fbpx

หนูน้อยหัวกระแทกพื้นบ่อย แบบไหนที่เรียกว่าอันตราย

Writer : Jicko
: 22 มีนาคม 2562

เมื่อหนูน้อยเริ่มเดินได้ หรือวัยกำลังเตาะแตะ คุณพ่อคุณแม่มักประสบปัญหา ลูกหงายหลังหัวฟาดพื้นบ้าง ล้มหัวกระแทกพื้นบ้าง แต่ด้วยความเป็นเด็กเขาก็มักจะห่วงเล่น จนไม่รู้สึกเจ็บเนื้อเจ็บตัวกันเลย

แล้วคุณพ่อคุณแม่จะทราบได้อย่างไรว่า เมื่อลูกน้อยเล่นซนแล้วเกิดหัวกระแทกแบบไหนจึงนจะเป็นอันตรายกับเขา เรามาลองสังเกตอาการกันเลยค่ะ

เมื่อถึงวัยเตาะแตะ หรือกำลังหัดเดินของเด็กๆ แล้ว สิ่งที่มักจะตามมาและเป็นปัญหาสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่นั้นก็คือ อุบัติเหตุ ซึ่งมักเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา คนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างเราๆ ต้องคอยระมัดระวัง แต่ก็มีปัจจัยที่ทำให้ความรุนแรงนั้นแตกต่างกันออกไป ได้แก่

  • ตำแหน่งที่ศีรษะกระแทกพื้น
  • อายุของเด็ก
  • โรคประจำตัว
  • ยาที่รับประทานขณะนั้น

อาการที่ต้องสังเกตและต้องรีบพาไปพบแพทย์

หากลูกมีประวัติศีรษะกระแทกพื้น จะมีอาการดังนี้

  • อาเจียนบ่อย
  • ปวดศีรษะ (รับประทานยาแล้วไม่ทุเลา)
  • พูดผิดปกติ กระสับกระส่าย
  • ซึมลง ไม่ค่อยเล่น
  • ชัก  แขนขาอ่อนแรง
  • ตาพร่ามัว เดินเซ
  • มีรอยช้ำรอบดวงตา หรือหลังหู
  • ดูดนมได้น้อยลง
  • ในเด็กเล็กร้องไห้โยเย

วิธีการดูแลเมื่อศีรษะกระแทกรุนแรง

  • หากลูกหัวโน

คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลเด็กๆ ภายใน 24 ชั่วโมงแรก โดยการประคบเย็นบริเวณที่บวมปูด เพื่อช่วยลดอาการบวมลง หลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้วให้ประคบร้อน เพราะความร้อนจะทำให้เลือดที่ออกใต้ผิวหนังไหลเวียนได้ดีขึ้นและดูดซึมกลับ ทำให้อาการบวดลดลงนั้นเองค่ะ

  • หากศีรษะกระแทกจนมีเลือดออก

คุณพ่อคุณแม่จะต้องใช้ผ้าสะอาดกดแผลห้ามเลือดประมาณ 10 นาที หากเลือดหยุดไหลแล้ว ให้ทำความสะอาดด้วยผ จนสะอาด จากนั้นให้เช็ดรอบแผลด้วย แอลกอฮอล์ หากบริเวณนั้นไม่อยู่ใกล้ใบหน้าให้ใช้เบตาดีนอีกรอบ

แต่หากแผลนั้นลึกเกินไป และมีเลือดออกไม่หยุด ควรประคบเย็นให้ลูกแล้วรีบนำเขาส่งโรงพยาบาลโดยทันทีค่ะ

  • หากลูกกระแทกรุนแรง จนมีอาการทางสมอง

หากเด็กๆ ศีรษะกระแทกจนมี อาการซึมลง รับประทานอาหารหรือนมน้อยลง อาเจียน แขนขาอ่อนแรง ปวดศีรษะ ต่างๆ ควรรีบพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อรักษาต่อไปนะคะ

การป้องกันเด็กศรีษะกระแทก

  • จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย
  • ในวัยหัดคลาน ควรมีแผ่นรองอเนกประสงค์ที่มีความนุ่มให้กับเด็กๆ
  • ในวัยหัดเดิน ควรฝึกลูกบริเวณสนามหญ้านุ่ม หรือหลีกเลี่ยงพื้นที่แข็งๆ ไม่ปลอดภัย
  • ดูแลลูกไม่ปล่อยให้เขาอยู่คนเดียวตามลำพัง

 

ที่มา : Mamaexpert, Pobpad, babimild

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



มีบุตรยาก แก้ไขอย่างไรได้บ้าง
ข้อมูลทางแพทย์
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save