ไข่เป็นแหล่งอาหารชั้นเลิศที่นอกจากจะอุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของเด็กแล้ว ยังหาทานได้ง่ายและมีรสชาติอร่อย รวมถึงสามารถปรุงได้หลากหลายเมนูอีกด้วย แต่ทว่าการทานไข่ที่ต่างชนิดกันก็ให้ปริมาณสารอาหารที่ต่างกันออกไป เช่นหากทานไข่ชนิดนี้มากไปจะทำให้คอเลสเตอรอลขึ้นสูงได้โดยไม่ทันระวัง วันนี้เราจะมาดูไปดว้ยกันว่าไข่แต่ละชนิดนั้นให้ปริมาณสารอาหารแตกต่างกันเท่าไหร่เพื่อให้ง่ายต่อคุณแม่ที่จะนำไปประกอบอาหารให้แก่ลูกน้อยค่ะ
ไข่ไก่
เป็นไข่ที่มีความนิยมสูงสุดในการนำมาประกอบอาหารเพราะหาง่าย ทานแล้วอิ่มอยู่ท้อง สามารถทำมาทำได้ทั้งอาหารคาวและหวานเหมาะสำหรับเด็กที่ชอบรับประทานอาหารเมนูไข่ สารอาหารที่จะได้รับจากไข่ไก่นั้นมี
- พลังงาน 160 กิโลแคลอรี่
- โปรตีน 12.3 กรัม
- ไขมัน 11.7 กร้ม
ไข่เป็ด
มีขนาดที่พอๆกับไข่ไก่หรืออาจใหญ่กว่า เป็นไข่ที่ชื่นชอบของผู้ใหญ่มากกว่าเด็กเพราะกลิ่นนั้นมีความคาวกว่าแต่รสชาตินั้นให้ความกลมกล่อมและสีสันที่สวยของไข่แดง การนำมาประกอบอาหารจึงมักจะถูกนำไปใช้ทำขนมหวานเพื่อความน่ากิน หากเด็กบ้านไหนชอบขนมฝอยทอง ทองหยิบทองหยอดหรือสังขยามากๆก็แปลได้ว่าหลงรักในรสชาติและความสวยของไข่เป็ดเข้าแล้ว สารอาหารจากไข่เป็ดนั้นมี
- พลังงาน 186 กิโลแคลอรี่
- โปรตีน 12.3 กรัม
- ไขมัน 14.3 กรัม
ไข่นกกระทา
ไข่จิ๋วแต่แจ๋ว ทานเพลินจนหยุดไม่ได้ มีความอร่อยและทานง่ายกับเด็กเล็กด้วยขนาดพอดีมือพอดีคำแต่เพราะทานง่ายนี่แหละจึงทำให้เรามักเผลอหยิบเข้าปากไปโดยไม่ระวังจนในที่สุดก็เป็นการทานมากกว่าจำเป็นและคอเรสเตอรอลเกินในที่สุด ซึ่งสำหรับเด็กๆที่ทานน้อยจนทำให้ได้รับสารอาหารไม่พอเพียง ไข่นกกระทาจึงเหมาะมากสำหรับการทานเพียงไม่กี่คำเพราะสารอาหารในไข่นกกระทาฟองเดียวนั้นมี
- พลังงาน 171 กิโลแคลอรี่
- โปรตีน 13.3 กรัม
- ไขมัน 12 กรัม
เลือกไข่แบบไหนจึงดีกับการเจริญเติบโตของเด็ก
- ไข่DHAหรือไข่ที่มี Omega3 ช่วยเสริมสร้างพัฒนาความจำ
- ไข่ไอโอดีน ช่วยพัฒนาสมองในการเรียนรู้
- ไข่ออร์แกนิก มีสารอาหารมากกว่าไข่ปกติ ช่วยพัฒนาการเจริญเติบโต
เมนูแนะนำสำหรับไข่แต่ละชนิด
ไข่ไก่
ไข่ตุ๋น, แกงจืดไข่น้ำ
ไข่เป็ด
พะโล้ไข่เป็ดต้ม, ไข่เจียวยัดไส้
ไข่นกกระทา
ไก่ปั้นไส้ใข่นกกระทา, ไข่นกกระทาลูกเขย
สำหรับเด็กอ่อนอายุเกิน 6 เดือน
ทานเมนูที่เป็นไข่แดงสุกบดผสมกับข้าวหรือแครอท, ฟักทองต้มบดละเอียด
คำเตือน
หากเด็กมีอาการแพ้สารอาหารที่อยู่ในไข่ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนในไข่แดงหรือขาว ควรได้รับการตรวจกับแพทย์และทานอาหารอย่างอื่นเสริมแทน
ที่มา : rakluke, th.openrice, health.kapook