fbpx

5 เทคนิคปรับพฤติกรรม "หนูน้อยพระอาทิตย์" เมื่อลูกยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล

Writer : Phitchakon
: 31 พฤษภาคม 2565

ลงไปดิ้นกับพื้น อาละวาดโวยวาย ทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ เชื่อว่าสถานการณ์เหล่านี้เป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านคุ้นเคย เคยสงสัยกันไหมคะว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมแก้วตาดวงใจจึงกลับกลายเป็นพระอาทิตย์ศูนย์กลางจักรวาลที่ใครต่อใครก็ต้องโคจรอยู่รอบๆ เพื่อคอยเอาใจไปซะได้ 

ความจริงแล้ว พฤติกรรมการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางมีคำอธิบาย ! วันนี้ทาง Parents One อยากจะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักโลกทั้งใบในสายตาของหนูน้อยพระอาทิตย์ให้มากขึ้น พร้อมทั้งแบ่งปันเทคนิคที่จะช่วยเจ้าตัวน้อยลดการยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลางลง ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลยค่ะ 

ทำความเข้าใจโลกกลมๆ ในสายตาหนูน้อยพระอาทิตย์ 

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ นักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่า เด็กวัย 2-7  ปี อยู่ในขั้นปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) แบ่งออกเป็นอีก 2 ขั้นย่อย คือ ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought)  และขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) โดยในวัย 2-4 ปี จะอยู่ในขั้นก่อนเกิดสังกัป

ในพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนี้ จะเป็นช่วงที่เด็กจะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentrism) ยึดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของตัวเองเป็นหลัก ไม่เข้าใจว่าคนเราสามารถคิดหรือรู้สึกแตกต่างกันได้ ถ้าเห็นอะไรก็จะเข้าใจว่าคนอื่นเห็นเหมือนกัน ถ้าชอบอะไร ก็จะเข้าใจว่าคนอื่นก็ชอบเช่นเดียวกัน เป็นช่วงที่ยังเห็นแค่ตัวเอง มีแค่ตัวเองเท่านั้น 

ยกตัวอย่างเช่น “การเล่นซ่อนหา” เคยสังเกตกันไหมคะ เวลาที่เล่นซ่อนหากับเจ้าตัวน้อยจะซ่อนแบบง่ายๆ ให้เราหาเจอได้ทุกครั้ง เช่น ยืนปิดตา นำผ้าห่มมาคลุมโปง พฤติกรรมแบบนี้มีที่มาจากการเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางเช่นเดียวกัน เด็กในวัยนี้เข้าใจว่าหากเขามองไม่เห็นเรา เราก็จะมองไม่เห็นเขาไปด้วย  

โดยเด็กที่ยึดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจะมีลักษณะ ดังนี้  

  • เล่าเรื่องของตัวเองให้เพื่อนฟังในลักษณะที่เหมือนพูดคุยกันแต่ต่างคนต่างเล่า ไม่สนใจว่าคนอื่นเล่าเรื่องอะไร 
  • โอ้อวดว่าตัวเองเก่งที่สุด ดีที่สุด  
  • พยายามเอาชนะพ่อแม่เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ 
  • ยิ่งห้ามยิ่งทำ ทำในสิ่งที่ตรงข้ามกับพ่อแม่บอกให้ทำ 
  • ร้องไห้ งอแง อาละวาด ทำลายข้าวของ  
  • ไม่แบ่งปัน หวงของ 
  • โทษตัวเองว่าเป็นต้นเหตุของเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบตัว เช่น พ่อแม่ทะเลาะกันเพราะตัวเองเป็นต้นเหตุ 

เพราะฉะนั้น การยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางเป็นเรื่องปกติของเด็กทุกคน ซึ่งจะค่อย ๆ ลดลงเมื่ออายุ 5-7 ปี แต่ถ้าโตขึ้นแล้วยังคงมีลักษณะที่ถือตัวเองเป็นศูนย์กลางอยู่ จะทำให้มีอุปสรรคต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ 

