fbpx

คุณแม่ควรรู้ไว้ก่อนสายไป ทำอย่างไร! เมื่อลูกน้อยสำลักนม

Writer : Mneeose
: 10 ตุลาคม 2561

คุณพ่อคุณแม่หลายคนคงต้องตกใจแน่นอน หากลูกเกิดอาการสำลักนม โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ Parents One จึงขอเสนอสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาเมื่อลูกเกิดอาการสำลักนมแบบได้ผลกันค่ะ

ลูกฉันสำลักนม เพราะ ?

สาเหตุของการที่ทำให้ลูกสำลักนม มีหลายสาเหตุด้วยกันค่ะ เช่น

  • ลูกดูดนมจากขวดนมไม่ทัน

    หากทารกดูดนมแม่ ลูกก็จะไม่ค่อยสำลักนม หรือมีโอกาสสำลักนมน้อย เพราะน้ำนมแม่จะไหลก็ต่อเมื่อลูกดูดเท่านั้น  แต่ถ้าเป็นนมชงจากขวด  ไม่ว่าลูกจะดูดนมหรือไม่ดูด นมก็จะไหลออกมาจากขวดได้ตลอด จนบางครั้งเด็กกลืนนมไม่ทัน จึงเกิดอาการสำลักนมขึ้นค่ะ

  • น้ำนมจากเต้าคุณแม่ไหลแรงเกินไป

    เด็กแรกเกิด หากลูกกินนมจากเต้าของแม่ น้ำนมแม่อาจจะไหลแรงเกินไป และพุ่งฉีดเข้าลำคอลูก ลูกจึงต้องถอนหน้า หรือสะบัดหน้าออกจากเต้านม ทำให้เกิดอาการสำลักนมได้ค่ะ

  • คุณแม่มักเข้าใจผิดในพฤติกรรมการกินของลูก

    เช่น เวลาที่ลูกร้อง คุณแม่บางคนก็จะป้อนนมทุกครั้ง ซึ่งอาจจะเข้าใจผิดคิดว่าลูกหิว อาจทำให้ปริมาณนมในกระเพาะอาหารของลูกเกินความต้องการ ส่งผลให้ลูกสำลักนมออกมา ซึ่งจริงๆ แล้วหากว่าลูกร้องไห้ คุณแม่ควรหาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ลูกร้องไห้เสียก่อน เช่น ร้องไห้ เพราะอยากให้อุ้ม ร้องไห้ เพราะไม่สบายตัว หรือร้องไห้ เพราะปวดอึ หรือปวดฉี่  เป็นต้น

  • คุณแม่ให้นมลูก ตอนที่ลูกยังไม่พร้อม

    คุณแม่ลูกให้นมลูกไม่ถูกวิธี  เช่น ป้อนนมลูกในขณะที่ลูกกำลังนอน ป้อนนมในขณะที่ลูกกำลังร้องไห้ หรือการให้ลูกนอนกินนม ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกสำลักนมได้ค่ะ

  • ใช้จุกนมขวดผิดขนาด

    การใช้จุกนมขวดที่ผิดขนาด และไม่เหมาะสมกับช่วงวัย จะทำให้น้ำนมไหลออกมามากกว่าปกติ จนเด็กสำลักนม

ฉุกเฉิน!! ทำอย่างไร เมื่อลูกสำลักนม

ห้าม! อุ้มเด็กขึ้นทันทีที่สำลัก ให้! จับเด็กนอนตะแคงแทน

  • หากลูกสำลักนม ไม่ควรอุ้มเด็กขึ้นทันทีเมื่อเกิดการสำลัก
  • จับเด็กนอนตะแคง โดยให้ศีรษะเด็กต่ำลง เพื่อป้องกันไม่ให้นม หรืออาหารที่ติดค้างในปาก ไหลย้อนกลับไปที่ปอด

วิธีป้องกันก่อนลูกสำลักนม

  • ในช่วง 6 เดือนแรก ควรให้นมแม่อย่างเดียว

    หากทารกดูดนมแม่ ลูกก็จะไม่ค่อยสำลักนม หรือมีโอกาสสำลักนมน้อย เพราะน้ำนมแม่จะไหลก็ต่อเมื่อลูกดูดเท่านั้น  แต่ถ้าเป็นนมชงจากขวด  ไม่ว่าลูกจะดูดนมหรือไม่ดูด นมก็จะไหลออกมาจากขวดได้ตลอด จนบางครั้งเด็กกลืนนมไม่ทัน จึงเกิดอาการสำลักนมขึ้นค่ะ

  • จับลูกเรอทุกครั้งหลังจากดูดนมเสร็จ

  • สำหรับเด็กวัยแรกเกิด ถึง 2 เดือน ที่คอยังไม่แข็ง ควรใช้วิธีอุ้มลูกเรอโดยอุ้มลูกนั่งตัก ใช้มือประคองช่วงขากรรไกรเพื่อประคองศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างลูบหลังโดยการลูบขึ้นเบา ๆ  สำหรับเด็กทารกที่คอแข็งดีแล้ว ให้จับลูกเรอโดยสามารถใช้วิธีอุ้มพาดบ่าได้ แล้วใช้มือประคอง และลูบหลังขึ้นเบา ๆ
  • บีบน้ำนมออกจากเต้าก่อนให้ลูกดูด

    ให้คุณแม่ลองบีบน้ำนมออกก่อนลูกดูด ประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ เพื่อลดแรงดันในเต้านม หรือขณะที่อุ้มลูกดูดนม ให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือบีบบริเวณลานหัวนมคาไว้ จนลูกดูดได้ ไม่สำลัก จึงค่อยคลายมือออก

  • ให้นมลูกในท่านอน ช่วยให้น้ำนมไหลช้าลง

  • เมื่อคุณแม่นอนน้ำนมจะไหลช้าลง ประกอบกับน้องในวัยนี้แนะนำคุณแม่เว้นระยะห่างของมื้อนมอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงค่ะ เพราะถ้าให้นมบ่อย หรือติดถี่มากไป อาจจะทำปริมาณนมล้นกระเพาะอาหาร และเกิดอาการอาเจียนหรือสำรอกได้ค่ะ

สุดท้ายแล้ว สิ่งที่อยากให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยกันดู คงหนีไม่พ้นเรื่องสุขภาพร่างกายของลูกน้อย ที่ทุกคนต้องช่วยกันดูแล เพราะลูกยังไม่รู้เรื่องจึงอาจทำให้เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุในแบบที่เราคาดกันไม่ถึงค่ะ ทางที่ดี คือควรช่วยกันดูแลลูก และหมั่นศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเยอะๆ จะช่วยลดโอกาสในการสำลักนมของลูกได้แน่นอนค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : Mamaexpert
Theasianparentthailand

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
คำอวยพรของคนได้เป็นแม่ครั้งแรก
กิจกรรมของครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save