บางครั้งลูกเราก็กลายมาเป็นนักเจราจาต่อรอง เพื่อเรียกร้องขอสิ่งที่ตัวเองต้องการ และยิ่งเขาโตมากขึ้นเท่าไหร่ การเจรจาระหว่างเรากับเขาอาจไม่ง่ายเหมือนที่เคยเป็นมา พ่อแม่อย่างเรา ๆ จึงต้องมีวิธีรับมือ เพื่อให้ทุกอย่างลงเอยไปด้วยดี เราว่าดูกันค่ะว่ามีวิธีอะไรกันบ้าง 🙂
ยืนยันคำเดิม กับเรื่องต่อรองไม่ได้
เช่น “ถ้าหนูไม่นั่งคาร์ซีท เราก็จะไม่ออกรถ” (เรากำลังยันยันเรื่องความปลอดภัย) ถ้าเราบอกว่าไม่ได้ ก็คือไม่ได้ นั่นหมายความว่า มั่นคงไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่า สักกี่ครั้งที่เขาต่อรอง ไม่มีผลใด ๆ เกิดขึ้น ต่อรองไปก็เท่านั้น
บางเรื่องต่อรองกันได้
การต่อรองของเด็ก ๆ ไม่ได้เเป็นเรื่องเลวร้าย เราแค่ใช้วิธีบอกล่วงหน้าหรือให้ทางเลือก เช่น ให้เวลาลูกเล่นกับเพื่อน ๆ ได้นานแค่ไหน (ประมาณ 30 นาที) แล้วบอกช่วงเวลาให้เขารู้ “แม่ให้หนูเล่นอีก 15 นาที” ซึ่งแน่นอนเขาต้องต่อรองขอเวลาเพิ่ม เราก็ตอบตกลงว่า “ตกลงแม่ให้หนูเล่นกับเพื่อนๆ อีก 15 นาที”
ต่อรองแบบ Win Win
คือลูกมีส่วนร่วม เป็นวิธีที่ค่อนข้างได้ผลดี เพราะเขาจะรู้สึกว่า ตัวเองมีส่วนกำหนดสิ่งที่เขาต้องการ และยินยอมทำตามสิ่งที่ตัวเองเลือกมากกว่าที่พ่อแม่เลือกให้ “แม่รู้จ๊ะ ว่าหนูอยากวาดรูป ระบายสีต่อ แต่เราจะต้องไปรับคุณยายแล้วนะ งั้นหนูช่วยแม่คิดหน่อย ว่าจะทำยังไงให้หนูได้เล่นต่อแล้วก็ไปรับคุณยายทันเวลา”
ต่อรองแบบมีข้อจำกัด
เพื่อให้ข้อตกลงที่เรากับลูกเจรจาต่อกันไม่ยืดยาวออกไปเรื่อย ๆ เราต้องตัดสินใจว่า ควรจบการเจรจาตรงไหนอย่างไร เช่น “แม่รู้ว่าหนูกำลังเพลิน งั้นหนูดูอีก 1 ตอน แล้วเราเตรียมตัวไปอาบน้ำกันนะ จบตอนนี้คือพอนะคะ”
การต่อรองของลูก คือการเปิดใจ
เมื่อเราเปิดใจรับฟังสิ่งที่เขาต้องการบอกได้มากขึ้น เขาเองก็จะเปิดใจรับฟัง “ความต้องการของเรา” เช่นกัน และไม่ใช่แค่เรื่องการเจราต่อรองเท่านั้น การเข้าใจในธรรมชาติของลูก การมองในมุมของเขา จะช่วยให้เรารู้จักและเข้าใจลูกได้มากขึ้นค่ะ