5 เทคนิคปรับพฤติกรรมหนูน้อยพระอาทิตย์​

  • ตั้งใจรับฟัง : 

วิธีนี้เป็นวิธีที่จะสามารถเข้าใจลูกได้ง่ายขึ้น  ตั้งใจรับฟังให้ดีว่าลูกกำลังพูดอะไร ก็จะเข้าใจได้ว่าเขากำลังคิดอะไร รู้สึกอะไรอยู่ ทำไมจึงคิดหรือทำเช่นนั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการหาวิธีการรับมือให้ถูกจุด  

  • สอนด้วยเหตุและผล : 

เด็กในวัยนี้สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ได้แล้ว ในการสอนว่าให้ทำหรือไม่ทำอะไร ไม่ควรบอกแค่ว่าทำอย่างนี้ดี ทำอย่างนี้ไม่ดีนะ แต่ควรอธิบายเหตุผล และยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน เช่น ลูกไม่ควรจะแย่งของเล่นจากมือเพื่อน เพราะเพื่อนกำลังเล่นอยู่ หากอยากเล่นด้วยต้องขออนุญาตดีๆ แย่งมาแบบนี้ เพื่อนจะเสียใจ   

  • พูดคุยเรื่องชีวิตประจำวัน 

ชวนลูกคุยเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน โดยเน้นถามถึงบุคคลแวดล้อมต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น การถามเกี่ยวกับเพื่อน เกี่ยวกับคุณครู ให้ลูกลดการพูดถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเองลงและนึกถึงคนอื่นๆ มากขึ้น 

  • พาลูกเข้าสังคม :  

เด็กในวัย 7 ปีจะเริ่มอยากเข้าสังคม จากเล่นคนเดียวก็จะอยากเล่นกับคนอื่นๆ บ้าง การได้พบปะพูดคุย ใช้เวลากับคนอื่นๆ จะทำให้ลูกเรียนรู้โลกได้กว้างขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรหาโอกาสพาลูกพบครอบครัวใหญ่ เยี่ยมญาติ หรือพาลูกไปเล่นกับเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน ลูกจะค่อยๆ เรียนรู้กติกาของสังคม เห็นความเป็นจริงของโลก และทำความเข้าใจได้ว่าตัวเขาไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกที่กว้างใหญ่ และแต่ละคนมีความคิด ความชอบที่แตกต่างกันได้ ไม่ใช่เรื่องผิด  

ทั้งนี้ต้องไม่กดดันหรือบังคับให้เด็กๆ นะคะ ควรใช้วีธีเชิญชวน ใช้คำพูดเชิญบวก เช่นบอกกับลูกว่า “ถ้าหนูอยากเล่นกับคนอื่นก็ได้นะ” จะให้ผลลัพธ์ที่ดีมากกว่า 

  • เปิดโลกกว้างด้วยนิทาน : 

นี่คือวิธีใช้ลักษณะการเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางให้เป็นประโยชน์! เด็กเล็กจะเข้าใจว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของเรื่องราวต่างๆ เวลาฟังนิทานจะรู้สึกราวกับว่าตัวเองเป็นตัวละครในนิทานเรื่องนั้น  

การเล่านิทานจึงเป็นวิธีสอนที่สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัยที่สุด ทำให้เด็กเข้าใจเรื่องยากๆ ได้ง่ายขึ้นโดยไม่รู้ตัว โดยคุณพ่อคุณแม่อาจเลือกนิทานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับน้ำใจ การแบ่งปัน หรือการช่วยเหลือผู้อื่น ก็จะช่วยลดการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล  เรียนรู้ และซึมซับพฤติกรรมทางสังคมที่ดีจากตัวละคร 

การยึดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามวัย และเด็กแต่ละคนมีช่วงเวลาเติบโตที่แตกต่างกัน บางคนลดความเป็นศูนย์กลางของตัวเองได้เร็ว บางคนก็ลดได้ช้า สิ่งสำคัญที่สุดคือความเข้าใจ คอยประคับประคอง ชี้แนะแนวทางที่ดี เพื่อให้พระอาทิตย์ที่เคยส่องแสงรุนแรงแผดเผาสิ่งรอบตัว กลายเป็นหนูน้อยพระอาทิตย์ยิ้มกว้างสดใสที่ไปไหนใครก็รักก็เอ็นดู และอยู่ร่วมกับเพื่อนๆ ในจักรวาลกว้างใหญ่นี้อย่างมีความสุข 

ขอบคุณข้อมูลจาก

Writer Profile : Phitchakon

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



อย่ารักลูกแค่ตอนอารมณ์ดี
กิจกรรมของครอบครัว
Update
ไลฟ์สไตล์ ไลฟ์สไตล์
เคยกลับบ้านมาแล้วกรี๊ดลั่นบ้านเพราะเจ้าตัวแสบไปวิ่งเล่นเลอะเทอะกันไหมคะ ? หรือแต่งตัวลูกอย่างดีไปทานข้าวนอกบ้าน แต่คุณลูกก็ทำซอสหกใส่ ไอติมหล่นไปเป็นก้อน เละทั้งตัว วันนี้ ParentsOne มีเสื้อเด็กที่เจ๋งมากๆ จาก GQ : the good day lab™ มาลองรีวิวให้ได้ชมกันค่ะ 🛒 ช้อปเลยที่ -> https://gqsize.link/bZT7Sx แกะกล่อง GQ : the good day lab™ เสื้อเด็ก ฟีเจอร์เพียบ คุณภาพ GQ ขึ้นชื่อว่า GQ ก็มั่นใจได้เรื่องคุณภาพค่ะ ผ้านุ่ม เบาบาง เหมาะกับอากาศเมืองไทย ใส่วิ่งสบายๆ ที่แปลกตาคือเป็นเสื้อที่ไม่มีป้ายแท็กค่ะ ทั้งด้านหลังคอเสื้อ หรือข้างใน ไม่ต้องห่วงว่าจะเคืองหรือคันเลย กระดุมแข็งแรงเอามากๆ ใช้แรงผู้ใหญ่ดึงแรงๆ ก็ไม่มีปัญหาเลย ไฮไลท์สำคัญที่คุณแม่แทบกรี๊ด คือเป็นไม่เปื้อนค่าาาา เทน้ำ เทนมใส่เสื้อ ไม่เปียกเลย สะบัดสองที หายปกติ ซึ่งถ้าใครเคยเห็นโฆษณา GQ ที่เสื้อเชิ้ตขาวไปทำงานคุณพ่อ โดนกาแฟหกใส่ แต่ผ้าไม่เปื้อนเลย เทคโนโลยีผ้าสะท้อนน้ำ ตอนนี้มาอยู่ในเสื้อเด็กแล้ววววว ทีมงานทดสอบเทน้ำสีผสมอาหาร นม หรือแม้แต่ซอสมะเขือเทศลงบนเสื้อ ก็ไม่เปื้อนค่ะ ไม่น่าเชื่อมากๆ ข้อดีที่สุดของผ้าแบบนี้ คือทำให้ชีวิตคุณแม่สบายขึ้นมาก พาลูกไปเที่ยว วิ่งเล่นสนามหญ้า พาไปทานก๋วยเตี๋ยว หรือให้ทานอะไร ก็ไม่ต้องกลัวเสื้อสวยๆ เลอะ แถมประหยัดเวลาซักผ้าด้วย ไม่ต้องมาคอยแช่ผ้าให้คราบมันออกแบบสมัยก่อน สำหรับเสื้อเด็ก the good day lab™…
8 ธันวาคม 2566

anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save