fbpx

เมื่อลูกชอบต่อต้าน จะรับมืออย่างไรกับพัฒนาการ Negativism

Writer : OttChan
: 19 พฤษภาคม 2565

คุณพ่อคุณแม่ทุกบ้าน ต้องเคยเจอกันมาเกือบทุกคน กับภาวะ Negativism หรือที่เราเรียกกันว่าการต่อต้านค่ะ ซึ่งตัวอย่างง่ายๆ ของการต่อต้านก็คือการที่ลูกจะปฏิเสธทุกอย่างที่เราถามหรือพูดคุยด้วย แม้จะไม่ได้คิดแบบนั้น แต่ก็จะพูดไว้ก่อน อาทิ

เราบอกลูกกินข้าว ลูกตอบว่า ไม่หิว! แต่จริงๆ แล้วหิวมาก

เราบอกลูกอาบน้ำ ลูกตอบว่า ไม่อาบ! แต่จริงๆ แล้วอยากเข้าไปเล่นกับคุณเป็ดในอ่างน้ำ

เราบอกลูกไปบ้างนอกกัน ลูกตอบว่า ไม่ไป! แต่จริงๆ อยากตามไปด้วย

เมื่อเจอแบบนี้บ่อยๆ เข้า เราก็จะเริ่มไม่เข้าใจลูกแล้วว่า นี่ลูกต้องการอะไร ทำไมถึงต้องคอยพูดสิ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่ต้องการตลอด หรือลูกกำลังเล่นสนุกอะไรอยู่ เราควรเตือนหรือดุเขาแรงๆ ไหมว่าไม่ควรทำแบบนี้ เพราะถ้าให้ทำกับพ่อแม่ไปในระยะยาวๆ แล้วละก็ คงมีซักคนไม่พ่อก็แม่นี่แหละที่ต้องเผลอดุ หรือทำโทษแรงๆ เวลาที่ลูกพูดไม่ตรงกับใจ และต้องให้พ่อแม่มาตามแก้ทีหลัง

ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าจะรับมืออย่างไรดี เมื่อลูกชอบต่อต้านไปงั้นเอง ไม่ได้มีนัยยะอะไรสำคัญ

ทำความเข้าใจกับพัฒนาการ Negativism

ในช่วงวัย 1-3 ปีของลูกนั้น เป็นวัยที่กำลังพัฒนาหลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือความคิดซึ่งในช่วงนี้เอง การพัฒนการด้านการเป็นตัวของตัวเอง หรือการสร้างตัวตนก็เป็นอีกหนึ่งพัฒนาการที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเจอกับพัฒนาการ Negativism หรือที่เราเรียกกันว่า วัยต่อต้าน เป็นช่วงที่ลูกจะรู้จักการคิดเอง เริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง ชอบตั้งคำถาม ทำให้หลายครั้ง พ่อแม่จะต้องเจอกับการพูดว่า ไม่ ไม่เอา ไม่ทำ ไม่กิน ไม่อาบ ไม่ไป ไม่ชอบ ไม่หิว ไม่เล่น ไม่แปรง ไม่เก็บ

พูดไม่ กับมันเสียทุกอย่างจนไม่รู้แล้วว่า อันไหนจริง อันไหนไม่จริง และบางครั้งลูกก็มีท่าทางสนุกสนานกับการได้ทำแบบนี้ ยิ่งทำให้เราเก็บอารมณ์ไว้ไม่อยู่จนอยากตีซักทีให้หยุด

แต่พัฒนการในเรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติเกินไป เพราะมันคือช่วงของการพัฒนาสมองให้เด็กรู้จักที่จะตั้งคำถาม และเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเอง บางครั้งเขาอาจอยากแค่ถามว่า ทำไมเขาถึงต้องทำ หรือทำไมจึงเป็นเขา แต่ด้วยภาษาที่ลูกอาจจะยังพูดเป็นประโยคยาวๆ ไม่ได้ หรือมีคลังศัพท์น้อยเกินไป คำง่ายๆ อย่างคำว่า ไม่ จึงถูกพูดขึ้นมาใช้เกือบทุกสถานการณ์

