fbpx

เจ้าตัวเล็กห้ามใจไม่อยู่ "ภาวะลูกเล่นไม่ยอมเลิก" ของเด็กน้อยวัยซุกซนที่แม่ๆ ต้องจัดการ

Writer : Jicko
: 15 กันยายน 2564

ไหนบ้านใครลูกมีอาการติดเล่นไม่ยอมเลิกง่ายๆ กันบ้างคะ เชื่อเลยค่ะว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องประสบพบเจอภาวะนี้บ้างอย่างแน่นอน ยิ่งเจอของเล่นที่ชอบ บอกให้เลิกเท่าไหร่ก็ไม่ยอมเลิก หรือบางครั้งไปเล่นกับเพื่อนๆ ชวนกลับบ้านก็ร้องไห้งอแงหรือโมโหกันเลยทีเดียวค่ะ

วันนี้ Parents One เลยมีวิธีจัดการกับนิสัยลูกเล่นไม่ยอมเลิกมาฝากกัน มาดูกันเลยดีกว่าค่ะว่าทำไมลูกถึงติดใจหรือถูกใจอะไรแล้วถึงแยกจากสิ่งนั้นได้ยากซะเหลือเกิน ไปดูพร้อมๆ กันเลยค่า

ทำไมเด็กถึงติดเล่น

1. เด็กใช้เวลาปรับตัวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนาน จึงทำให้เด็กๆ ติดใจอะไรแล้วมักจะเลิกเล่นยาก

2. เกิดจากช่วงวัยเด็ก ซึ่งเด็กประมาณ 1-3 ขวบหากติดใจกับอะไรแล้ว มักจะแยกออกจากสิ่งนั้นๆ ยาก ทำให้พ่อแม่อย่างเราอารมณ์เสียได้เลย

3 วิธีจัดการเมื่อลูกเล่นไม่เลิก !

วิธีที่ 1 : พูดเกริ่นก่อนให้รู้ตัว

วิธีนี้เป็นวิธีที่เมื่อถึงเวลาที่ลูกควรเลิกเล่นได้แล้ว ให้พ่อแม่พูดเกริ่นให้เขารู้ตัวเสียก่อนว่าหมดเวลาแล้วนะ เช่น เมื่อลูกเล่นอยู่กับเพื่อนอย่างสนุกสนาน แต่ถึงเวลาต้องกลับบ้าน เราก็ค่อยๆ กระซิบบอกเขาก่อนเลยว่า “ใกล้ได้เวลากลับบ้านแล้วนะคะลูก” หรือ “หนูหิวข้าวหรือยังคะ เดี๋ยวเราเตรียมตัวกลับบ้านไปทานข้าวเย็นกันนะ” หรืออาจจะกำหนดเวลาให้เขารู้ตัวได้เช่น “แม่ให้เวลา 10 นาทีนะคะ” เป็นต้น วิธีนี้จะเป็นวิธีขั้นที่หนึ่งหากทำได้ก็สบายตัว

วิธีที่ 2 : หากลูกยังนิ่งเฉย ให้หาสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจ

วิธีนี้เป็นขึ้นต่อมาจากขั้นที่ 1 ซึ่งหากยังไม่ได้ผลคุณพ่อคุณแม่อาจจะลองหาสิ่งที่เด็กๆ สนใจเป็นพิเศษมาอย่างหนึ่ง เพื่อเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจในขณะที่เขากำลังเล่นกับเพื่อนโดยไม่มีท่าทีว่าจะเลิก เช่น “วันนี้ก่อนนอนแม่จะพาหนูดูการ์ตูนที่หนูชอบสักเรื่อง เดี๋ยวเรากลับไปดูกันที่บ้านนะคะ” เป็นต้น พยายามหาเรื่องหรือกิจกรรมมาทนแทนความสนใจที่เขามีอยู่ให้ได้

วิธีที่ 3 : ไม้ตายฝืนความสงสารเอาไว้

วิธีนี้เป็นวิธีสุดท้ายหลังจากที่คุณพ่อคุณแม่ใช้ขั้นที่ 1 และ 2 ไม่สำเร็จ จะสังเกตได้เลยว่าเด็กๆ บางคนเริ่มมีอาการไม่พอใจ ร้องไห้ โวยวาย กระฟัดกระเฟียดขึ้นมา แต่ยังไงซะพ่อแม่ต้องฝืนความสงสารเอาไว้ไม่ควรตามใจเลยค่ะ อาจต้องดึงดูดความสนใจเป็นระยะๆ ไม่ควรปล่อยไว้ให้ร้องไห้ เสียงแหบเสียงแห้ง สะอึกสะอื้น หรือหากลูกร้องไห้โวยวายหนักจริงๆ อาจจะใช้วิธีกอดลูกไว้ แล้วพาเขาออกมาจากสิ่งนั้นเลย โดยห้ามดุด่าเด็ดขาดค่ะ และพยายามคุยกับเขาให้มาก ไม่นานเขาก็จะลืมและอารมณ์ดีขึ้นเอง

นี่ก็เป็นวิธีจัดการกับเด็กๆ จอมดื้อของคุณพ่อคุณแม่นะคะ ยังไงซะหากไม่อยากให้ลูกติดเล่นเรานี่แหละค่ะที่ต้องเป็นเพื่อนเล่นให้กับลูก ให้เวลากับเขาให้มาก ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ทำให้เขาติดเล่นน้อยลงได้ เพราะอย่างน้อยเขาก็รู้ว่าพ่อแม่ให้เวลาเขาอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องไปติดเล่นอย่างอื่นเลยค่ะ

 

อ้างอิงจาก : babybbb

 

 

 

 

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



7 วิธีเลิกแพมเพิสฉบับ Little Monster
ช่วงวัยของเด็ก
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save