fbpx

เด็กก็เป็น PTSD ได้นะ! วิธีดูแลลูกน้อย หลังจิตใจบอบช้ำจากเหตุการณ์รุนแรง 

Writer : Phitchakon
: 26 พฤษภาคม 2565

เมื่อใดก็ตามที่เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง นอกจากการดูแลรักษาบาดแผลทางร่างกายแล้ว บาดแผลทางจิตใจก็เป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้ แม้จะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่หากละเลย ปล่อยทิ้งไว้ก็มีแต่จะส่งผลเสียในระยะยาว ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ค่อยๆ กัดกินหัวใจดวงน้อย ฉกฉวยความสุขไปทีละนิด และในที่สุดก็จะกลายเป็นแผลฝังใจไปตลอด 

Parents One จึงอยากแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านรู้จักกับ PTSD หรือ Post-traumatic stress disorder โรคทางจิตใจที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่เว้นแม้แต่เด็กๆ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ไม่คาดฝัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา

เหตุการณ์รุนแรงที่กระตุ้นให้เกิดโรค PTSD

Post-traumatic stress disorder (PTSD) คือ สภาวะผิดปกติทางจิตใจที่เกิดขึ้นหลังเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นการประสบกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง หรือเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล หวาดกลัวจนกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน  

ตัวอย่างเหตุการณ์รุนแรงที่กระตุ้นให้เกิด PTSD ได้แก่  

  • เกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยร้ายแรง  
  • ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ  
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศ  
  • พบเห็นเหตุการณ์ที่บุคคลใกล้ชิดบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
  • อยู่ในเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เช่น ภัยพิบัติ สงคราม การก่อการร้าย  

อาการของโรค PTSD  

เด็กที่พบเจอเหตุการณ์ร้ายแรงไม่ได้เป็น PTSD เสมอไป ในช่วงที่เพิ่งผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงมาใหม่ๆ เป็นธรรมดาอยู่แล้วที่จะรู้สึกไม่ดี มีอาการเครียด วิตกกังวล ตกใจง่าย ฝันร้าย คิดวนเวียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เจอ เราเรียกอาการในระยะนี้ว่า “โรคเครียดฉับพลัน” หรือ Acute Stress Disorder (ASD) เด็กที่ป่วยในระยะอาการนี้สามารถหายเป็นปกติเองได้  แต่ถ้าหากยังคงมีอาการต่อเนื่องยาวนานเกินกว่า 1 เดือน เราจึงจะเรียกว่า Post traumatic stress disorder (PTSD)  

โดยสามารถจำแนกอาการได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้  

  1. เหตุการณ์นั้นตามมาหลอกมาหลอน (re-experiencing) : ฝันร้าย หลับตาลงทีไรก็เห็นเหตุการณ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า 
  2. มีอาการตื่นตัวมากเกินไป (hyperarousal) : ใจสั่น กระวนกระวาย ตกใจง่าย สะดุ้งง่าย โดยเฉพาะเวลาที่มีสิ่งกระตุ้นให้นึกถึงเหตุการณ์นั้นๆ  
  3. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น (avoidance) หรือมีอารมณ์เฉยชา (emotional numbing) : พยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูด หรือนึกถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งเจอมา หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังที่เกิดเหตุ  
  4. มีความรู้สึกนึกคิดในทางลบ (Negative thoughts and feelings) : เกิดความคิดแง่ลบ มองโลกในแง่ร้าย ไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง นำไปสู่ความคิดทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตายได้

พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป…สัญญาณของโรค PTSD ในเด็ก  

ผู้ใหญ่สามารถอธิบายความผิดปกติของตัวเองออกมาได้ชัดเจน แต่ในทางกลับกัน เด็กยังไม่เข้าใจสภาวะทางอารมณ์ที่ตัวเองเป็นอยู่ ไม่สามารถอธิบายได้ว่าตัวเองรู้สึกอย่างไร และไม่รู้วิธีที่จะสื่อสารออกมาให้ผู้ใหญ่รับรู้

ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองต้องคอยสังเกตพฤติกรรมของลูกที่ผิดแปลกไปจากปกติ เช่น 