เราจึงรู้สึกว่ามีอะไรที่ลูกเขาอยากพูด จะต้องมีคำว่า ไม่มานำตลอด

ดังนั้นการต่อต้านของลูก ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ หรือร้ายแรงอย่างที่คิดในช่วงวัย 1-3 ขวบ เราจึงมาหาทางรับมือกับช่วงวัยของเขา มากกว่าการงโทษซึ่งวิธีในการรับมือจะมีอะไรบ้างนั้น ดูได้ในภาพถัดไปเลยค่ะ

 

วิธีรับมือแบบที่ 1

ไม่บังคับ แต่ ให้ทางเลือก

เวลาที่ลูกไม่ยอมทำตามที่เราบอกแต่เลือกจะเฉไฉด้วยคำว่า ไม่ หรือมีอาการต่อต้านกับสิ่งที่เราบอกให้ทำอย่างเก็บของเล่น ไปแปรงฟัน ให้เปลี่ยนวิธีจากการบอกว่า ต้องทำ ต้องฟังเรา ไม่ทำเราจะทำโทษนะ ให้เป็นการพูดแบบมีทางเลือกให้ลูกแทน เพราะการใช้ทางเลือกนอกจากจะทำให้ลูกรู้สึกไม่ถูกบังคับแล้ว ยังทำให้เขาได้พัฒนาระบบการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อทำการสื่อสารกับเราได้อีกด้วย

ตัวอย่างทางเลือกที่ควรพูดในแต่ละสถานการณ์ ควรเป็นดังนี้

เมื่อลูกไม่เก็บของเล่น

” ลูกอยากแข่งเก็บของเล่นกับพ่อ หรืออยากเก็บให้เสร็จแล้วมากินขนมด้วยกันดีครับ? ”

เมื่อลูกไม่ยอมแปรงฟัน

” ลูกจะแปรงฟันหลังดูการ์ตูนจบ หรือแปรงก่อนจะนอนดีคะ? ”

เมื่อลูกไม่ยอมกินข้าว

” ลูกอยากกินเมนูอื่นมั้ย มีให้เลือกสองเมนู เอาจานซ้ายหรือขวาดี ”

 

วิธีรับมือแบบที่ 2

สร้างกฏระเบียบแค่เรื่องจำเป็น ไม่ต้องมีกฏเยอะ

หลายครั้งที่เราต้องการตัดปัญหาการพูดว่าไม่ของลูก เราก็ตั้งกฏซะเลยเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมไม่น่ารักของลูกเช่น ใครไม่กินข้าวจะต้องโดนตี ใครไม่นอนเร็วจะต้องถูกกักบริเวณ ใครเล่นของเล่นไม่เก็บจะต้องถูกงดขนม ซึ่งบางครั้งกฏเหล่านี้อาจไม่จำเป้นเลยถ้าเราสามารถสื่อสารกับลูกได้อย่างเข้าใจ

เพราะบางครั้งการสร้างกฏฟุ่มเฟือย จะทำให้กฏนั้นดูน่ารำคาญและทำให้ลูกยิ่งต่อต้าน พอเป็นแบบนั้นแล้ว ก็จะทำให้ทั้งเราและลูกสร้างความรู้สึกแย่ๆให้แก่กัน

ดังนั้น กฏที่ควรมีจึงควรมีเพียงหัวข้อใหญ่ๆ ให้ใช้ร่วมกัน และตัวเราเองก็ต้องปฏิบัติตามด้วยเช่น

กฏเกี่ยวกับการกิน ว่าทุกคนในบ้านต้องกินข้าวให้หมดจาน เป็นกฏรวมที่ไม่ว่าใครก็ต้องทำตาม

