด็กแล้วยิ่งเล่นมากก็มีแต่ข้อเสียทั้งนั้น หากไม่อยากให้ลูกติดมือถือคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องมีการจำกัดเวลา และตั้งกฎระเบียบกับลูกก่อน ที่จะอนุญาตให้เขาเล่น จะทำให้เขามีระเบียบวินัยในการเล่นได้ไม่มากก็น้อยนะคะ ซึ่งในเด็กอายุ 3-5 ขวบ เวลาที่เหมาะสม คือ 1 ชั่วโมง/วัน โดยสิ่งที่ดูนั้นก็ควรจะเป็นรายการสำหรับเด็ก ไม่มีเนื้อหารุนแรง และเราเองก็ต้องคอยดูไปกับลูกด้วย ส่วนเด็ก 6-12 ปี เวลาที่เหมาะสมก็คือ 2 ชั่วโมง/วัน ซึ่งก็จะคล้ายๆ กันกับเด็กเล็กที่ต้องจำกัดเนื้อหาที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน ยังไงการจำกัดเวลาก็เป็นเรื่องที่ดีกว่าปล่อยให้เขาเล่นได้อย่างอิสระ ให้ลูกได้มีเวลาอยู่กับเราให้มากกว่าเจ้ามือถือตัวร้ายดีกว่าค่ะ

เห็นเหตุผลอย่างงี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่คงจะเข้าใจแล้วนะคะว่าทำไมลูกๆ ของเรานั้นถึงคิดว่า “การเล่นมือถือสนุกกว่าการเล่นกับพ่อแม่” ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ เพื่อให้ลูกเปลี่ยนความคิดใหม่ให้ได้ว่า “พ่อแม่สนุกกว่ามือถือเป็นไหนๆ ” ลองให้เวลากับเขา คอยรับฟัง และพาไปทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้านบ้าง ก็จะทำให้ความสนุกของเรามากกว่าเจ้ามือถือตัวร้ายแน่นอนค่ะ

 

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
Banner Banner
Live Action เรื่องล่าสุดจาก Disney ที่หลายๆคนรอคอยไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เคยรับชมการ์ตูนในวัยหวานหรือแม้แต่คุณน้องคุณหนูที่หลงรักโลกใต้ท้องทะเลก็ตาม ใช่แล้วล่ะค่ะ เรากำลังพูดถึง “The Little Mermaid” หรือ “เงือกน้อยผจญภัย” ที่หยิบยกกลับมาทำใหม่ในเวอร์ชันคนแสดงในปีนี้ โดยมีนักร้องสาว “ฮัลลี เบลลีย์” รับบทนางเงือกน้อย “แอเรียล” พร้อมเป็นตัวแทนส่งเสียงบอกกับเด็กหญิงชายทั่วโลกว่า “ใครก็เป็นเจ้าหญิงได้”  หยิบกลับมาทำใหม่ ตีความใหม่ในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนแบบนี้ ใครๆ ก็ต้องตื่นเต้นอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อย ข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสำหรับเด็กๆ หรือไม่ ลองไปดูกันเลย! เรื่องราวของนางเงือกน้อยแสนซน “แอเรียล” ธิดาคนสุดท้องของราชาไตรตันเจ้าแห่งโลกใต้สมุทรเธอมีความหลงใหลในโลกมนุษย์และใฝ่ฝันว่าอยากจะเดินเหินอย่างผู้คนบนดินแม้พ่อจะพยายามกีดกันเธอเท่าไรก็ตาม วันหนึ่งเธอบังเอิญได้พบกับ “เจ้าชายอีริค” และตกหลุมรักเขาเข้าอย่างจัง เธอจึงได้ทำข้อตกลงกับแม่มดทะเล “เออซูลาร์” เพื่อแลกเสียงอันไพเราะกับขาอย่างมนุษย์โดยมีข้อแม้ว่าเธอจะต้องได้รับจุมพิตจากเจ้าชายไม่เช่นนั้นเธอจะกลับมาเป็นเงือกและกลายเป็นทาสของเออซูลาร์ตลอดไปการออกเดินทางทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจเพื่อใช้ชีวิตอย่างที่ฝันจึงได้เริ่มต้นขึ้น เติมเต็มหัวใจที่ยังเปี่ยมไปด้วยความทรงจำของวัยเยาว์ ส่งต่อความกล้าหาญให้หนูน้อยเชื่อมั่นในตัวเอง และสิ่งที่ฝัน จูงมือลูกรักไปดู “The Little Mermaid” ได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์! ชมตัวอย่าง : https://www.youtube.com/watch?v=AS0vop2rgFo การ์ตูนเรื่องนี้เหมาะกับเด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป แม้จะมีเค้าโครงเรื่องหลักๆ มาจากการ์ตูนเงือกน้อยแอเรียลแบบต้นฉบับทั้งหมด แต่พอมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ทวีคูณความจริงจังให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมพื้นเพตัวละคร เสริมเนื้อเรื่องเพิ่มประเด็นให้มีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม จึงบอกได้ว่าเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยเหมาะกับเด็กเล็กๆ เท่าไร ถึงอย่างนั้นเด็กๆก็ยังสามารถสนุกสนานกับกลิ่นอายของเทพนิยายชวนฝันเพลิดเพลินกับภาพบรรยากาศโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงามสุดแสนจะแฟนตาซี รับประกันว่ากระตุ้นจินตนาการเรียกความตื่นตาตื่นใจจากเจ้าตัวน้อยแน่นอน เรื่องที่ต้องระวัง มีความรุนแรงและฉากน่ากลัว อย่างที่บอกไปว่า Live Action เวอร์ชันนี้ มีความดาร์ก ความสมจริงเพิ่มเข้ามา เรื่องความรุนแรงต่างๆ ฉากต่อสู้ ฉากปะทะ หรือหน้าตาของเหล่าสัตว์ร้ายใต้ทะเล อาจทำให้เด็กๆ ไม่สบายใจ หรือตื่นกลัวได้ แถมยังมีจังหวะตกใจ (Jump…
25 พฤษภาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save