fbpx

โรคซึมเศร้าที่พบในเด็ก และวิธีการดูแล

Writer : Mookky TCN
: 24 เมษายน 2561

คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเคยได้ยินและคุ้นหูกับ “​ โรคซึมเศร้า” มาบ้างเเล้ว แต่รู้ไหมว่าความจริงแล้วว่าเด็กๆ เองก็สามารถเป็นโรคซึมเศร้าได้เหมือนกัน เราลองมาดูกันว่าอะไรทำให้เด็กๆ เป็นโรคนี้ และจะมีวิธีดูแลลูกของเราอย่างไรให้มีความแข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

โรคซึมเศร้าคืออะไร

โรคซึมเศร้า (depression) ต่างกับอาการเศร้าธรรมดา เพราะผู้ป่วยจะมีอารมณ์เศร้าติดต่อกันเกือบทั้งวัน เเละเกือบทุกวันเป็นเวลานานเกินกว่า  2 สัปดาห์ และหากรู้ไม่เท่าทันก็อาจจะนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ในที่สุด

สาเหตุ

ด้านร่างกาย

  • ครอบครัวเคยมีประวัติป่วยเป็นโรคซึมเศร้า (เด็กจะมีความเสี่ยงป่วยด้วยโรคนี้มากกว่าปกติ)
  • ยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด ยาลดความดัน สารเสพติด เป็นต้น
  • โรคบางชนิด เช่นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง

ด้านจิตใจ

  • ปัญหาในครอบครัว
  • การทะเลาะกับเพื่อน ถูกเพื่อนกลั่นแกล้งเสมอ ๆ
  • ผลการเรียนตกต่ำ การคบเพื่อน
  • กลัวกับบุคคลรอบข้าง
  • ขาดความมั่นใจในตนเอง
  • กลัวการแข่งขัน
  • การถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • ความเครียดจากการปรับตัว

จุดสังเกต

  • มีอารมณ์ที่ซึมเศร้าลง ร้องไห้บ่อยๆ
  • เก็บตัวมากขึ้น ไม่พูดไม่จา
  • เฉื่อยชา เซื่องซึม เบื่อหน่าย
  • รู้สึกไร้ค่า
  • บางรายอาจมีอารมณ์หงุดหงิด
  • ไม่มีความสุขความเพลิดเพลินเมื่อทำกิจกรรมที่ชอบ
  • ไม่หิว น้ำหนักลดลง หรือในทางกลับกันคือทานอาหารมากเกินไป
  • นอนไม่หลับ แต่บางรายก็มีอาการนอนทั้งวันแทน เเละท่าทางในการนอนเปลี่ยนไป อาจกระสับกระส่ายมากขึ้น
  • เบื่อหน่ายกิจกรรมที่เคยชอบทำ

วิธีป้องกัน

  • ดูเเลเด็กอย่างใกล้ชิด พูดคุยกับลูกบ่อยๆ ให้รู้สึกอบอุ่นใจ
  • พาลูกออกไปทำกิจกกรม ออกไปเที่ยวพักผ่อนบ่อยๆ นอกเหนือจากการเรียน
  • หมั่นพาเด็กไปออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายช่วยหลั่งฮอร์โฒนความสุข
  • ถ้าครอบครัวที่มีกรรมพันธุ์โรคซึมเศร้า ต้องดูเเลเด็กเป็นพิเศษ
  • เปิดโอกาสให้ลูกเเสดงความคิดเห็น เป็นตัวของตัวเอง
  • คุยกับครูของลูกบ่อยๆ เพราะลูกใช้ชีวิตอยู่ที่โรงเรียนแต่ละวันเป็นเวลสนาน
  • ไม่ตั้งกฎในบ้านเคร่งครัดเกินไป เพราะทำให้เด็กเครียด
  • พยายามอย่าระบายอารมณ์โมโหใส่ลูก เพราะจะทำให้เด็กเกิดความเครียด

แต่ถ้าหากพบว่าลูกมีอาการซึมเศร้าหนัก ควรพาไปพบจิตแพทย์เด็ก เพราะสามารถดูอาการ และประเมินวิธีรักษาได้อย่างถูกต้อง

สถาบันในกรุงเทพที่มีจิตแพทย์เด็ก

  • สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
  • รพ. พญาไท 1
  • รพ. ภูมิพล
  • รพ. วชิระ
  • รพ. วิชัยยุทธ
  • มูลนิธิยุวสถิรคุณ
  • รพ. สมเด็จพระปิ่นเกล้า
  • รพ. ศิริราช
  • สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์
  • รพ. ธนบุรี 1
  • รพ. ธนบุรี 2
  • คลินิกสายใจบุญสิทธิ
  • รพ. นนทเวช
  • รพ. เซ็นทรัลเยนเนอรัล
  • สถาบันสมเด็จเจ้าพระยา
  • รพ.ตากสิน
  • สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติราชินี
  • รพ.พระมงกุฎเกล้า
  • รพ.พระราม9
  • รพ.จุฬาลงกรณ์
  • รพ. รามาธิบดี
  • รพ.ตำรวจ
  • รพ.กรุงเทพ
  • รพ.สมิติเวชศรีนครินทร์
  • รพ.สมิติเวช สุขุมวิท
  • รพ.บำรุงราษฎร์
  • รพ.บางปะกอก 9
  • รพ.บ้านสวน
  • รพ.ไทยนครินทร์
  • ศูนย์การแพทย์นวบุตรเพื่อสตรีและเด็ก
  • รพ.นครธน
  • รพ.มนารมย์

เด็กๆ จะเติบโตได้อย่างมีคุณภาพจะต้องมีทั้งร่างกายและจิตใจที่ดี ซึ่งเราควรดูแลทั้งสองอย่างนี้ควบคู่กันไปนะคะ 😀

ขอบคุณ-
kapook
piyavate
trueplookpanya

ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย

Writer Profile : Mookky TCN

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save