fbpx

ทำไมลูกถึงพูดหยาบคาย จะแก้อย่างไร

Writer : OttChan
: 27 เมษายน 2564

บางคำพูดของลูกบางทีก็ทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องเหลียวหลังว่าไปติดมาจากใคร, ทำไมถึงพูดคำแบบนี้ออกมา ยิ่งกับวัยเด็กเล็กที่อายุไม่ถึง 10 ขวบเอง ก็ยิ่งทำให้รู้สึกตกใจไปกันใหญ่ แต่ก่อนที่เราจะไปตัดสินว่าลูกเราทำไม่ดี สิ่งที่เราต้องคิดคือจะทำอย่างไรให้ลูกเราไม่พูดหยาบคายมากกว่าการตำหนิว่าทำไมลูกถึงพูด เพราะปัจจัยของการเริ่มพูดหยาบมีสาเหตุอยู่มากมายเลยซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น เราไปดูพร้อมๆ กันเลยนะคะ

สาเหตุที่ทำให้พูดหยาบคาย

  • เห็นผู้ใหญ่รอบตัวใช้คำหยาบกันเป็นปกติ เลยเลียนแบบซึ่งบางครั้งแม่ผู้ใหญ่จะไม่ทันได้ระวังแต่เด็กๆ เป็นวัยกำลังเรียนรู้ ทำให้พวกเขาจดจำได้อย่างรวดเร็วและอาจคิดว่าเป้นเรื่องปกติที่จะพูด
  • ดูจากสื่อเช่นในโทรทัศน์, หน้าจอมือถือ ทำให้ติดหู ติดปากมาจนนำมาใช้จริง เพราะในการดูสื่อใช่ว่าจะมีการเตือนหรือมีคุณพ่อคุณแม่อยู่ช่วยควบคุมตลอดเวลา การมีเนื้อหาหลุดไปหรือไปเปิดเจออะไรที่ไม่ควรก็อาจทำให้เขาจดจำมาใช้ได้
  • เพื่อนๆ ที่โรงเรียนใช้ เลยอยากได้รับการยอมรับเลยเริ่มพูดบ้าง นี่ก้เป็นอีกสาเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อลูกต้องการเข้าสังคมหรือเป็นกลุ่มก้อนกับเพื่อน หากเจอเพื่อนที่ใช้เป็นปกติอยู่แล้วก็อาจจะทำให้ติดกลับมาใช้กับที่บ้านได้
  • ถูกพ่อแม่หรือคนอื่นพูดใส่เลยจดจำมา อันนี้เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดซึ่งบางครั้ง มันอาจเกิดจากอารมณืชั่ววูบที่ใช้คำไม่ดี คำหยาบคายกับเขา และเมื่อเวลาผ่านมาลูกจึงเริ่มนำไปใช้กับผู้อื่นเพราะคิดว่าสามารถพูดได้
วิธีแก้ที่ 1

เป็นแบบอย่างในการไม่พูดคำหยาบ

จุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดคือเราต้องไม่เป็นตัวอย่างในการกระทำของลูกเรา เมื่อไม่ต้องการให้ลูกติดการพูดจาไม่น่ารักหรือคำหยาบคายเป็นไปได้เวลาที่ใช้อยู่กับลูกต้องพูดเพราะอยู่เสมอ และคอยบอกคนรอบตัวว่าเมื่อเจอลูกหรืออยู่ต่อหน้าควรใช้คำที่สุภาพน่าฟัง เวลาไม่มีลูกอยู่ด้วยแล้วจึงสามารถใช้คำที่สนิทสนมหรือผ่อนคลายได้อย่างเต็มที่ เมื่อลูกจดจำว่าพ่อแม่ของเขาไม่เคยพูดคำหยาบ เขาก็จะคุ้นชินกับการไม่ใช้คำหยาบไปเลยจนตอนโต

วิธีแก้ที่ 2

หมั่นตรวจเช็คสื่อที่ลูกดูว่าเหมาะสมต่อวัยหรือไม่

อีกหนึ่งสิ่งที่โลกของเราปัจจุบันแทบใช้เป็นพี่เลี้ยงเด็กแทนคนดูแลจริงๆ คือการให้ลูกอยู่ติดกับหน้าจอซึ่งการอยุ่กับจอนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียซึ่งข้อเสียหลักๆ นอกจากทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้น, พูดไม่เป็นคำ, ใจร้อนขี้หงุดหงิดแล้ว อาจส่งผลให้เด็กๆ ในบ้านได้รับสารที่ไม่ควรเช่น ความรุนแรง, คำหยาบคาย หากได้รับมาในวัยที่เด็กเกินไป ก็ก่อให้เกิดการเลียนแบบได้ง่าย และถ้าปล่อยไว้นานเข้าก็จะกลายเป็นนิสัยที่ติดตัวไปจนโตได้ค่ะ

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกยังเล็กอยู่หรือยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงต้องหมั่นสังเกตสื่อที่ลูกใช้หรือให้คำแนะนำเสมอเวลาลูกมีคำถามกับสื่อที่ไม่เหมาะสมกับวัยนะคะ

