ถ้าพูดถึงเด็กๆ เราคงนึกถึงความสดใส ร่าเริง เต่ใครจะรู้ว่าเด็กๆ เองก็สามารถเป็น ” โรคซึมเศร้า” แบบผู้ใหญ่ได้เหมือนกัน มาดูกันว่าโรคซึมเศร้าในเด็กมีอาการแบบไหนบ้าง เเละเราจะรับมือหรือป้องกันไม่ให้ลูกตกอยู่ในสภาวะได้อย่างไรบ้าง
โรคซึมเศร้าคืออะไร
โรคซึมเศร้า เป็็นโรคทางอารมณ์ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้า หดหู่ เศร้าหมอง เบื่อหน่าย รู้สึกว่าเองไม่มีคุณค่า ในระดับที่มากกว่าปกติติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ จนอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายในท้ายที่สุดได้
โรคซึมเศร้าในเด็ก
เป็นเรื่องที่ฟังดูแปลกเวลาพูดว่าเด็กก็สามารถเป็นโรคซึมเศร้าได้เหมือนกับผู้ใหญ่ เเต่เด็กๆ สามารถมีอาการแบบนี้ เเละนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้เหมือนกัน ในเด็กเล็กอาจเเสิดงอาการไม่ร่าเริง เเจ่มใส บางรายอาจหมกมุ่นอยู่กับการตาย เเละแสดงออกด้วยการพยายามทำให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บแบบซ้ำๆ
อาการ
- ร้องไห้บ่อยครั้ง เเละครั้งละเป็นเวลานาน
- เหม่อลอย นั่งซึมอยู่คนเดียวบ่อยๆ
- จากเด็กร่าเริง เเจ่มใส กลับกลายเป็นเด็กซึมเศร้า เก็บตัว ไม่เล่น ไม่พูดคุย กับเพื่อนฝูง ครอบครัว เเละคนใกล้ชิด (คนละแบบกับเด็กที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น)
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก
- นอกจากเศร้าอาจแสดงอารมณ์เกรี้ยวกราด เพื่อเป็นการระบาย
- มักจะพูดว่า จะหนีออกจากบ้านบ่อย ๆ หรือร้ายแรงถึงขั้นขู่ว่าจะฆ่าตัวตาย
- มีความไม่สบายต่างๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง อาเจียน คลื่นไส้
สาเหตุ
ด้านร่างกาย
- การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง
- โรคที่ส่งผลให้เกิดภาวะโรคซึมเศร้า เช่น โรค SLE โรคพาร์กินสัน โรคหลอดเลือดเเดงเเข็ง เป็นต้น
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ถ้าผู้ป่วยมีญาติที่เป็นโรคซึมเศร้าก็มีโอกาสป่วยเพิ่มขึ้นถึง 2.8 เท่า เมื่อเทียบกับคนทั่วไป
- การใช้ยาบางชนิดที่ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ เช่น ยาเคมีบำบัด ยาลดความดัน ยาเสพติด เป็นต้น
ด้านจิตใจ
ส่วนใหญ่เป็นความเครียดที่ส่งผลให้เด็กเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งมาจากหลายๆ สาเหต เช่น การเลี้ยงดูของครอบครัวที่เข้มงวดเกินไป การขาดความมั่นใจ การเรียนหนักเกินไป การถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียน ปัญหาในครอบครัวระหว่างพ่อกับเเม่ การเสียชีวิตของคนในครอบครัว สิ่งเหล่านี้ส่งผลทางลบกับอารมณ์ของเด็ก จนอาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้ในที่สุด
วิธีการดูแล
- ดูเเลเด็กอย่างใกล้ชิด พูดคุยกับลูกบ่อยๆ ให้รู้สึกอบอุ่นใจ
- พ่อเเม่ต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมลูกอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้รู้ทันหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น
- พาลูกออกไปทำกิจกกรม ออกไปเที่ยวพักผ่อนบ่อยๆ นอกเหนือจากการเรียน
- ในครอบครัวที่มีกรรมพันธุ์โรคซึมเศร้า ต้องใช้ความเอาใจใส่ และดูเเลเป็นพิเศษ
- เปิดโอกาสให้ลูกเเสดงความคิดเห็น เป็นตัวของตัวเอง
- พูดคุยกับครูของลูกบ่อยๆ เพราะพ่อเเม่ไม่สามารถตามดูลูกที่โรงเรียนได้ตลอดเวลา
- ไม่ตั้งกฎในบ้านเคร่งครัดเกินไป เพราะทำให้เด็กเครียด
- พ่อเเม่ต้องประเมินตัวเอง เพราะบางครั้งคุณพ่อคุณเเม่คือสาเหตุที่ทำให้ลูกเครียด เช่น ตัวเองเครียดจากงานหนักในที่ทำงานเเล้วระบายอารมณ์ใส่ลูก ทะเลาะกันให้ลูกเห็นบ่อยๆ เป็นต้น
- ถ้าลูกมีอาการรุนเเรงก็ควรพาไปปรึกษาแพทย์ เพื่อหาแนวทางในการรักษาต่อไป
โรคซึมเศร้าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ต้องใช้ความรัก ความใส่ใจในครอบครัวค่อนข้างมาก คุณพ่อคุณเเม่ควรให้เวลา เเละหมั่นสังเกตอารมณ์ ความรู้สึก เเละพฤติกรรมของเด็กๆ ค่ะ
ขอบคุณ-
kapook
piyavate
trueplookpanya