fbpx

ทำความรู้จักกับโรคดื้อต่อต้าน (ODD) โรคแอบแฝงที่พ่อแม่ไม่รู้

Writer : Lalimay
: 15 มีนาคม 2561

คุณเริ่มรู้สึกรับมือลำบากกับอาการดื้อของลูกอยู่รึเปล่าคะ? ทั้งไม่ฟังพ่อแม่ ไม่ทำตามกฎระเบียบ อารมณ์รุนแรง หงุดหงิดง่ายในระดับที่เกินกว่าเด็กทั่วไป สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นเป็นประจำ หากมีอาการเหล่านี้อาจหมายความว่าลูกกำลังเข้าข่ายโรคดื้อต่อต้านแล้วค่ะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่เข้าใจว่าเป็นอาการที่แตกต่างกับดื้อปกติ ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลร้ายต่อลูกในอนาคต วันนี้เราจึงอยากจะพาทุกคนไปรู้จักกับโรคดื้อต่อต้านให้มากขึ้น จะได้รับมือกับอารมณ์ของลูกได้ค่ะ

โรคดื้อต่อต้านคืออะไร

โรคดื้อต่อต้าน (Oppositional Defiant Disorder : ODD) มักแสดงให้เห็นในเด็กอายุ 8 ปี จะพบก่อนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ซึ่งมีรูปแบบพฤติกรรมต่อเนื่องของการไม่เชื่อฟังที่แสดงออกด้วยอาการโกรธเป็นหลัก นอกจากนี้ยังไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่และทำตัวเป็นปรปักษ์อยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าอาการดื้อจะเป็นธรรมชาติของเด็กที่อายุ 2-3 ขวบเพราะเป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโต แต่ถ้าเด็กมีพฤติกรรมเหล่านี้เป็นประจำในระดับที่มากเกินเด็กปกติทั่วไปในวัยเดียวกัน ก็อาจส่งผลกระทบต่อสังคม ครอบครัวและการเรียนของเด็กได้

อาการของโรคดื้อต่อต้าน

หลายครั้งการที่จะแยกแยะความแตกต่างระหว่างเด็กที่มีความต้องการที่แน่ชัด เจ้าอารมณ์ และเด็กที่เป็นโรคดื้อและต่อต้านนั้นอาจเป็นเรื่องยาก เมื่อเด็กมีภาวะดื้อและต่อต้าน จะมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือนที่ค่อยๆ เกิดขึ้น และอาจแสดงออกรุนแรงมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปเป็นเดือนหรือปี เด็กอาจเป็นโรคดื้อและต่อต้านหากมีอารมณ์ไม่ดีตลอดเวลาเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานกว่า 6 เดือนจนนำไปสู่ปัญหาภายในครอบครัวหรือที่โรงเรียน ซึ่งเด็กที่เป็นโรคดื้อและต่อต้านจะมีอาการหลักๆ ดังนี้เป็นประจำ

  • มีอารมณ์ฉุนเฉียวตลอดเวลา
  • เถียงหรือชวนผู้ใหญ่ทะเลาะ
  • ตั้งใจทำให้คนอื่นรำคาญ
  • ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งและกฎเกณฑ์
  • โทษคนอื่นเมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือเป็นต้นเหตุของพฤติกรรมไม่ดีของตน

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดื้อต่อต้าน

  1. ปัจจัยจากตัวเด็ก คือ การมีพื้นอารมณ์เป็นเด็กที่เลี้ยงยาก สมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ควบคุมอารมณ์และยับยั้งพฤติกรรมของตนเอง รวมทั้งระบบสารสื่อประสาทและฮอร์โมนมีความผิดปกติ รวมไปถึงความผิดปกติในระหว่างเป็นทารกในครรภ์มารดา และภาวะทุโภชนาการและการได้รับสารพิษบางอย่างก็ส่งผลให้เกิดโรคนี้ได้
  2. ปัจจัยจากพ่อแม่และครอบครัว อาจเกิดจากการที่พ่อแม่ไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมในวัยเด็ก จึงทำให้ขาดทักษะในการเลี้ยงดูลูกที่ถูกต้อง นอกจากนี้ความเครียดจากการเลี้ยงดูลูก การทำงานและความสัมพันธ์ในครอบครัวก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ลูกเกิดโรคนี้ได้ อีกทั้งหากสมาชิกในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคทางจิต ไม่ว่าจะเป็น โรคความผิดปกติทางอารมณ์ โรควิตกกังวล และความผิดปกติทางบุคลิกภาพ เด็กจะเกิดโอกาสเป็นโรคดื้อต่อต้านได้สูง
  3. ปัจจัยจากการเลี้ยงดูและการฝึกวินัย เด็กที่มีพฤติกรรมดื้อ ต่อต้านแล้วก้าวร้าวมักได้รับการเลี้ยงดูในลักษณะที่ทำให้เด็กขาดความผูกพันทางอารมณ์ที่มั่นคงต่อพ่อแม่ คือเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยหรือใช้ความรุนแรงกับเด็ก ตามใจลูกมากเกินไป หรือการเลี้ยงดูแบบไม่สม่ำเสมอคือบางครั้งก้เข้มงวด บางครั้งก็ตามใจ

แนวทางการแก้ไขโรคดื้อต่อต้าน

  1. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก พื้นฐานที่สำคัญในการแก้ปัญหาเรื่องนี้คือความสัมพันธ์ที่ดีกับพ่อแม่ พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจในตัวลูกใหม่ ทำความเข้าใจว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องใช้เวลาและความรักแก่ลูก
  2. การปรับพฤติกรรม ใช้วิธีการเสริมแรงทางบวกเมื่อเด็กทำพฤติกรรมที่ดี คือชื่นชมพฤติกรรมที่ดีของลูก ด้วยการชมให้เฉพาะเจาะจงมากที่สุด เช่น “แม่ชอบที่ลูกเก็บของเล่นเองมาก” รวมไปถึงการปรับพฤติกรรมของพ่อแม่ด้วยการทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีในสิ่งที่ต้องการให้ลูกทำตาม หลีกเลี่ยงการใช้อำนาจกับลูกมากเกินไป ไม่ควรทำโทษที่รุนแรงเกินควร เพราะจะทำให้เด็กดื้อต่อต้านและก้าวร้าวมากขึ้น
  3. การเลี้ยงดูและการฝึกวินัย พ่อแม่ควรฝึกวินัยให้ลูกอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุประมาณ 1 ขวบขึ้นไป โดยเฉพาะเรื่องการกินและการนอนให้เป็นเวลาเพื่อให้เด็กชิน ควรกำหนดกฎระเบียบต่างๆ ในครอบครัวที่มีเหตุผลและชัดเจน ถ้าปฏิบัติตามจะได้ผลตอบแทนอย่างไร ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะมีผลตามมาอย่างไร พ่อแม่ควรติดตามให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่ตั้งขึ้นอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ และไม่เลี้ยงดูอย่างตามใจเด็ก

หากทำตาม 3 ข้อแรกประมาณ 1-2 เดือนแล้วแต่ลูกยังไม่ดีขึ้น แสดงว่าเด็กหรือพ่อแม่อาจมีปัญหาทางจิตเวชที่ต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม เช่น เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น หรือพ่อแม่เป็นโรควิตกกังวลหรือซึมเศร้า ก็ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม

ขอบคุณข้อมูลจาก

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



7  วิธี พิชิตการทานยากของเด็ก
ชีวิตครอบครัว
ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
10 สิงหาคม 2560
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save