วิธีแก้ที่ 3

รู้ที่มาของคำหยาบเพื่อทำความเข้าใจ

บางครั้งเวลาเห็นลูกพูดคำหยาบ หลายๆ คนอาจเป็นที่ชิงทำโทษหรือดุด่าลูกของเราก่อนจะได้รู้ว่าทำไมเขาถึงพูดเพราะคิดว่า การพูดคำหยาบนั้นถือเป็นความผิดแล้ว แต่ดุรึทำโทษให้จำก็เพียงพอว่าอย่าทำอีก ซึ่งนั่นเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุค่ะ เราต้องเริ่มจากต้นเหตุโดยการสอบถามให้แน่ใจถึงที่มาว่าไปได้ยินมาจากใคร, ดูสื่อหรือการ์ตูนเรื่องไหนมา, ผู้ใหญ่หรือเพื่อนกลุ่มไหนเป็นคนชวนพูด ทั้งนี้เพื่อที่เราจะได้รู้ที่มาที่ไปว่าเพราะอะไรลูกของเราจึงใช้คำหยาบ และจึงค่อยๆ ปรับหรือสอนให้ตรงประเด็นที่สุดกับปัญหาที่เกิดขึ้นค่ะ

วิธีแก้ที่ 4

อธิบายว่าทำไมจึงไม่ควรพูดคำหยาบ

อีกหนึ่งปัญหาที่คนเป็นพ่อเป็นแม่มักรั้งไว้ท้ายสุดหรือลืมนึกถึง คือการให้เหตุผลว่าเพราะอะไรถึงทำสิ่งนี้ไม่ได้, เพราะอะไรจึงไม่ควรทำแต่ส่วนมากจะเป็นการห้ามไปเลยโดยไม่ได้อธิบายว่าเพราะอะไรจึงพูดหยาบไม่ได้ ซึ่งการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง และครบถ้วนที่สุดคือ เมื่อห้ามหรือดุแล้ว ต้องให้เหตุผลได้ว่าเพราะอะไรจึงไม่ควรทำเช่นนั้น เพื่อให้ลูกเกิดการคิดตามต่อยอด และเขาจะจำได้แน่นยำมากขึ้น และจะระวังการพูดจาไปเองค่ะ เด็กๆ นั้นเรียบรู้ได้ไวเพียงต้องสอนเขาให้ครบทุกมิติก็จะช่วยได้มากขึ้น

ตัวอย่างประโยคในการอธิบาย เช่น ” ไม่พูดคำนี้กับคนอื่นนะคะ มันทำให้คนอื่นรู้สึกไม่ดี ถ้าเราไม่อยากให้คนอื่นรู้สึกไม่ดี ไม่ควรพูดนะ “, ” คำนี้ไม่เพราะเลยค่ะ แม่ได้ยินแล้วแม่ไม่สบายใจเลย สัญญาได้มั้ยคะว่าจะไม่พูดแล้ว “, ” คำนี้ทำให้คุณพ่อรู้สึกลูกก้าวร้าวนะครับ เราพูดกันเพราะๆ ได้ไหมครับ ”

 

วิธีแก้ที่ 5

อธิบายว่าทำไมจึงไม่ควรพูดคำหยาบ

บางครั้งเด็กๆ อาจติดปาดพูดไปแล้วจนทำให้ไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้ต้องมีกฏหรือกติกาบ้างเช่น หากคุณพ่อคุณแม่ได้ยินลูกพูดคำหยาบก็อาจจะต้องถูกดุหรือมีการทำโทษเล็กๆ เช่นลดจำนวนขนม, ลดเวลาการเล่นเพื่อให้ลูกเกิดการจดจำว่าไม่สามารถทำได้ แต่อย่างไรการทำโทษนั้นไม่ควรเป็นการใช้ความรุนแรงเช่นการตี, การดุด่าด้วยถ้อยคำแรงๆ เพราะการตั้งกฏนั้นมีไว้เพื่อสร้างระเบียบและกาลเทศะไม่ใช่ความหวาดกลัวให้เด็กๆ ค่า

วิธีแก้ที่ 6

ปล่อยบ้างตามความเหมาะสม ไม่เข้มงวดเกินจำเป็น

เพราะคำหยาบคายในบางครั้งมาในรูปแบบของการสบถ อาจไม่ได้ต้องการพูดหยาบคายจริงๆ ผู้ใหญ่ยังมีหลุดบ้างเลยในบางโอกาส คุณพ่อคุณแม่ที่ลูกเริ่มโตมาจนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นแล้วจะเริ่มรู้สึกได้ถึงการใช้คำที่ไม่น่ารัก หรือสุภาพเท่าตอนเด็กๆ ซึ่งหากอายุและวุฒิภาวะของเขาเริ่มโตแล้วก็จำต้องปล่อยวาง หรือทำความเข้าใจธรรมชาติของวัยค่ะ ว่ามันเป็นไปตามอารมณ์ และสังคมของลูก สิ่งที่ต้องสอนก็คือขอบเขตในการใช้เช่น ใช้กับเพื่อนสนิท, คนสนิท คงไม่เป้นไรแต่ไม่ควรใช้กับคนที่โตกว่าหรือเด็กกว่าหรือกับคนในครอบครัว

หากสอนให้ลูกแยกแยะได้ว่าโอกาสไหนใช้ได้หรือไม่ได้ ก็จะไม่เกิดความอึดอัดขึ้นทั้งตัวเราและตัวลูกอย่างแน่นอนค่ะ

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
2 กุมภาพันธ์ 2564
ตัวตนของลูก คือทางของลูก
ชีวิตครอบครัว
Update
12 ตุลาคม 2567

12 ตุลาคม 2567
12 ตุลาคม 2567
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save