อากาศช่วงนี้ที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากฤดูร้อนไปฤดูฝน ทำให้มีพายุเข้าในสัปดาห์นี้มากๆ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปแบบนี้ คุณแม่ๆ ต้องดูแลคุณลูกอย่างใกล้ชิดเพราะมีหลายโรคที่มาพร้อมกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป กับ 5 โรคที่มาพร้อมกับฝน มีอะไรบ้าง
โรคไข้หวัดใหญ่
เป็นโรคที่ติดต่อในระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สามารถติดต่อโดยการ ไอ จาม สารคัดหลั่ง หรือสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อได้ ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายในเด็ก โดยโรคนี้สามารถเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น โรคปอดอักเสบ การติดเชื้อโควิด 19 ที่มีอาการใกล้เคียงกัน
อาการ
- ไข้สูง
- ปวดหัว
- ปวดเมื่อยร่างกาย
- ไอมาก
- เหนื่อยง่าย / หอบ เมื่อมีภาวะปอดอักเสบ
รักษาเบื้องต้น
- รักษาตามอาการ
- หลีกเลี่ยงใช้ยากลุ่มแอสไพริน
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
**ซึ่งโรคไข้หวัดสามารถหายเองได้ หากมีอาการรุนแรงมากขึ้นควรไปพบแพทย์
การป้องกัน
- การรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป
- หมั่นล้างมือบ่อยๆ
- สวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดจากผู้มีเชื้อ รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนอย่างโควิด 19
- การรับประทานอาหารให้เพียงพอ
โรคไข้เลือดออก
เป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ ในการรับเชื้อไวรัสเดงกีเข้าสู่ร่างกาย โดยไปดูดเลือดจากผู้ที่ติดเชื้อไวรัส และเชื้อจะฝักตัวในกระเพาะของยุง เมื่อไปกัดคนอื่นๆต่อจะทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก ซึ่งจะพบมากในเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี
อาการ
- มีไข้
- คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
- หน้าแดง มีจุดจ้ำเลือดหรือจุดเลือดเล็กๆสีแดงตามผิวหนัง
- ปวดท้องอย่างรุนแรง
รักษาเบื้องต้น
- รักษาตามอาอาการ
- หลีกเลี่ยงการให้ยากลุ่มแอสไพริน
- ดื่มน้ำผลไม้หรือเกลือแร่ แทนน้ำเปล่า เพื่อลดภาวะการขาดน้ำ
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสีดำและสีแดง
**ควรไปพบแพทหามีอาการที่รุนแรง เช่น ปวดท้องมาก อาเจียนมาก มีเลือดออกรุนแรง (เช่น อาเจียนเป็นเลือด) ไม่ปัสสาวะ ซึม เหนื่อยหอบ
การป้องกัน
- การป้องกันไม่ให้โดนยุงกัด
- กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุยุง
- การรับวัคซีน CYD-TDV ซึ่งจะมีผลดีที่สุดกับผู้ที่มีอายุ 9 – 45 ปี
โรคมือ เท้า ปาก
เป็นเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโร ที่ติดได้ทางระบบทางเดินอาหารและการหายใจ และสามารถติดต่อผ่านสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อได้ โรคนี้ส่วนมากพบในเด็กโดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 5 ปี
อาการ
- มีไข้
- เจ็บคอ
- ไม่อยากอาหาร
- อ่อนเพลีย
- เริ่มมีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบที่บริเวณฝ่ามือ เท้า
- ซึ่งอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ด้วยอย่าง เหยื่มหุ้มสมองอักเสบ
รักษาเบื้องต้น
- รักษาตามอาการ
- รับประทานอาหารที่เย็น เพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก
- การหยอดยาชา เพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก
**ควรไปพบแพทย์หามีอาการที่รุนแรง
การป้องกัน
- การล้างมือ
- การทำความสะอาดสิ่งของ หรือของใช้
- เลี่ยงหลีกการสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ที่ติดเชื้อ
ไวรัส RSV
เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถทำให้ติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งส่วนและสวนล่าง สาารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ส่วนนมากพบในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 3 ปี สามารถติดต่อผ่านสารคัดหลั่ง การสัมผัสใกล้ชิดผู้ที่ติดเชื้อ สามารถติดได้ง่าย โดยในช่วงแรกของอาการจะคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ หลังจากนั้นจะมีอาการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนล่าง
อาการ
ระยะแรก
- มีไข้
- ไอ จาม
- น้ำมูก
ระยะที่สอง เมื่อมีการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง อาจทำให้เกิด โรคปอดอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ
- มีไข้สูง
- อาเจียน
- หายใจเร็วจนหน้าอกบุ๋ม
- หายใจลำบาก มีเสียงวี๊ด
- รับประทานอาหารน้อย
- มีเสมหะในคอ
รักษาเบื้องต้น
- รักษาตามอาการ
- หากมีเสมหะมากคสรพ่นยาละลายเสมหะ สามารถช่วยลดอาหารหอบเหนื่อยได้
**ควรไปพบแพทย์หามีอาการที่รุนแรง
ป้องกัน
- รักษาความสะอาดทั้งทางร่ายกายและสิ่งของ
- ทำสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เช่น การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย
- อยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
- เลี่ยงหลีกการสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ที่ติดเชื้อ
โรคผื่นกุหลาบ
เป็นโรคที่เกิดจากการ ส่าไข้ หรือเชื้อไวรัส Human herpesvirus type 6 (HHV-6) เป็นโรคผิวหนังอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งเป็นโรคที่พบได้มากสุดในช่วง 6 เดือน – 12 เดือน สามารถติดต่อผ่านการหายใจ สารคัดหลั่ง การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อ โรคนี้สามารถที่จะหายเองได้และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก
อาการ
- มีไข้สูง
- มีผื่นขึ้นเล็กๆ หลังจากไข้ลด บริเวณ คอ หน้าอก ท้อง หลัง และแขน ไม่มีอาการคัน
- อาจพบอาการคอแดง เยื่อบุตาแดง แก้วหูอักเสบ
รักษาเบื้องต้น
- ควรเช็ดตัวบ่อยๆ
- ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่หนาหรือรัดแน่น
- หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มแอสไพริน
- ดื่มน้ำเยอะๆ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
**หากมีอาการรุนแรงควรพบแพทย์
ป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ
- ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายและสิ่งของ