fbpx

ไขความลับ วิธีการเลี้ยงลูกให้ฉลาดแบบชาวยิว

Writer : nunzmoko
: 24 มิถุนายน 2562

ภาพจาก – Dribbble

เคยสงสัยมั้ยคะว่าทำไมชาวยิวถึงฉลาดและประสบความสำเร็จ มีคนเก่งจำนวนมากที่เป็นคนยิว อาทิเช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์นักวิทยาศาตร์ระดับโลก ชาวยิวมีความลับของการเป็นอัจฉริยะหรือมีความแตกต่างในด้านการเลี้ยงลูกอย่างไร แล้วเราที่เป็นพ่อแม่จะปรับใช้เพื่อสอนลูกรักได้ยังไงบ้าง ไปดูกันค่ะ

1. ชื่นชมลูกที่พึ่งพาตัวเองได้

  • พ่อแม่ส่วนใหญ่ มักจะสนับสนุนลูกๆ และคอยช่วยเหลือส่งเสริมอย่างเต็มที่ เพื่อให้ฝันของลูกไปถึง
  • พ่อแม่ชาวยิว ยึดถือแนวทางที่ต้องการให้ลูกประสบการณ์เช่นกัน เพียงแต่หากลูกฝันให้ไกลและต้องการไปให้ถึงลูกจะต้องเป็นคนลงมือทำด้วยตัวเอง พ่อแม่ชาวยิวให้ความสำคัญกับการที่เด็กสามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง

2. เรื่องยากก่อนที่มันจะง่ายเสมอ

  • พ่อแม่ส่วนใหญ่ จะสอนลูกจากประสบการณ์เพื่อให้ลูกผิดพลาดน้อยที่สุด
  • พ่อแม่ชาวยิว จะเปิดโอกาสให้ลูกลองทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง แน่นอนว่าบางสิ่งบางอย่างในครั้งแรกย่อมไม่สำเร็จ พ่อแม่ก็จะไม่ว่าที่ลูกยังเด็กและทำไม่ได้ แต่พ่อแม่จะปลอบใจและสนับสนุนให้ลูกเกิดความพยายามที่ลองใหม่อีกครั้ง ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้เด็กๆ เกิดการเรียนรู้และเกิดความพยายามค่ะ

3. การเชื่อใจในตัวลูกคือรางวัลที่ดีที่สุด

  • พ่อแม่ส่วนใหญ่ เมื่อลูกทำบางสิ่งบางอย่างได้ดีอาจจะมีคำชื่นชมหรือขนม ของเล่นเป็นรางวัลให้ลูก
  • พ่อแม่ชาวยิว เด็กๆ จะได้รางวัลเป็นความไว้ใจ และความเชื่อใจ ซึ่งถ้าพ่อแม่ไว้ใจให้ลูกๆ ทำอะไรเอง เด็กๆ ก็จะรู้ว่าพวกเขาทำสิ่งนั้นได้ดี

4. ยิ่งเลอะยิ่งเยอะประสบการณ์

  • พ่อแม่ส่วนใหญ่ กลัวลูกจะเลอะเวลาลูกออกไปเล่นนอกบ้าน และห้ามให้ลูกเล่น
  • พ่อแม่ชาวยิว จะปล่อยให้ลูกๆ เล่นข้างนอกบ้านอย่างอิสระ ซึ่งเด็กๆ ก็มักจะตัวเปื้อนโคลน นิ้วเหนียว เข่าเลอะฝุ่น เพราะการรักษาเสื้อผ้าให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูกๆ นั่นเอง

5. ยอมรับในความไม่เรียบร้อย

  • พ่อแม่ส่วนใหญ่ จะบ่นเวลาลูกทำสิ่งต่างๆ เลอะเทอะ ข้าวของพังและสั่งหรือดุให้เก็บทันที
  • พ่อแม่ชาวยิว ลูกจะทำข้าวของพังบ้าง ห้องรกสกปรก ก็ไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร ซึ่งแทนที่พ่อแม่ชาวยิวจะบ่นในเรื่องนี้แต่จะปล่อยให้เด็กๆ อยู่ในห้องรกๆ ของเขา ตราบใดที่เด็กๆ ยังมีความสุขกับมันอยู่ แล้วอธิบายว่าการมีระเบียบนั้นมีข้อดีอย่างไร ทำให้ลูกเจอของที่ต้องการง่ายขึ้นแค่ไหน

