fbpx

วิธีรับมือเมื่อลูกติดเกมหนักมาก แบบฉบับไม่ให้ทะเลาะกัน

Writer : nunzmoko
: 1 พฤษภาคม 2562

กระแสยุคสังคมดิจิทัลมีความรวดเร็วมาก โดยเฉพาะเกมออนไลน์ เกมต่างๆ ซึ่งมีการพัฒนาให้มีการแข่งขันมากขึ้นยิ่งดึงดูดให้เด็กติดเกมมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันเด็กไทยมีความเสี่ยงติดเกมกว่า 2 ล้านคน ส่งผลต่อสมองและพัฒนาการของเด็กอย่างต่อเนื่อง แล้วจะมีวิธีรับมืออย่างไรให้ลูกที่ติดเกมเล่นแต่พอดี ไม่ทำให้เสียการเรียน ครอบครัว และสังคม ในแบบที่ไม่กดดันหรือทะเลาะกับลูก ไปดูกันค่ะ

ลูกติดเกมพ่อแม่ช่วยได้

1. อธิบายให้ลูกเข้าใจระหว่างโลกความจริงกับโลกในเกมว่ามันแตกต่างกัน

ผู้ปกครองควรอธิบายอย่างใจเย็นให้เด็กเล็กฟังถึงความแตกต่างระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและโลกเสมือนจริงที่ถูกสร้างขึ้นมาในเกม เพราะเด็กอาจจะยังแยกไม่ออกระหว่างโลกทั้งสอง ทำให้ติดและอยากเข้าไปอยู่จนทำให้ติดเกมจนถอนตัวไม่ขึ้น หากไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี ลองอธิบายให้เข้าใจว่า ทำไมตัวการ์ตูนในเกมถึงฟื้นคืนชีพทั้งๆ ที่วิ่งตกเหวหลายรอบ แต่ในชีวิตจริงไม่เป็นอย่างนั้น หรือการทำพลาดในเกมบางอย่างไม่เป็นไร แต่ในชีวิตจริงไม่เหมือนกัน

2. เข้าไปรู้จักกับเกมที่ลูกเล่น 

การเข้าไปรู้จักกับเกมที่เด็กเล่น เพราะต้องยอมรับว่าเกมไม่ได้ส่งผลเสียต่อเด็กทุกเกม บางเกมสามารถส่งเสริมพัฒนาการได้ การเข้าไปทำความรู้จักกับเกมเพื่อหาโอกาสคุยกับลูกได้มากขึ้นซึ่งอาจเป็นการกระชับสัมพันธภาพ รู้จักในสิ่งที่ลูกชอบ เพื่อสามารถชวนมาทำกิจกรรมอื่นๆ ในลักษณะที่ลูกชอบร่วมกัน หรือแนะนำเกมที่เหมาะสมและส่งเสริมพัฒนาการของลูกได้

3. ตั้งกฎในการเล่นเกมใหม่

ควรกำหนดเวลาและสร้างเงื่อนไขในการเล่นเกมของลูก โดยให้ลูกเล่นเกมออนไลน์ได้ก็ต่อเมื่อเขารับผิดชอบงานของตนเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว หรือหลังจากทำกิจกรรมในครอบครัวร่วมกันเสร็จ เช่น หลังออกกำลังกาย เล่นหลังทำการบ้านเสร็จ หรืออ่านหนังสือเสร็จแล้ว เป็นต้น และกำหนดเวลาไม่ให้อยู่กับหน้าจอเกมนานเกินไป เช่น เล่นได้ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมงในช่วงเปิดภาคเรียน และไม่เกิน 2 ชั่วโมงในช่วงปิดเทอม เป็นต้น เพื่อให้เด็กรู้จักการเล่นเกมอย่างพอเหมาะ ไม่ใช่ห้ามเล่นเลย ให้ลูกมีส่วนร่วมในการตั้งกฏกติกา และให้รางวัล ชมเชยเมื่อลูกสามารถทำได้ตามกฎที่ตั้งไว้

