ไม่ว่าอะไรก็เกิดกับลูกน้อยของคุณได้ ถ้าเกิดเหตุด่วนเหตุฉุกเฉินที่คุณแม่เองอาจไม่คาดคิด อาจจะต้องโทรขอความช่วยเหลือใครซักคน จึงจำเป็นที่จะต้องรู้จักสายด่น ซึ่งสายด่วนนี้ คุณแม่ควรทราบและจดไว้ใส่สมุด หรือแปะไว้ที่ตู้เย็นไว้เลย จะได้สามารถนำไปใช้ได้อย่างทันท่วงที
เบอร์สายด่วนอุบัติเหตุ
อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดกับลูกน้อยเลย แต่ถ้าเกิดแล้ว นอกจากการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว หากเกิดอุบัติเหตุที่เกินรับมือไหว ควรรีบโทรสายด่วนด้านอุบัติเหตุทันที เช่น
- หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล โทร. 1554
- ศูนย์ร้องทุกข์กรุงเทพมหานคร โทร. 1555
- สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร. 1669
- ฯลฯ
ที่มาภาพ – Pixabay
เบอร์สายด่วนสุขภาพจิต
หากเป็นคุณแม่เสียเองที่สุภาพ(จิต)ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ตอนนี้มีสายด่วนสุขภาพจิตจากกระทรวงสาธารณสุข โทร. 1667 ซึ่งบริการให้ความรู้สุขภาพจิตด้วยเสียงอัตโนมัติตามหมวดต่าง ๆ
ที่มาภาพ – Pixabay
เบอร์หมอหรือคลีนิกที่ไปหาประจำ
ส่วนมากคุณแม่จะมีคลีนิกหรือคุณหมอที่ไปหาประจำอยู่แล้ว ถ้าเกิดว่าลูกน้อยมีอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ สามารถโทรไปปรึกษาก่อนไปหาจริงได้
ที่มาภาพ – Pixabay
เบอร์โรงเรียน(และครูประจำชั้น)ลูกก็ควรเมมไว้
ลูกน้อยไปโรงเรียนทั้งที คุณแม่ย่อมห่วงเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว อย่างน้อยขอแค่มีเบอร์คุณครูประจำชั้นและเบอร์โรงเรียนก็เพียงพอแล้ว เผื่อมีเรื่องด่วนอะไร
ที่มาภาพ – Pixabay
เบอร์ญาติโกโหติกาจดไว้ทุกคน
เหตุการณ์ฉุกเฉินอาจเกิดได้ทุกเมื่อ อย่างเช่นมีงานด่วนเข้ามา ต้องเข้าเวรเดี๋ยวนั้นเลย และต้องการความช่วยเหลือแบบเร่งด่วน เผื่อช่วยดูลูก สามารถยกหูโทรหาเหล่าญาติพี่น้องของคุณแม่ได้เลย
เบอร์พ่อแม่ของเพื่อนลูก
ยิ่งตอนที่ลูกเพิ่งเข้าโรงเรียนแล้ว ย่อมมีความเป็นห่วงเป็นเรื่องธรรมดา หากเกิดไปรับลูกช้าหรือมีอะไรอยากเม้ามอยเรื่องลูก มีเบอร์พ่อแม่ของเพื่อนลูกไว้ก็ไม่เสียหายอะไรนะคะ
ที่มาภาพ – Pixabay
เบอร์เพื่อนสนิทคุณแม่
เบอร์เพื่อนสนิทของคุณแม่ ทั้งที่เคยมีลูกและยังไม่เคยมี ถือได้ว่าควรจดไว้เช่นเดียวกัน เผื่อปรึกษาและขอความช่วยเหลือเป็นบางครั้ง ทั้งเรื่องที่เพื่อนที่เคยเป็นคุณแม่เคยเจอมาก่อน หรือเรื่องทุกข์ร้อนใด ๆ ที่เพื่อนสามารถให้คำปรึกษาได้ เพื่อนย่อมอยากช่วยเพื่อนอยู่แล้วค่ะ
ที่มาภาพ – Pixabay
เบอร์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ นอกจากจะบันทึกไว้ในมือถือแล้ว ควรจดเก็บไว้หลาย ๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นเขียนแปะไว้ที่ตู้เย็น เขียนเก็บไว้ในรถ เขียนในไดอะรี่บนหัวเตียง เพื่อที่จะได้หยิบมาใช้ได้อย่างทันท่วงที