fbpx

โรคแอลดีคืออะไร ? มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง ?

Writer : giftoun
: 2 ธันวาคม 2562

เมื่อลูกถึงวัยที่น่าจะเริ่มอ่านออกเขียนได้ หรือคิดเลขได้ แต่ว่ายังเขียนคำผิด หรือคิดเลขผิดอยู่บ่อยๆ ก็อาจจะมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคแอลดีได้ แล้วโรคแอลดีคืออะไร และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

โรคแอลดีคืออะไร

โรคแอลดี (LD หรือปัจจุบันการวินิจฉัยใหม่ล่าสุดเรียกว่า SLD ย่อมาจาก Learning หรือ Specific Learning Disorder) เป็นหนึ่งในภาวะที่เด็กจะมาตรวจกับจิตแพทย์เด็กหรือกุมารแพทย์พัฒนาการด้วยเรื่องปัญหาการเรียน เช่น อ่านเขียนไม่ได้ หรือ ไม่คล่อง หรือมีปัญหาในการคิดเลข โดยเด็กจะมีทักษะทางวิชาการในด้านนั้นต่ำกว่าเกณฑ์หรือความคาดหวังตามวัย และได้รับการยืนยันจากการตรวจประเมินทางคลินิกและแบบทดสอบตามมาตรฐาน

ชนิดของโรคแอลดี

โรคแอลดีนั้นแบ่งออกเป็น 3 ด้านด้วยกัน ได้แก่

ความบกพร่องด้านการอ่าน

ความบกพร่องด้านการอ่านเป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดของเด็กแอลดีทั้งหมด ซึ่งจะมีความบกพร่องในการจดจำ พยัญชนะ สระ และขาดทักษะในการสะกดคำ จึงอ่านหนังสือไม่ออกหรืออ่านช้า อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้ อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้ ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความสามารถในการอ่านหนังสือต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี

ความบกพร่องด้านการเขียนสะกดคำ

ความบกพร่องด้านนี้ส่วนใหญ่จะพบร่วมกับความบกพร่องด้านการอ่าน เด็กมีความบกพร่องในการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง บางครั้งเรียงลำดับอักษรผิด จึงเขียนหนังสือและสะกดคำผิด ทำให้ไม่สามารถแสดงออก ผ่านการเขียนได้ตามระดับชั้นเรียน เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการเขียนสะกดคำต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี

ความบกพร่องด้านคณิตศาสตร์

เด็กขาดทักษะและความเข้าใจค่าของตัวเลข การนับจำนวน การจำสูตรคูณ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ จึงไม่สามารถคำนวณคำตอบจากการบวก ลบ คูณ หาร ตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการคิดคำนวณ ต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคแอลดี

บางคนคิดว่าเด็กที่เป็นโรคแอลดีนั้นไม่ฉลาดหรือปัญญาอ่อน อันที่จริงเด็กที่เป็นแอลดีไม่ใช่เด็กโง่ แต่เพียงเขามีความบกพร่องในการเรียนในบางด้าน ซึ่งเด็กที่เป็นแอลดีบางคนมีไอคิวระดับดีมาก แต่เด็กคนนั้นจะมีความบกพร่องในการเรียนบางด้าน ด้วยความที่ดูปกติในเรื่องอื่นๆ ยกเว้นบางเรื่องที่เขาบกพร่อง พ่อแม่บางคนมีความสับสนเพราะเห็นลูกเก่งในทุกเรื่อง แต่ถ้าอ่านเขียนหนังสือนี่หน้าบูดเบี้ยวทีเดียว บางทีพ่อแม่จะคิดว่า เด็กขี้เกียจหรือสอนไม่จำ ไม่เอาไหน แต่ไม่ใช่เช่นนั้นเลย โรคแอลดีมีสาเหตุจากความผิดปกติการสมองบางส่วนที่เกี่ยวข้องการอ่าน สะกดคำ หรือคณิตศาสตร์ ไม่ได้เกี่ยวกับนิสัยของเด็ก

อาการของโรคแอลดี

อาการของโรคแอลดีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ เช่น

  • หลีกเลี่ยงการอ่านการเขียน
  • ไม่มีสมาธิในการเรียน ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จทำงานสะเพร่า
  • ความจำไม่ดี เรียนได้หน้าลืมหลัง
  • รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้
  • ไม่มั่นใจในตนเอง มักตอบว่า “ทำไม่ได้” “ไม่รู้”
  • อารมณ์ ขึ้นๆลงๆ หงุดหงิดง่าย ไม่อดทน
  • ก้าวร้าวกับเพื่อน พี่น้อง ครู หรือพ่อแม่
  • ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง
  • ฯลฯ

การดูแลรักษาโรคแอลดี

การช่วยเหลือทางการแพทย์

เนื่องจากโรคแอลดีสามารถเกิดรวมกับโรคอื่นๆ ได้บ่อย เช่น โรคสมาธิสั้น ดังนั้นแพทย์จึงมีบทบาทในการประเมิน วินิจฉัยภาวะต่างๆ ที่เด็กมี ร่วมถึงให้การรักษาภาวะเหล่านั้น เช่น โรคสมาธิสั้น หากได้รับยาช่วยสมาธิ อาการของโรคก็จะดีขึ้นมาก

การช่วยเหลือทางการศึกษา

ส่วนคุณครู หากมีความเข้าใจและพยายามช่วยเหลือด้านการเรียน เช่น ถ้าเด็กเป็นแอลดีการอ่าน ก็อนุญาตให้สอบปากเปล่า หรืออ่านโจทย์ให้ฟัง เด็กที่เป็นแอลดีการเขียนสะกดคำ อาจให้เด็กทำข้อสอบเป็นกากบาทมากกว่าให้เขียนตอบ จะพบว่าจริงๆเด็กก็ทำได้ดี ถ้าให้ดีควรเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มเล็กๆที่พื้นฐานเหมือนกัน เพราะหากเรียนกับเพื่อนคนอื่นที่เรียนอยู่ชั้นเดียวกันตามปกติ ในวิชาที่เด็กบกพร่อง ก็จะยิ่งตามไม่ทัน

การช่วยเหลือจากครอบครัว

คุณพ่อคุณแม่ลองอธิบายให้เด็กและครอบครัวทราบถึงปัญหาและความบกพร่องเฉพาะด้านของเด็ก รวมทั้งความรู้สึกของเด็กที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เปลี่ยนพฤติกรรมจากการตำหนิ ลงโทษ เป็นความเข้าใจ และสนับสนุนในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็ก แล้วชื่นชมเมื่อเด็กทำสำเร็จแม้ในเรื่องเล็กน้อยเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง

ถือได้ว่าโรคแอลดีนั้นสามารถเกิดได้กับเด็กทั่วไป คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของบุตรหลานเบื้องต้น อีกทั้งถ้าลูกมีอาการดังกล่าวแล้ว จะต้องคอยให้กำลังใจ อยู่เคียงข้าง และค่อยๆ สอนจากพื้นฐานที่เด็กทำได้ และสุดท้ายอย่าลืมส่งเสริมเด็กในด้านที่เขาชอบและถนัด เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ บางทีเด็กก็ทำได้ดี จะได้ทำให้ลูกภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้นด้วย

ที่มา

Writer Profile : giftoun


  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
26 กรกฏาคม 2560
กิจกรรมช่วงปิดเทอมสำหรับเด็ก
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
กิจกรรมของครอบครัว กิจกรรมของครอบครัว
18 ตุลาคม 2560
ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save