4. เบี่ยงเบนความสนใจและให้รางวัล

การเบี่ยงเบนความสนใจเด็กให้ไปทำกิจกรรมที่เขาสามารถทำร่วมกับพ่อแม่ได้ ให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรมตั้งกฏกติกา และให้รางวัล ชมเชยเมื่อลูกสามารถทำกิจกรรมนั้นๆ ได้ เช่น เล่นกีฬาที่ลูกชอบ การออกกำลังกาย การอ่านหนังสือกับเขาก่อนเข้านอนหรือตอนตื่นเช้า ช่วยเพิ่มสมาธิให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี ลองทำเป็นกิจวัตรกับเขาทุกๆ วัน ซึ่งจะเกิดมีผลดีในระยะยาว ทำให้เขาจับมือถือเพื่อเล่นเกมน้อยลง

5. ให้เวลากับลูก

ผู้ปกครองควรมองหาจุดดีของเด็ก ชม กอด หอม สัมผัส เพื่อดึงเด็กกลับมาในครอบครัว เมื่อความสัมพันธ์ดีขึ้นเด็กจะมีความเกรงใจและเชื่อฟังผู้ปกครองมากขึ้น และคำพูดของพ่อแม่ที่ว่า “ไม่รู้จะทำอะไร ไม่มีเวลา ไม่มีอะไรทำ” เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กติดเกมได้ง่าย ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงและหากิจกรรมสร้างสรรค์ทำร่วมกันในครอบครัวค่ะ

6. เอาอุปกรณ์ในการเล่นเกมออกจากห้องนอนลูก

ควรเคลียร์ห้องนอนลูกให้เป็นพื้นที่สำหรับการนอนจริงๆ ไม่เอามือถือ คอมพิวเตอร์ ไอแพด หรืออุปกรณ์ใดๆ ที่ใช้ในการเล่นเกมเข้าไปด้วย เพราะจะทำให้เขาแอบเล่นเกมตอนกลางคืนจนไปงีบหลับในห้องเรียน รบกวนวงจรเวลานอนที่ดีของลูก อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกมหากมีเป็นส่วนตัวโอกาสที่จะติดเกมก็เพิ่มขึ้น พ่อแม่อาจติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้บริเวณห้องนั่งเล่น ห้องดูหนัง หรือพื้นที่ส่วนรวมของบ้านเพื่อตรวจสอบได้ง่าย

พ่อแม่สามารถแก้ปัญหาลูกติดเกมได้ด้วยตัวเอง สิ่งแรกพ่อแม่ต้องค้นพบให้ได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเข้าข่ายติดเกม โดย “การสังเกต” ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในตัวลูกและทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็ก พ่อแม่ควรมองย้อนกลับไปหาต้นตอที่ทำให้ลูกติดเกมและแก้ไข หากอาการติดเกมเกิดกับลูกตัวน้อยของเราจนเขาเริ่มมีอาการตัดขาดจากโลกภายนอก คุณพ่อคุณแม่หาทางแก้ไขโดยด่วนค่ะ

