fbpx

พัฒนาการด้านการพูดและภาษาของลูกน้อย วัยแรกเกิดจนถึง 6 ขวบ

Writer : Jicko
: 6 กุมภาพันธ์ 2562

การพูดและภาษาของลูก ก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญอย่างมาก บางครั้งการสื่อสารของเด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่ยังไม่มีความสามารถที่จะสื่อสารให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ เราก็มักจะได้ยินเสียงร้องเรียก หรือเสียงงอแงต่างๆ เมื่อเขาแสดงออกถึงความต้องการบางอย่าง

วันนี้ ทาง Parentsone จึงนำข้อมูลเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้สังเกตพฤติกรรมและการสื่อสารของลูกน้อยในแต่ละวัยกันว่า ที่เด็กๆ ร้องอ้อแอ้ ต่างๆ เขาต้องการ หรืออยากจะสื่อสารอะไรกับคุณพ่อคุณแม่บ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

พัฒนาการทางภาษาและการพูดของเด็กๆ เกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งเด็กๆ จะมีพัฒนาการที่ช้าหรือเร็วนั้น ก็ขึ้นอยู่กับอายุและวัยของเขา

ในช่วงอายุระหว่าง 2-5 ปี เป็นช่วงที่เรียกได้ว่ามีการพัฒนาด้านภาษา มากกว่าช่วงอายุอื่นๆ มีการเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ จากสิ่งรอบตัว และการใช้คำพูดนั้นเอง ซึ่งการพัฒนาด้านการรับรู้และภาษานั้นก็เกิดจากการที่เด็กๆ รู้จักเชื่อมโยงเสียงต่างๆ ที่ได้ยินกับสิ่งที่เด็กๆ มองเห็นและสัมผัสได้ และเมื่อได้ยินซ้ำๆ อีก เด็กก็จะจำได้ว่าสิ่งเหล่านั้นคือเสียงอะไรและเกิดความจำทำให้เด็กๆ เข้าใจและพูดอย่างถูกความหมายได้นั้นเองค่ะ

ซึ่งแต่ละวัยจะมีการพัฒนาด้านภาษา ดังภาพต่อไปนี้ค่ะ

เด็กอายุ 1 เดือน

ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ จะตอบสนองต่อเสียงดังๆ เช่น สะดุ้ง ขยับตัว

การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ จะส่งเสียงร้องเมื่อรู้สึกหิว หรือไม่สบายตัว

เด็กอายุ 2-3 เดือน

ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ มีความสนใจเสียงพูดของคน มีการเคลื่อนไหวตัวเมื่อได้ยินเสียงคุณพ่อคุณแม่ เด็กๆ จะยิ้มและนิ่งฟัง

การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ จะทำเสียงอ้อแอ้ (Babbling) เมื่อเขารู้สึกพอใจ/ไม่พอใจ

เด็กอายุ 5-6 เดือน

ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ สามารถแยกทิศทางของเสียง เขาสามารถหันศีรษะไปตามเสียงที่เรียกหรือเสียงดังต่างๆ ได้

การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ เริ่มมีการเล่นเสียง (vocal play) เช่น มามา ดาดา ซึ่งอาจจะไม่มีความหมายใดๆ แต่เป็นการเรียกร้องความสนใจ และบอกความต้องการบางอย่างนั้นเอง อีกทั้ง ยังสามารถเลียนเสียงตัวเอง มีการเปล่งเสียงสูงๆ ต่ำๆ ได้

เด็กอายุ 9 เดือน

ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เช่น สวัสดี บ๊ายบาย หรือบางครั้งเมื่อคุณพ่อคุณแม่บอกให้เขาหยุดเล่น เขาก็จะหยุดเล่นเมื่อถูกดุหรือเมื่อคุณพ่อคุณแม่บอกว่า “อย่านะ”

การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ เริ่มพูดตาม และเลียนเสียงของคนอื่น มีการทำเสียงต่างๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจ เด็กๆ จะพูดเป็นคำๆ เดียว และสามารถตอบสนองต่อการสื่อสารได้

เด็กอายุ 10-12 เดือน

ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้มากขึ้น สามารถเข้าใจคำพูดที่ได้ยินบ่อยๆ เขาสามารถหันไปหาเมื่อมีคนเรียกชื่อได้ และเข้าใจคำศัพท์ประมาณ 10 คำ

การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ เริ่มพูดคำแรกที่มีความหมาย เช่นคำว่า “หม่ำ” , “แม่” แถมยังตอบคำถามด้วยการใช้ท่าทางร่วมกับเสียงได้ นอกจากนี้ยังสามารถเรียกคนอื่นๆ หรือวัตถุที่ต้องการจากท่าทางและเสียงของเขาค่ะ

เด็กอายุ 1.6 ปี

ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ สามารถทำตามคำสั่งที่ยากขึ้น เข้าใจคำห้ามง่ายๆ ได้ สามารถชี้อวัยวะของร่างกายได้ 1-3 อย่าง และรู้จักชื่อคน สิ่งของ และสัตว์ประมาณ 100 คำ

การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ สามารถพูดเป็นคำที่มีความหมายได้ ประมาณ 10-50 คำ (ส่วนใหญ่จะเป็นคำ 1 พยางค์) เริ่มนำคำ 2 พยางค์มารวมกัน และบอกความต้องการง่ายๆ ได้ เช่น “เอา” , “ไป” , “หม่ำ” เป็นต้น

