fbpx

ไม่ได้คิดไปเอง! 4 สาเหตุที่บอกว่าแม่ลูกอ่อนขี้ลืมจริงๆ นะ

Writer : Lalimay
: 22 พฤศจิกายน 2561

คุณแม่คนไหนมีอาการขี้หลง ขี้ลืม โก๊ะๆ ป้ำๆ เป๋อๆ บ้างไหมคะ? อุ๊ย ยกมือกันเต็มเลย นั่นแสดงว่าอาการขี้ลืมเป็นอาการที่คุณแม่ๆ ส่วนใหญ่มักเป็นกันและไม่ได้คิดไปเองอย่างแน่นอน เพราะจริงๆ แล้วมันมีเหตุผลที่ทำให้คุณแม่ขี้ลืมอยู่ด้วยล่ะ เราไปดูกันดีกว่าค่ะ

ภาวะความจำบกพร่องหลังคลอด (Mumnesia) ภาวะความจำเสื่อมที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ จนคลอดลูก ซึ่งเป็นเรื่องปกติและเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยจะเป็นการรบกวนกระบวนการจำของคุณแม่นั่นเอง

กระบวนการจำของมนุษย์เกิดจาก 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

ช่วงแรกคือการเข้ารหัส (Encoding) ขั้นตอนการแปลงภาพ เสียง การสัมผัสไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่สมองรับรู้ได้ จากนั้นจะมีการจัดเก็บ (Storage) คือแปลงสิ่งที่รับรู้ไปเป็นความจำ จากนั้นเมื่อเราจะนึกเรื่องอะไรก็จะมีการเรียกความจำออกมา (Retrieval)

ซึ่งการที่คุณแม่มีสติจดจ่ออยู่กับลูกก็จะทำให้ช่วงการเข้ารหัสของเรื่องอื่นๆ ถูกรบกวน จนทำให้จำสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้หรือขี้ลืมนั่นเอง

ฮอร์โมนและสัญชาติญาณความเป็นแม่

ฮอร์โมนในร่างกายของแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างซึ่งส่งผลต่อสมอง ที่สำคัญอย่างนึงคือแม่จะจดจ่อต่อการเลี้ยงลูกมาก จะสัมผัสไวในทุกๆ ด้านที่เกี่ยวกับลูก ก็คือสติทั้งหมดของแม่จะโฟกัสอยู่ที่ลูกอย่างเดียว

การอดนอนและความอ่อนล้า

การมีลูก 1 คนทำให้คุณแม่ต้องอดนอนหนักมากกก ในช่วงขวบปีแรกของลูกอาจจะได้นอนประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อคืน ซึ่งนั่นทำให้เกิดความอ่อนล้า และเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะความจำบกพร่องได้

ให้นมลูกแบบเพลินๆ

หลังจากที่ผ่านช่วงเจ็บจี๊ดเวลาที่ให้นมลูกมาแล้ว แม่อาจจะรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขเวลาที่ลูกดูดนมเพราะมีฮอร์โมนแห่งความผูกพัน (Oxytocin) นั้นหลั่งออกมา เวลาที่ให้นมลูกแม่จึงรู้สึกเบลอๆ เคลิ้มๆ ไม่ค่อยมีสติเท่าไหร่นักและไม่ได้โฟกัสกับสิ่งอื่น

กลไกรับมือความเจ็บปวด

ร่างกายกำลังรับมือกับความเจ็บปวดหลังคลอดด้วยการสูญเสียความจำ

วิธีช่วยจำ

  • ต้องมีสติเวลาทำสิ่งต่างๆ อาจจะฝึกสติดู
  • ใช้การจด ถ่ายรูป บันทึกเสียงเพื่อช่วยเตือนความจำ
  • คุณพ่อช่วยได้ด้วยการเข้าใจ อย่าหงุดหงิดที่คุณแม่หลงๆ ลืมๆ พยายามช่วยเตือนความจำ และให้ความรักแก่คุณแม่เหมือนเดิม เติมความหวานบ่อยๆ

อย่างไรก็ตามคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะภาวะความจำบกพร่องหลังคลอดจะหลายไปได้เองเมื่อลูกมีอายุมากขึ้น อาจจะสัก 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับคุณแม่แต่ละคนค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



มีบุตรยาก แก้ไขอย่างไรได้บ้าง
ข้อมูลทางแพทย์
Update
12 ตุลาคม 2567

12 ตุลาคม 2567
12 ตุลาคม 2567
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save