  • มีอาการเจ็บปวดทางกาย เช่น ปวดหัว หรือปวดท้อง  
  • ซึม เงียบผิดปกติ   
  • ไม่มีสมาธิ  
  • ฝันร้าย หรือเห็นภาพเหตุการณ์เดิมซ้ำๆ  
  • แยกตัวออกจากสังคม 
  • หลีกเลี่ยงสถานที่เกิดเหตุ  
  • นอนหลับยาก  
  • มีพัฒนาการถดถอยกลับไปเป็นเด็กเล็กๆ  
  • แสดงออกทางอารมณ์มากจนเกินไป โมโหร้าย หงุดหงิด ตกใจง่าย  
  • แสดงออกถึงเรื่องราวเหล่านั้นผ่านทางการวาดภาพหรือการทำกิจกรรม เช่น บทบาทสมมุติ  

 วิธีดูแลลูกน้อย เมื่อเผชิญกับ PTSD 

  • เปิดโอกาสให้ลูกระบายความรู้สึก :

ไม่ปิดกั้น ไม่เบี่ยงประเด็นเมื่อลูกอยากจะพูดหรือบอกเล่าความรู้สึก แต่ให้รับฟังด้วยความเข้าใจ หรืออาจมอบทางเลือกให้ระบายความรู้สึกผ่านการทำกิจกรรม เช่น การวาดรูป ทั้งนี้ไม่ควรกระตุ้นให้เล่าเรื่องซ้ำๆ หากลูกยังไม่รู้สึกปลอดภัยเพียงพอ เพราะมีแต่จะยิ่งย้ำแผลใจให้เจ็บปวดเพิ่มมากขึ้นไปอีก  

  • แนะนำวิธีการรับมือกับอารมณ์ : 

สอนวิธีการรับมือกับอารมณ์ สอนวิธีการผ่อนคลายในยามที่เกิดความเครียดให้กับลูก เช่น การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฝึกการหายใจ ทำสมาธิ

  • ระมัดระวังในการพูด :

หลีกเลี่ยงการตวาด ตะคอก หรือส่งเสียงดังซึ่งอาจกระตุ้นอาการวิตกกังวลมากกว่าเดิม ไม่ควรต่อว่า หรือตำหนิ แต่ให้พยายามใช้คำพูดแง่บวก พูดชมเชยบ่อยๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูก 

  • ให้ลูกใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ : 

อาจจะเป็นเรื่องยากในช่วงแรก แต่การใช้ชีวิตตามปกติเป็นขั้นตอนที่จะทำให้เด็กค่อย ๆ ปรับตัวกลับสู่สภาพเดิม เผชิญหน้ากับความกลัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างใกล้ชิด ใช้เวลากับลูกมากขึ้น ให้กำลังใจ ให้ความมั่นใจจนกว่าลูกจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยปราศจากความกลัว

  • ให้ความรัก ความอบอุ่น :

คอยโอบกอดลูกไว้เสมอทุกครั้งที่ลูกต้องการ แสดงออกทางการกระทำ หรือคำพูดที่ทำให้ลูกมั่นใจได้ว่าจะปลอดภัย เช่น บอกว่า “คุณพ่อคุณแม่จะปกป้องหนูเสมอ” เพื่อให้ลูกรับรู้ว่าสามารถพึ่งพาคุณพ่อคุณแม่ได้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จะมีคุณพ่อคุณแม่อยู่เคียงข้างเสมอ

  • พาลูกปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ :

นอกเหนือจากการดูแลประคับประคองจิตใจที่บ้าน คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกพบจิตแพทย์ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาด้วยยาและการทำจิตบำบัด ฟื้นฟูจิตใจให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์เหมือนเดิม  

เมื่อเด็กต้องเผชิญกับ PTSD คุณพ่อคุณแม่ คือบุคคลสำคัญที่จะทำให้ลูกก้าวข้ามผ่านช่วงเวลานี้ได้ไปได้ หากคุณพ่อคุณแม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการนี้เป็นอย่างดี ช่วยเหลือ ดูแลด้วยความเข้าใจ ประกอบกับการทำตามคำแนะนำของจิตแพทย์อย่างเคร่งครัด แม้จะต้องใช้เวลาสักหน่อย แต่ในที่สุดแล้ว ความรักอันยิ่งใหญ่ก็จะเยียวยา และทำให้หัวใจดวงน้อยกลับมาเต็มเปี่ยมด้วยความสุขเช่นเดิม

ขอบคุณข้อมูลจาก

 

Writer Profile : Phitchakon

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



แม่จ๋า! น้ำร้อนลวกหนู ทำอย่างไรดี
ข้อมูลทางแพทย์
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save