เด็กอายุ 2-2.6 ปี

ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ รู้จักและเข้าใจคำศัพท์ได้ถึง 500 คำ สามารถทำตามคำสั่งที่มี 2 ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกันได้ เด็กๆ สามารถรู้ชื่อคนในครอบครัว รู้จักหน้าที่ของสิ่งของนั้นๆ ว่าใช้ทำอะไร เขาสามารถเข้าใจประโยคคำถามหรือคำสั่งสั้นๆ ไม่ซับซ้อน เช่น “นี่อะไร” , “แม่อยู่ไหน” เป็นต้น

การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ สามารถพูดประโยคสั้นๆ 2-3 พยางค์ได้ พูดคำศัพท์ได้ถึง 50-500 คำ อีกทั้งยังสามารถพูดโต้ตอบกับเราได้ บอกชื่อเล่นของตัวเองได้ และมักจะมีคำติดปากว่า “นี่อะไร” สามารถสื่อความต้องการได้ แต่ยังเรียงคำไม่ถูกต้อง มีการใช้คำว่า “และ” ในการเชื่อมประโยค

เด็กอายุ 2.6-3 ปี

ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ เข้าใจคำศัพท์มากขึ้นถึง 500-1,200 คำ สามารถทำตามคำสั่งที่ยากขึ้นได้ และแยกแยะระหว่างสิ่งที่เป็นอันใหญ่และอันเล็ก

การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ สามารถพูดประโยคยาวขึ้น มีคำศัพท์ที่ดูได้ราวๆ 900 คำ สามารถพูดเล่าเรื่องที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ อีกทั้งยังบอกชื่อและหน้าที่ของวัตถุสิ่งของนั้นได้ มักจะตอบคำถามว่า “ใคร” , “อะไร” และยังบอกได้เมื่อต้องการที่จะเข้าห้องน้ำนั้นเอง

เด็กอายุ 3-4 ปี

ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ เข้าใจคำศัพท์มากขึ้นถึง 2,400-3,600 คำ มีการเรียนรู้การเข้าสังคมด้วยการพูด เข้าใจคำบุพบท เช่น บน ใต้ ข้างบน ข้างล่าง สามารถเข้าใจคำสั่งที่เป็นประโยคยาวๆ ได้ เช่น กินข้าวเสร็จก่อนแล้วดูการ์ตูนได้นะคะ และเข้าใจคำวิเศษณ์  อย่างเช่น คำว่า “เก่ง” , “สวย” , “ใหญ่” , “เล็ก” เป็นต้น

การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ สามารถพูดคุยและตอบได้มากขึ้น สามารถสนทนาเป็นประโยคยาวๆ 3-4 คำได้ แต่ยังพูดไม่ชัดเท่าไหร่ สามารถพูดคำศัพท์ได้ราวๆ 900-1,500 คำ มีการเล่าเรื่องแบบถามคำตอบคำได้ มักจะถามเสมอว่า “อะไร” , “ที่ไหน” , “ใคร” เป็นต้น นอกจากนี้ยังพูดเสียงสระได้ชัดทุกเสียงอีกด้วยค่ะ

เด็กอายุ 4-5 ปี

ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ เข้าใจคำศัพท์ 3,600-5,600 คำ สามารถเข้าใจประโยคที่มีคำสั่ง 2-3 ขั้นตอนได้ มีการเข้าใจรูปประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกันได้ อีกทั้งยังเข้าใจความหมายของจำนวนนัดได้ไม่ต่ำกว่าจำนวน 3 อย่าง เช่น “หยิบเสื้อ 3 ตัว” เป็นต้น

การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ สามารถพูดให้คนอื่นเข้าใจได้ดี มีการขยายคำได้มากขึ้น พูดคำศัพท์ได้ประมาณ 2,000 คำ มีการพูดประโยคที่ยาวคล้ายกับผู้ใหญ่ สามารถบอกชื่อจริงของตัวเองได้ และเล่าเรื่องได้โดยมีเนื้อหาที่ต่อเนื่องกัน สามารถตอบคำถามจากเรื่องที่ฟังหรือดูได้ และเขามักจะชอบถาม “ทำไม” , “เมื่อไหร่” , “อย่างไร” เป็นคำติดปากนั้นเองค่ะ

เด็กอายุ 5-6 ปี

ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ เข้าใจคำศัพท์ 6,500-9,500 คำ สามารถเข้าใจลำดับเกี่ยวกับเวลาก่อนและหลัง หรือเมื่อวานนี้ได้ สามารถท่องพยัญชนะได้ เริ่มรู้จักความหมายของป้ายหรือสัญลักษณ์ที่พบเห็นได้ค่ะ

การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ สามารถเล่าเรื่องที่คุ้นเคย หรือพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่นได้ สามารถเล่าเรื่องลำดับเหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบันที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ มีการใช้ไวยากรณ์ที่ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่อีกด้วยนะคะ

เด็กอายุ 6 ปี

ความเข้าใจภาษา : เด็กๆ เข้าใจคำศัพท์ 13,500-15,000 คำ สามารถเข้าใจว่าสิ่งของมีคุณลักษณะเหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร เช่นปากกากับดินสอ หรือหมากับแมว ต่างกันอย่างไร

การแสดงออกทางภาษา : เด็กๆ สามารถพูดประโยคยาวๆ 6-8 คำ ได้ มีการใช้คำเปรียบเทียบ ขนาด รูปร่าง และลักษณะนั้นเองค่ะ

เสียงพยัญชนะที่เด็กๆ พูดชัดในแต่ละวัย

ขอบคุณข้อมูลจาก : พิชย์ยุทธ์ สุนทรภิรพงศ์ (นักเวชศาสตร์การสื่อความหมายปฏิบัติการ สถายันราชานุกูล)

 

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
จะรู้ได้ยังไง ว่าลูกเป็น “สมาธิสั้น”
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save