กฏเกี่ยวกับการนอน ทุกคนในบ้านจะต้องถอดรองเท้าก่อนขึ้นเตียงเสมอ

หัวใจหลักของการใช้กฏคือกฏต้องไม่ถูกสร้างเพื่อใช้เพียงกับลูกเพียงคนเดียว ไม่เช่นนั้น การตั้งคำถามต่างๆ ของลูกก็จะยิ่งมีอารมณืร่วมมากยิ่งขึ้น

 

วิธีรับมือแบบที่ 3 

อย่าพยายามเอาชนะ แต่ให้ใช้เหตุผลในการทำให้ลูกยอม

เวลาลูกแผลงฤทธิ์รัวคำว่า ไม่ ออกมาสารพันนั้น เราก็อยากจะเอาชนะด้วยการเถียงอย่างไรก็ได้ให้ลูกไม่สามารถต่อกร หรือใช้อำนาจกับเสียงที่ใหญ่กว่าเขาไว้เพื่อข่มให้ลูกรู้สึกไม่มีทางสู้เราได้ แน่นอนว่าการทำแบบนี้ อาจทำให้เราได้ชัยชนะในครั้งแรก แต่ครั้งหลังๆ เราอาจจะต้องเจอกับความดื้อ และการต่อต้านที่ควบคุมยากขึ้นอีกเป็นเท่าตัว ดังนั้น เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีแต่ความรู้สึกดีๆ ให้กัน ควรใช้เหตุผลให้มากกว่าการใช้อารมณ์เพื่อเอาชนะ

ดังนั้นการทำให้ยอมจึงต้องใช้การประนีประนอม และการหลอกกล่อมากกว่าการแสดงตนว่าอยู่เหนือกว่าลูก อาทิ

” หนูไม่กินข้าว หนูจะปวดท้องตอนออกไปเล่นนะ มากินก่อนได้มั้ยคะ ”

” ปวดฉี่ต้องรีบบอกนะ ไม่อั้นนะ ถ้าอั้นแล้วจะเจ็บนะ ”

 

วิธีรับมือแบบที่ 4

ใช้คำพูดด้านบวกเข้าหา อย่าตำหนิติเตียน

เวลาที่เราโกรธ เรามักจะพูดคำอะไรแย่ๆ ออกมา ยิ่งตอนที่ลูกกำลังรู้สึกสนุกที่ได้ต่อต้านเรา เราก็จะหลุดใช้คำทำร้ายจิตใจออกไปได้ง่ายดายมาก และนั่นก็อาจกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกจดจำไปตลอดว่าเขาอาจเป็นจริงแบบนั้น และก็จะเป็นตาม ซึ่งคำไม่ดีเหล่านั้น อาจเป็นคำที่พลั้งออกไปว่า ” เนี่ย เด็กไม่ดี ไม่มีวันเป็นเด็กดีของบ้านได้ ” , ” ทำไมดื้อขนาดนี้ ไม่รักแล้วนะ ”

แทนที่จะใช้คำไม่ดีเหล่านั้น ลองเปลี่ยนเป็นคำว่า

” หนูเป็นเด็กแข็งแรงใช่มั้ยครับ เด็กแข็งแรงต้องทำยังไง ต้องกินข้าวเยอะๆ จะได้แข็งแรงนะ ”

” ของเล่นเป็นของลูก ลูกได้เป็นเจ้าของทุกชิ้นเลย และลูกจะเอาของที่ลูกรักไปเก็บไว้ในไหนดี ไม่ให้หายกันนะ ลงกล่องใช่มั้ย? มาเอาลงกล่องกัน ”

 

ที่มา https://www.trueplookpanya.com/blog/content/55504/-parpres-par-   , https://www.facebook.com/kendekthai/posts/4310661998972953 , https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/child/06242014-1920

 

 

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
2 กุมภาพันธ์ 2564
ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save