6. ปล่อยให้ลูกเล่นจนหมดพลัง

  • พ่อแม่ส่วนใหญ่ อาจจะต้องการให้ลูกเรียบร้อยอยู่ในกรอบ มีเสียงบ่นหรือสั่งอย่าง อย่าปืนนะ อย่าจับนะ หรือใจเย็นๆ สิลูก
  • พ่อแม่ชาวยิว จะปล่อยให้ลูกๆ ใช้เวลาทั้งวันในการวิ่งเล่น โดยไม่มีเสียงบ่น หรือห้ามไม่ให้เด็กๆ ทำอะไร เพราะรู้ถึงความสำคัญของการปล่อยให้เด็กได้ใช้พลังงานทั้งหมดอย่างเต็มที่ในขณะที่พวกเขายังเด็กอยู่ การทำแบบนี้เมื่อลูกโตขึ้น เขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่มั่นใจและทำสิ่งต่างๆ โดยไม่ย่อท้อ

7. ให้อิสระลูก แต่ก็ต้องมีกฎ

  • พ่อแม่ส่วนใหญ่ ข้อนี้ถือว่าใกล้เคียงกันกับการสอนลูกส่วนใหญ่ โดยทุกบ้านจะมีกฎที่ห้ามละเมิดหรือขัดพ่อแม่ไม่ได้ เช่น ห้ามเกเร
  • พ่อแม่ชาวยิว ดูเหมือนปล่อยให้ลูกทำอะไรหลายอย่าง แต่ก็มีข้อห้ามชัดเจนที่ลูกจะละเมิดไม่ได้ เช่น การไม่เคารพครอบครัว ไม่เคารพพ่อแม่ พ่อแม่จะลงโทษลูกๆ เช่นกัน

8. พ่อและแม่เป็นหัวหน้าครอบครัว

  • พ่อแม่ส่วนใหญ่ จะมีพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวและลูกจะเลือกเชื่อฟังหรือเกรงใจแค่พ่อหรือแม่เท่านั้น
  • พ่อแม่ชาวยิว แม้การให้เคารพพ่อแม่ อาจเป็นเรื่องที่เด็กเล็กๆ จะยังไม่เข้าใจ แต่พ่อแม่ชาวยิวจะสอนให้เด็กๆ เคารพพ่อแม่ตั้งแต่เล็ก ซึ่งลูกจะรู้ว่าพ่อแม่เป็นหัวหน้า และจะเลียนแบบและยึดถือพ่อแม่เป็นตัวอย่างเสมอ

9. ลูกสามารถควบคุมตัวเองได้

  • พ่อแม่ส่วนใหญ่ จะลงโทษลูกด้วยการไปยึดหรือแย่งของบางสิ่งบางอย่างจากลูกไป
  • พ่อแม่ชาวยิว จะตั้งกฎในการให้รางวัลกับการกระทำที่ถูกต้อง เพื่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างเข้าที่เข้าทางและให้ลูกทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ถูกต้อง ดังนั้นเด็กๆ ก็จะไม่คิดถึงการถูกลงโทษ แต่จะเรียนรู้ที่จะปรับและเรียนรู้ได้เองว่าพฤติกรรมไหนที่ดีหรือไม่ดีของตัวเอง เพื่อให้เป็นผลดีกับตัวเอง

10. พ่อแม่จะสังเกตลูกอยู่เสมอ

  • พ่อแม่ส่วนใหญ่ บางคนก็อาจเห็นในสิ่งที่ลูกทำและชื่นชมด้วย แต่ก็อาจแทบจะไม่ได้มองไม่ได้ใส่ใจกับสิ่งของหรือการกระทำของลูกเลย
  • พ่อแม่ชาวยิว จะสังเกตเห็นการกระทำของลูก และเชื่อว่าควรให้รางวัลกับสิ่งที่ลูกทำได้ ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างที่ลูกตั้งใจทำจะได้รับคำชม การชมเด็กๆ จะช่วยให้เขามีพัฒนาการที่ดี แม้ผลงานของลูกจะไม่ได้ดีมากมาย แต่พ่อแม่ชาวยิวก็จะหาทางชมจนได้

ทั้ง 10 ข้อที่ได้เล่าให้คุณพ่อคุณแม่ฟัง ทำให้เรารู้ว่าสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกฉลาดได้ คือการให้ความรักและเอาใจใส่รายละเอียดต่างๆ ของลูก โดยไม่กีดกันขีดจำกัดของลูกและคอยช่วยสนับสนุนอยู่ข้างๆ ทั้งหมดนี้จะทำให้เด็กฉลาดและเป็นอัจฉริยะได้ค่ะ

ที่มา – bright side

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



อ่านก่อนโพสต์รูปลูกลง SOCIAL MEDIA!
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
9 คติประจำใจของแม่ เมื่อมีลูกน้อย
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save