ที่มา – dailyness , phyathai

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



กิจกรรมของครอบครัว กิจกรรมของครอบครัว
28 มีนาคม 2562
กิจกรรมเสริมเชาว์ปัญญาให้ลูกช่วงปิดเทอม
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
Update
Banner Banner
Live Action เรื่องล่าสุดจาก Disney ที่หลายๆคนรอคอยไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่เคยรับชมการ์ตูนในวัยหวานหรือแม้แต่คุณน้องคุณหนูที่หลงรักโลกใต้ท้องทะเลก็ตาม ใช่แล้วล่ะค่ะ เรากำลังพูดถึง “The Little Mermaid” หรือ “เงือกน้อยผจญภัย” ที่หยิบยกกลับมาทำใหม่ในเวอร์ชันคนแสดงในปีนี้ โดยมีนักร้องสาว “ฮัลลี เบลลีย์” รับบทนางเงือกน้อย “แอเรียล” พร้อมเป็นตัวแทนส่งเสียงบอกกับเด็กหญิงชายทั่วโลกว่า “ใครก็เป็นเจ้าหญิงได้”  หยิบกลับมาทำใหม่ ตีความใหม่ในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนแบบนี้ ใครๆ ก็ต้องตื่นเต้นอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องราวจะเป็นอย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อย ข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสำหรับเด็กๆ หรือไม่ ลองไปดูกันเลย! เรื่องราวของนางเงือกน้อยแสนซน “แอเรียล” ธิดาคนสุดท้องของราชาไตรตันเจ้าแห่งโลกใต้สมุทรเธอมีความหลงใหลในโลกมนุษย์และใฝ่ฝันว่าอยากจะเดินเหินอย่างผู้คนบนดินแม้พ่อจะพยายามกีดกันเธอเท่าไรก็ตาม วันหนึ่งเธอบังเอิญได้พบกับ “เจ้าชายอีริค” และตกหลุมรักเขาเข้าอย่างจัง เธอจึงได้ทำข้อตกลงกับแม่มดทะเล “เออซูลาร์” เพื่อแลกเสียงอันไพเราะกับขาอย่างมนุษย์โดยมีข้อแม้ว่าเธอจะต้องได้รับจุมพิตจากเจ้าชายไม่เช่นนั้นเธอจะกลับมาเป็นเงือกและกลายเป็นทาสของเออซูลาร์ตลอดไปการออกเดินทางทำตามเสียงเรียกร้องของหัวใจเพื่อใช้ชีวิตอย่างที่ฝันจึงได้เริ่มต้นขึ้น เติมเต็มหัวใจที่ยังเปี่ยมไปด้วยความทรงจำของวัยเยาว์ ส่งต่อความกล้าหาญให้หนูน้อยเชื่อมั่นในตัวเอง และสิ่งที่ฝัน จูงมือลูกรักไปดู “The Little Mermaid” ได้แล้ววันนี้ ในโรงภาพยนตร์! ชมตัวอย่าง : https://www.youtube.com/watch?v=AS0vop2rgFo การ์ตูนเรื่องนี้เหมาะกับเด็กอายุ 8 ขวบขึ้นไป แม้จะมีเค้าโครงเรื่องหลักๆ มาจากการ์ตูนเงือกน้อยแอเรียลแบบต้นฉบับทั้งหมด แต่พอมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ทวีคูณความจริงจังให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเติมพื้นเพตัวละคร เสริมเนื้อเรื่องเพิ่มประเด็นให้มีความซับซ้อนยิ่งกว่าเดิม จึงบอกได้ว่าเป็นเวอร์ชันที่ไม่ค่อยเหมาะกับเด็กเล็กๆ เท่าไร ถึงอย่างนั้นเด็กๆก็ยังสามารถสนุกสนานกับกลิ่นอายของเทพนิยายชวนฝันเพลิดเพลินกับภาพบรรยากาศโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงามสุดแสนจะแฟนตาซี รับประกันว่ากระตุ้นจินตนาการเรียกความตื่นตาตื่นใจจากเจ้าตัวน้อยแน่นอน เรื่องที่ต้องระวัง มีความรุนแรงและฉากน่ากลัว อย่างที่บอกไปว่า Live Action เวอร์ชันนี้ มีความดาร์ก ความสมจริงเพิ่มเข้ามา เรื่องความรุนแรงต่างๆ ฉากต่อสู้ ฉากปะทะ หรือหน้าตาของเหล่าสัตว์ร้ายใต้ทะเล อาจทำให้เด็กๆ ไม่สบายใจ หรือตื่นกลัวได้ แถมยังมีจังหวะตกใจ (Jump…
25 พฤษภาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save